จุดพลุ 'Cell Broadcast' ในไทย เทงบ 1,500 ล้านบาท สร้างระบบเตือนภัยแห่งชาติ

จุดพลุ 'Cell Broadcast' ในไทย เทงบ 1,500 ล้านบาท สร้างระบบเตือนภัยแห่งชาติ

กระทรวงดีอีเปิดโต๊ะคุยมท.หาเจ้าภาพทำระบบเตือนภัยฉุกเฉิน หลังเดินหน้าเจรจาของบกสทช.ทั้ง CBE-CBC รวมกัน 1,500 ล้านบาทภายใต้แผน USO 3 ด้านประธานกสทช.เร่งชงเสนอบอร์ดอนุมัติเร็วที่สุด คาดต้นปี 68 ล่าสุดทรูฯลุยทดสอบระบบแจ้งเตือนจริงแบบเรียลไทม์ 5 ภาษาครั้งแรกในไทย

ภายในสัปดาห์นี้จะได้ความชัดเจนสักทีว่า ระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cell Broadcast) ว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี หรือกระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการเรื่องนี้ 

หลังจากที่ผ่านมาประเทศไทยเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดระดับประเทศ เช่น การกราดยิงในห้างสรรพสินค้า หรือกระทั่งสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ แต่ก็ยังไม่มีเครื่องมือเตือนภัยให้แก่ประชาชนซึ่งเรื่องนี้ถือว่าเป็นบริการทางสังคม หรือ Public Service ที่ภาครัฐต้องให้การสนับสนุน เพื่อลดการบาดเจ็บ และลดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เพราะไม่เพียงแต่ปกป้องชีวิต ยังรวมถึงการปกป้องโครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจซึ่งเป็นผลที่เกิดจากความเสียหายที่จะตามมา

เคลียร์มหาดไทยเคาะข้อสรุป

นายประเสริฐ จันทรรวงรอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอี กล่าวว่า ระบบ Cell Broadcast จะมีรายละเอียดในเรื่อง ศูนย์บัญชาการกลางของภาครัฐ ผ่านระบบ Cell Broadcast Entities : CBE ที่เป็นระบบของหน่วยงานรัฐ ที่ต้องใช้งบประมาณในการพัฒนาระบบ ซึ่งเบื้องต้นจะใช้งบประมาณจำนวน 434 ล้านบาท โดยจะขอสนับสนุนจาก กองทุน USO 3 ของสำนักงาน กสทช. ซึ่งไม่รวมกลับระบบ Cell Broadcast Center : CBC ของผู้ให้บริการโครงข่าย (โอปอเรเตอร์) จำนวน 3 ราย อีกประมาณ 1,200 ล้านบาท รวมค่าบำรุงรักษา 3 ปี

"ใน 1-2 ปีนี้ผมจะคุยกับทางมหาดไทยว่าให้ใครเป็นผู้รับผิดชอบในการเป็นผู้แจ้งเตือน และระบบที่ดำเนินการนั้นเดิม มหาดไทยใช้การเช่าเซิรฟ์เวอร์ แต่จะเปลี่ยนให้มาใช้คลาวด์ทั้งหมดตามนโยบาย Cloud First Policy" 

จุดพลุ \'Cell Broadcast\' ในไทย เทงบ 1,500 ล้านบาท สร้างระบบเตือนภัยแห่งชาติ

ทั้งนี้ ยอมรับว่า งบประมาณที่กระทรวงดีอี ได้ขอสนับสนุนในส่วนของ CBE จำนวน 434 ล้านบาทน่าจะซ้ำซ้อนกับทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ที่ได้งบราว 400 ล้านบาท ดังนั้น กระทรวงดีอีจะพิจารณาในส่วนต่างๆเพิ่มเติมอาจปรับลดเหลือ 200 ล้านบาท ส่วนในของโอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 ราย เอไอเอส ทรู คอร์ปอเรชั่น และเอ็นที ได้ขอยื่นขอ เพื่อทำระบบ CBC จำนวน 1,031 ล้านบาท โดยให้หักเงินจากที่ต้องส่งรายปีให้กองทุน USO รวมงบประมาณทั้งโครงการ CBE และ CBC ประมาณ 1,465 ล้านบาท ดังนั้นกระทรวงดีอีต้องรีบเสนอ ครม. เพื่อให้โครงการนี้สามารถ เริ่มใช้งานได้ในต้นปี 2568

คาดใน 1 เดือนชงเข้าบอร์ดกสทช.

นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ประธาน กสทช.) โดยจะเร่งดำเนินการได้รวดเร็วซึ่งทั้ง CBE และ CBC ผ่านการรับการสนับสนุนงบประมาณจากเงินบัญชี 3 (USO 3) กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ซึ่งขั้นตอนจากนี้จะต้องมีการนำเรื่องเข้าสู่การประชุม สำนักงาน กสทช. เพื่อขอความเห็นชอบใน 1 เดือนต่อจากนี้ จุดพลุ \'Cell Broadcast\' ในไทย เทงบ 1,500 ล้านบาท สร้างระบบเตือนภัยแห่งชาติ

ทรูโชว์ระบบแจ้งเตือนเรียลไทม์

นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะผู้ให้บริการโทรคมนาคมชั้นนำของประเทศที่มีผู้ใช้บริการมากกว่า 50 ล้านเลขหมาย จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบ Cell Broadcast Service หรือ CBS ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการแจ้งเตือนภัยให้กับประชาชน โดยทรู คอร์ปอเรชั่นทดสอบระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน หรือ Cell Broadcast ในห้องทดสอบปฏิบัติการ (Lab test) เป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2567   จุดพลุ \'Cell Broadcast\' ในไทย เทงบ 1,500 ล้านบาท สร้างระบบเตือนภัยแห่งชาติ

โดยมีจุดเด่นสำคัญหลายประการ ได้แก่ 

  • รองรับทุกภาษา: ระบบสามารถออกแบบการแจ้งเตือนได้ทุกภาษาและออกแบบส่งพร้อมกันได้ทันที โดยทดสอบแล้ว 5 ภาษา ไทย อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น รัสเซีย 
  • รวดเร็ว: สามารถส่งข้อความเตือนภัยได้อย่างรวดเร็วทันทีที่เกิดเหตุ
  • แม่นยำ: สามารถกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการส่งข้อความได้อย่างแม่นยำ
  • ครอบคลุม: สามารถส่งข้อความถึงผู้ใช้บริการทุกคนในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนล่วงหน้า
  • น่าเชื่อถือ: เป็นระบบที่ได้รับการยอมรับและใช้งานในหลายประเทศทั่วโลก

นายมนัสส์ กล่าวต่อไปว่า ระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน หรือ Cell Broadcast ของทรู คอร์ปอเรชั่นสามารถตั้งระดับการเตือน 5 ระดับตามฟังก์ชั่นการใช้งานและร่วมมือกับภาครัฐ ประกอบด้วย:

1. การแจ้งเตือนระดับชาติ (National Alert): การแจ้งเตือนระดับสูงสุด ความสำคัญมากสุด และทุกคนในทุกพื้นที่เสาสัญญาณครอบคลุมจะทราบเหตุทันที

2. การแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน (Emergency Alert): การแจ้งเตือนภัยพิบัติต่างๆ เช่น ภัยสึนามิ แผ่นดินไหว น้ำท่วมฉับพลัน หรือภัยจากคนร้าย เป็นต้น

3. การแจ้งเตือนคนหาย (Amber Alert): ระบบตั้งเตือนข้อมูลเมื่อมีเด็กหายหรือคนหาย รวมทั้งการลักพาตัวเพื่อให้ประชาชนทราบข่าวเฝ้าระวังและช่วยเจ้าหน้าที่ภาครัฐสังเกตุการณ์และรายงานถ้าพบคนหายหรือคนร้าย

4. ความปลอดภัยสาธารณะ (Public Safety): ระบบการแจ้งเตือนความปลอดภัยสาธารณะในพื้นที่หรือการเฝ้าระวังกรณีแจ้งคนที่อยู่อาศัย ชุมชน และผู้สัญจรผ่านพื้นที่นั้น

5. การแจ้งเตือนทดสอบ (Test Alert): ระบบทดสอบการแจ้งเตือนตามวัตถุประสงค์เฉพาะกิจต่างๆ โดยสามารถใช้งานเพื่อทดสอบก่อนขยายผลสู่การเฝ้าระวังและแจ้งเตือนในระดับต่างๆ ต่อไป จุดพลุ \'Cell Broadcast\' ในไทย เทงบ 1,500 ล้านบาท สร้างระบบเตือนภัยแห่งชาติ

นอกจากนี้ ทรู คอร์ปอเรชั่นยังได้พัฒนาศูนย์ปฏิบัติการเครือข่ายอัจฉริยะ Business and Network Intelligence Center (BNIC) ที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการเมื่อเกิดภัยพิบัติ เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ในการสร้างสังคมที่ปลอดภัยและพร้อมรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

สำหรัยการทดสอบ "LIVE - Cell Broadcast Service" ที่แจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือกับผู้ใช้งานจริงครั้งแรกในไทยโดยทรู คอร์ปอเรชั่น นับเป็นก้าวสำคัญของประเทศไทยในการยกระดับมาตรการรักษาความปลอดภัยและการเตือนภัยให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ และเป็นความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยของประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่อประเทศไทยในระยะยาว 

ทั้งนี้ ระบบ CBS จะมีทั้งสัญญาณเสียง และข้อความที่แสดง (Pop up) บนหน้าจอ และรองรับ Text to Speech เทคโนโลยีช่วยเหลือที่อ่านออกเสียงข้อความทำให้มีประโยชน์ต่อการแจ้งเตือนแก่ผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็นอีกด้วย จุดพลุ \'Cell Broadcast\' ในไทย เทงบ 1,500 ล้านบาท สร้างระบบเตือนภัยแห่งชาติ