‘ลาซาด้า’ เปิดเคล็ดลับ ถอดรหัส ‘ดาต้า’ เป็นพลังขับเคลื่อนร้านค้าออนไลน์
ความต้องการในการ "ช้อปปิ้งออนไลน์" ที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันได้สร้างโอกาสทองให้กับผู้ขายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสามารถใช้เครื่องมือของ "ลาซาด้า" ช่วยวิเคราะห์ ก็จะช่วยขับเคลื่อนร้านค้าออนไลน์ให้สามารถบรรลุเป้าหมายในระยะยาวได้
จากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญใน อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ ของ ลาซาด้า ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม อีคอมเมิร์ซ ชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่า การก้าวตามให้ทันบริบทความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอนั้น ผู้ขายจำเป็นต้องมีเป้าหมายและกลยุทธ์ที่ชัดเจน เพื่อช่วยตัดสินใจในเส้นทางธุรกิจได้อย่างแม่นยำ ยิ่งเมื่อโลกหมุนเข้าสู่ยุคดิจิทัล ดาต้า คือหัวใจสำคัญ เปรียบเสมือนเข็มทิศที่ชี้เส้นทางในการดำเนินธุรกิจสู่ความสำเร็จ
การเข้าใจข้อมูลจะช่วยให้ "ผู้ขายออนไลน์" สามารถตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจได้ถูกทิศทางมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันสามารถนำเสนอในสิ่งที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้แบบเฉพาะบุคคลและตรงจุด (Personalization)
รายงานผลการสำรวจโดย ออราเคิล (Oracle) พบว่า 65% ของนักช้อปที่ทำแบบสำรวจ กล่าวว่าการมีข้อเสนอและแรงจูงใจที่เหมาะสมเป็นส่วนสำคัญที่เสริมประสบการณ์ การช้อปปิ้งออนไลน์ รายงานของเน็ตคอร์ (Netcore) ยังพบว่า 98% ของผู้ค้าปลีกออนไลน์ที่ใช้กลยุทธ์ด้าน Personalization มีมูลค่าการสั่งซื้อเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น
หมั่นตรวจสุขภาพ "ร้านค้าออนไลน์"
สำหรับ "ผู้ขายบนลาซาด้า" สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลบนแพลตฟอร์มได้หลากหลายวิธี สอดคล้องไปกับผลสำรวจของ ลาซาด้า ที่พบว่า ปัจจัยซึ่งทำให้ลูกค้ารู้สึกผูกพันกับแพลตฟอร์มและช่วยรักษาลูกค้าเดิมคือ การนำเสนอสินค้าที่หลากหลาย การแข่งขันด้านราคา ความสะดวกสบายในการใช้งาน และประสบการณ์ที่ปรับแต่งให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานแต่ละคน
รายงาน Transforming Southeast Asia From Discovery to Delivery จากลาซาด้า ระบุว่า 94% ของนักช้อปใช้ฟังก์ชันการค้นหาของลาซาด้าเพื่อค้นหาและซื้อสินค้า โดย 71% ของนักช้อปซื้อสินค้าผ่านฟีเจอร์ "คำแนะนำ" ที่เสนอให้เหมาะสมกับผู้ใช้งาน
ที่ผ่านมา ความสำเร็จในการค้าขายบนอีคอมเมิร์ซไม่ได้วัดจากจำนวนสินค้าที่ขายได้เพียงอย่างเดียว เนื่องจากมีผู้ขายออนไลน์หลายคนที่มักพบกับปัญหาที่ "ถึงแม้จะทุบสถิติยอดขายใหม่ แต่ยังคงประสบกับภาวะขาดทุน"
ดังนั้น การหมั่นตรวจสุขภาพธุรกิจ และทำความเข้าใจประสิทธิภาพ ร้านค้าออนไลน์ จึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารธุรกิจแบบสูงสุด เปรียบเสมือนกับการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อระบุปัญหาสุขภาพและสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที
สำหรับกุญแจสำคัญที่ช่วยมองเห็นประสิทธิภาพการบริหารร้านค้าออนไลน์ คือยอดขายสินค้ารวม หรือที่เรียกว่า Gross Merchandise Value (GMV) โดยสามารถคำนวณง่ายๆ จากสูตร ยอดขายสินค้ารวม (GMV) = ยอดเข้าชม (Traffic) x อัตราการซื้อ (Conversion) x ยอดขายต่อผู้ซื้อ (Average revenue per buyer)
เคล็ดลับ "เพิ่มประสิทธิภาพร้านค้า" อย่างตรงจุด
ลาซาด้า แนะว่า การมองเห็นข้อมูลของแต่ละองค์ประกอบในยอดขายรวม (GMV) จะช่วยให้ผู้ขายสามารถระบุจุดที่ต้องปรับปรุงได้อย่างชัดเจน โดยปัจจุบันผู้ขายสามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ของแพลตฟอร์ม อีคอมเมิร์ซ ได้
ผู้ขายสามารถใช้เครื่องมือและฟีเจอร์ต่างๆ บน "Lazada Seller Center" เพื่อติดตามประสิทธิภาพของร้านค้า วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า พร้อมปรับกลยุทธ์เพื่อการขายที่ดียิ่งขึ้น
ลาซาด้า เข้าใจดีว่า ผู้ขายร้านค้าออนไลน์แต่ละคนมีเป้าหมายทางธุรกิจที่ต้องการจะบรรลุ หรือมีความท้าทายที่ต้องเผชิญแตกต่างกันไป ดังนั้นจึงนำเสนอชุดเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนผู้ขายอย่างครบวงจร ในทุกๆ ขั้นตอนของการขายบนแพลตฟอร์ม ตั้งแต่มือใหม่หัดขาย แบรนด์ที่กำลังเติบโตที่อยากเจาะฐานลูกค้าที่หลากหลาย ไปจนถึงร้านค้าที่ต้องการจะเพิ่มยอดขายจากฐานลูกค้าเดิม
- ยอดเข้าชม (Traffic) : ร้านค้าสามารถเพิ่มการมองเห็นสินค้าและดึงดูดนักช้อปมายังร้านค้าได้ด้วยการโฆษณาสินค้าในตำแหน่งที่โดดเด่น ทั้งบนแพลตฟอร์มและนอกแพลตฟอร์ม โดยใช้เครื่องมือโปรโมตสินค้าของลาซาด้า (Lazada Sponsored Solutions) เพื่อเพิ่มการมองเห็นของสินค้าเมื่อนักช้อปค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ การใช้เครื่องมือการโปรโมตผ่านพาร์ตเนอร์ (Sponsored Affiliates) ยังช่วยผู้ขายเข้าถึงฐานลูกค้านอกแพลตฟอร์มได้อีกด้วย
- อัตราการซื้อ (Conversion) : การให้ความสำคัญกับข้อเสนอราคาที่โดนใจ สามารถช่วยเปลี่ยนการมองเห็นหรือการเข้าชมร้านค้าให้เป็นการซื้อสินค้าได้ โดยเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลของลาซาด้าช่วยให้ผู้ขายสามารถตั้งราคาที่เหมาะสม ทั้งในช่วงวันปกติและในช่วงแคมเปญ ซึ่งคูปองส่วนลด คูปองส่งฟรี และโปรโมชันในเวลาที่จำกัด ถือเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการกระตุ้นนักช้อปซื้อสินค้าในรถเข็น
- ยอดขายต่อผู้ซื้อ (Average revenue per buyer) : เมื่อนักช้อปกำลังค้นหาสินค้าหรือร้านค้าที่สนใจ ถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะดึงดูดนักช้อปให้ซื้อสินค้าอื่นๆ ที่ถูกใจได้เพิ่มเติม โปรโมชันเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มยอดสินค้าที่ลูกค้าซื้อแต่ละครั้ง เช่น ยิ่งซื้อ ยิ่งลด (Flexi Combo) ดีลซื้อเพิ่มคุ้มกว่า (Add-on Deals) หรือตั้งเงื่อนไขการซื้อขั้นต่ำเพื่อแลกคูปองส่วนลด นอกจากนี้การแลกเหรียญ LazCoins และโปรแกรมสำหรับลูกค้าประจำยังช่วยเพิ่มอัตราการซื้อซ้ำในกลุ่มลูกค้าเดิมได้อีกด้วย
เปลี่ยน "ข้อมูลอินไซต์" เป็น "พลังขับเคลื่อนธุรกิจ"
นอกจากการนำเทคโนโลยีและเครื่องมือต่างๆ มาใช้แล้ว ผู้ขายบนแพลตฟอร์ม อีคอมเมิร์ซ ที่ต้องการเรียนรู้และเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสิทธิภาพของ ร้านค้าออนไลน์ สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลบนเครื่องมือวิเคราะห์ธุรกิจของลาซาด้า (Lazada Business Advisor) เพื่อดึงข้อมูลเชิงลึกมาวิเคราะห์และช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจได้อย่างชาญฉลาดยิ่งขึ้น
"5 เคล็ดลับ" ใช้เครื่องมือวิเคราะห์ธุรกิจ "Lazada Business Advisor" ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- ติดตาม "ภาพรวมประสิทธิภาพของร้านค้า" ตรวจสอบข้อมูลยอดขายและยอดเข้าชมของร้านค้าแบบเรียลไทม์บนแดชบอร์ด
- วิเคราะห์ "ข้อมูลเชิงลึกของสินค้า" เพื่อระบุสินค้าที่ขายดีและสินค้าที่ควรปรับปรุง เพื่อช่วยในการพิจารณาว่า สินค้าใดหรือหมวดหมู่ใดควรต้องให้ความสำคัญมากที่สุด
- ตรวจเช็กว่า "ลูกค้าเข้ามาชมสินค้าของร้านผ่านช่องทางใดมากที่สุด" เพื่อช่วยในการตัดสินใจว่าควรให้ความสำคัญกับช่องทางใดในการเพิ่มอัตราการสั่งซื้อโดยรวม
- วิเคราะห์ "ประสิทธิภาพของโปรโมชัน" และเลือกโอกาสในการใช้โปรโมชันที่เหมาะสมที่สุดในการเพิ่มยอดขาย
- ประเมิน "ประสิทธิภาพของการบริการลูกค้า" จากอัตราการตอบแชทและระยะเวลาในการตอบกลับของร้านค้า
การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลก อีคอมเมิร์ซ อาจถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ท้าทาย แต่การใช้เครื่องมือและกลยุทธ์ที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นใจ
วันนี้ข้อมูลเปรียบเสมือนเข็มทิศที่จะช่วยนำพาไปสู่ความสำเร็จ หากผู้ขายสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่ก็จะสามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดยิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารร้านค้า สามารถบรรลุเป้าหมายระยะยาวในการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซได้