‘เอคเซนเชอร์’ แนะ  5 กลยุทธ์ ปูทางความสำเร็จยุคแห่ง AI

‘เอคเซนเชอร์’ แนะ  5 กลยุทธ์ ปูทางความสำเร็จยุคแห่ง AI

5 กลยุทธ์ที่จำเป็นสำหรับผู้นำและองค์กรธุรกิจ เพื่อปูทางความสำเร็จบนเส้นทาง Generative AI ที่วันนี้เข้ามาส่งกระทบต่อทุกอุตสาหกรรม

KEY

POINTS

  • เปิด 5 กลยุทธ์ที่จำเป็นสำหรับเส้นทางการสร้างความสำเร็จในการปรับใช้ Gen AI
  • ถึงแม้ 95% ของพนักงานจะเห็นคุณค่าในการทํางานร่วมกับ Gen AI แต่มีอยู่ประมาณ 60% ที่กังวลใจว่าจะตกงาน มีความเครียด และหมดไฟ
  • สิ่งที่สำคัญอย่างมากคือ การทำความเข้าใจและยึดมั่นในจุดยืนของตัวเอง

สิ่งที่จำเป็นเร่งด่วนสำหรับผู้บริหารองค์กรธุรกิจ ไม่เพียงแค่ต้องมองให้ไกลเกินกว่าผลกระทบที่ Generative AI มีต่อตัวงานหรือบทบาทของงานเท่านั้น

แต่ควรนำ Gen AI มาปรับใช้ให้ครอบคลุมทั้งองค์กรด้วยการออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ ตลอดจนประสบการณ์การทํางานของพนักงาน

ผลการวิจัยโดย “เอคเซนเชอร์” เผยว่า การสร้างความสำเร็จในยุคเอไอผู้บริหารต้องมุ่งมั่นเรียนรู้และเป็นผู้นำไปในทิศทางใหม่ ที่ทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ นำพาธุรกิจให้เติบโต และเป็นประโยชน์ต่อบุคลากร

อย่างไรก็ตาม 2 ใน 3 ของผู้บริหารระบุว่า พวกเขาไม่มีเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญในการเป็นผู้นำความเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดการปรับระบบการทำงานใหม่เพื่อให้ใช้ประโยชน์จากศักยภาพของ Gen AI ได้อย่างเต็มที่

‘ก้าวต่อไป’ ต้องทำอย่างไร

ปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย เปิดมุมมองว่า ขณะนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญและน่าตื่นเต้นซึ่ง GenAI รวมถึง ChatGPT เข้ามาสร้างปรากฏการณ์ครั้งใหม่ หลังจากที่บล็อกเชนและเมตาเวิร์สออกมาก่อนหน้านี้

โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งนับเป็นประเทศที่มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ได้เร็วมาก ขณะเดียวกันมีบิ๊กเทคคอมพานีโลกอย่าง กูเกิล ไมโครซอฟท์ เอดับบลิวเอส ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในไทยเป็นตัวเร่งอีกทางหนึ่ง ที่ตื่นตัวอย่างมากคือภาคการเงินและโทรคมนาคม 

อย่างไรก็ดี เกิดคำถามถือ แล้วเทคโนโลยีเหล่านี้จะเข้าเปลี่ยนชีวิตหรือวิธีการทำงานได้อย่างไร เบื้องต้นเท่าที่พบคือมีการเร่ิมทำ POC กันแล้ว แต่ยังเกิดคำถามคือแล้ว “ก้าวต่อไปต้องทำอย่างไร”

“GenAI เป็นทั้งโอกาสและความท้าทาย ตัวเร่งที่ทำให้การทำงานในองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทว่าไม่ใช่แค่เทคโนโลยีที่มีความสำคัญ บุคลากรต้องมีความพร้อมด้วย”

เอคเซนเชอร์ ระบุว่า ไทยเป็นตลาดที่ตื่นตัวเร็ว ทว่าการปรับใช้จริงยังคงค่อนข้างช้า ส่วนหนึ่งเนื่องจากมีข้อจำกัดด้านการบริหารจัดการดาต้า

'5 กลยุทธ์' ปูทางความสำเร็จ

หล่าน กวน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ด้านเอไอ เอคเซนเซอร์ กล่าวว่า สำหรับการเริ่มต้นสิ่งที่ภาคธุรกิจต้องทำเป็นอันดับแรกคือ การทำความเข้าใจถึงความต่างของเอไอ และ GenAI ที่มีบทบาทต่างออกไป

โดยการใช้งานสามารถตอบโจทย์ได้ทั้งการนำไปใช้กับงานทั่วๆ ไปภายในองค์กร กระทั่งเชิงลึก ไปจนถึงงานเฉพาะทางในแต่ละธุรกิจ ระหว่างเส้นทางธุรกิจต้องพบกับท้าทายที่หลากหลาย โดยเฉพาะการเลือกใช้งานโมเดลเอไอ

เอคเซนเซอร์ แนะว่า 5 กลยุทธ์ที่จำเป็นสำหรับเส้นทางการสร้างความสำเร็จในการปรับใช้เอไอ ประกอบด้วย 1. แนวคิดการพัฒนาที่สร้างมูลค่าเพิ่ม 2. ทำความเข้าใจและพัฒนาเพื่อนำไปใช้จริง, 3.Reinvent บุคลากรและวิธีการทำงาน, 4. ให้ความสำคัญกับการใช้เอไออย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible AI), และ 5. Reinvention อย่างต่อเนื่อง

โดยการสร้างแต้มต่อ มีปัจจัยคือ การบริหารจัดการดาต้าที่เหมาะสม ตอบโจทย์การใช้งานของธุรกิจ องค์กรจะสามารถสร้างจุดต่างให้ธุรกิจได้มากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับเดต้านี่เอง

สำหรับประเทศไทยนับเป็นเป็นตลาดที่น่าสนใจ เต็มไปด้วยโอกาสการเติบโตในหลายมิติ ซึ่งหน้าที่ของเอคเซนเชอร์คือ การทำให้มั่นใจว่าประเทศไทยจะเข้าถึงโอกาสเหล่านี้และสามารถใช้งานเอไอได้อย่างเป็นรูปธรรม

ท้ายที่สุด สิ่งที่สำคัญอย่างมากคือ การทำความเข้าใจและยึดมั่นในจุดยืนของตัวเอง ไม่มีโซลูชันใดจะตอบโจทย์ได้ทั้งหมดทุกอย่าง หรือ มีกฎตายตัว

ดังนั้นต้องมีการวางกลยุทธ์ที่ชัดเจน ควบคู่ไปกับ การพัฒนาบุคลากรเพื่อทรานส์ฟอร์มไปสู่ดิจิทัลและที่ประกอบกันคือเรื่องของการกำกับดู การใช้งาน การส่งเสริมสนับสนุนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และที่ขาดไม่ได้คือความพร้อมของอินฟราสตรักเจอร์

‘พนักงาน - ผู้บริหาร’ มองต่างมุม

รายงานเรื่อง “Work, workforce, workers: Reinvented in the age of generative AI” โดยเอคเซนเชอร์พบว่า พนักงาน และผู้บริหาร มองต่างมุมในเรื่องการทํางานและ Generative AI ดังนั้น หากต้องการใช้ศักยภาพจากเอไอได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ องค์กรควรปรับระบบการทำงาน โครงสร้างกำลังคน และเตรียมบุคลากรให้พร้อม ‘เอคเซนเชอร์’ แนะ  5 กลยุทธ์ ปูทางความสำเร็จยุคแห่ง AI โดยเฉพาะเรื่องความไว้วางใจที่ยังมีระยะห่างระหว่างกัน เพราะถึงแม้ 95% ของพนักงานจะเห็นคุณค่าในการทํางานร่วมกับ Gen AI แต่มีอยู่ประมาณ 60% ที่กังวลใจว่าจะตกงาน มีความเครียด และหมดไฟ

นอกจากนี้ 3 ใน 4 ขององค์กรก็ยังไม่มีกลยุทธ์ที่ครอบคลุมสำหรับการปรับประสิทธิภาพการทำงานและประสบการณ์ของพนักงานให้ดีขึ้น