เอไอเอสชูพลัง 'กรีนเน็ตเวิร์ก' เคลื่อนธุรกิจยั่งยืน

เอไอเอสชูพลัง 'กรีนเน็ตเวิร์ก' เคลื่อนธุรกิจยั่งยืน

เอไอเอส ฉายภาพอุตฯ โทรคมนาคม เข็น AI - เทคโนโลยีดิจิทัล ตัวช่วยบริหารจัดการพลังงานสีเขียวกับการทำงานเครือข่ายอย่างยั่งยืน สร้างสินค้าและบริการนำเสนอลูกค้าให้ตรงใจ พร้อมกับการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์ และงานธุรกิจสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ AIS กล่าวภายในงานสัมมนา Sustainability Forum 2025 : Synergizing for Driving Business จัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ว่า ความยั่งยืนทางธุรกิจเอไอเอสมองจะ 4P Impacts ได้แก่ People Planet Purpose และ Profit แต่ต้องยั่งยืนมั่นคงในโลกดิจิทัลเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และครอบคลุมทุกคน เวลาที่เอ่ยชื่อ ‘AIS’ ทุกคนจะนึกถึงแต่เป็นเครือข่ายโทรศัพท์มือถือแต่จริงๆแล้ว เอไอเอสเป็นมากกว่านั้น เอไอเอสมีเน็ตบ้าน และบริการดิจิทัล เซอร์วิส ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการอีกมากมาย

หากมองในแง่การดำเนินธุรกิจที่มีความเป็น Greener นั้น AIS ให้ความสำคัญที่ 3 แกน คือ

-Driven Digital Economy คือการผสานเอาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลเข้ามาขับเคลื่อนธุรกิจ และทำให้เกิดดิจิทัล อีโคโนมี

-Promote Digital Inclusion สร้างโอกาสการเข้าถึงทางดิจิทัลให้กับผู้ใช้งานไม่ว่าจะอยู่ที่ใด และลดความเหลื่อมล้ำให้ได้มากที่สุด ทั้งทางบก ทางน้ำ บนเขา หรือในทะเล

-Act on Climate ให้ความสำคัญเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศอย่างชัดเจน สร้างสังคมสีเขียวอย่างยั่งยืน ด้วยการขยายสถานีฐานเสาสัญญาณเอไอเอสด้วยพลังงานสีเขียวและพลังงานทดแทนที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ รวมทั้งมีการนำเอาปัญญาประดิษฐ์ AI เข้ามาช่วยยกระดับเทคโนโลยี

ทั้งนี้ เพื่อเน้นย้ำให้เห็นถึงการดำเนินธุรกิจของเอไอเอสที่จะให้ความสำคัญกับ “พาย 3 ชิ้น” ที่มาประกอบกันเป็นอีโคซิสเต็มของเอไอเอส และพร้อมที่จะเชื่อมต่อสู่ทุกภาคส่วนเพื่อเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน ซึ่งได้แก่

• Digital Intelligence Infrastructure

• Cross Industry Collaboration

• Human Capital & Sustainability
 

เอไอเอสชูพลัง \'กรีนเน็ตเวิร์ก\' เคลื่อนธุรกิจยั่งยืน เธอ กล่าวอีกว่า เอไอเอสได้มีรูปแบบการทำธุรกิจ Shape a Greener Business เพื่อให้เห็นถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมโทรคมนาคมว่า การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยบริหารจัดการ การใช้พลังงานกับการทำงานเครือข่าย เป็นเรื่องสำคัญและถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในกลุ่มผู้ให้บริการโทรคมนาคมทั่วโลก ซึ่งในส่วนของเอไอเอส

วันนี้นอกจากการปรับอุปกรณ์สถานีฐาน และเริ่มนำพลังงานทางเลือกจากธรรมชาติ อาทิ พลังงานจากแสงอาทิตย์ และพลังงานลม มาเริ่มใช้ควบคู่กับพลังงานหลัก ภายใต้แนวคิด Green Network

นอกจากนี้ ยังเริ่มทดลอง ทดสอบ นวัตกรรม โซลูชันต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ Traffic ของระบบเครือข่ายทั้งหมด กับเป้าหมายการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้วเช่นกัน

เอไอเอส เชื่อว่าการจะเป็น Go Green ได้นั้นต้อง Go Digital ควบคู่กันไปด้วย ทำให้ทั้งอีโคซิสเต็มมีการขับเคลื่อนเพื่อสร้างสมดุลระหว่างทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม

รวมถึงความตั้งใจในการพัฒนา Autonomous Network ที่นำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้ในสถานีฐานเพื่อบริหารจัดการพลังงานให้เหมาะสมกับปริมาณการใช้งานของลูกค้า ได้แบบ More Bits, Less Watts เพื่อให้ลูกค้ายังคงได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ตรงใจ พร้อมกับการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นางสายชล เสริมว่า การสร้างสมดุล ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการ การใช้พลังงานให้ได้ประโยชน์สูงสุด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการปล่อยน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีที่จะช่วยตรวจสอบความผิดพลาดในระบบการทำงาน อันอาจจะก่อให้เกิดของเสียที่ไม่จำเป็น จากการผสานการทำงานของเทคโนโลยี อย่าง IoT และ AI ผ่านเครือข่ายความเร็วสูงอย่าง 5G ทำให้เกิดการประมวลผลข้อมูลที่แม่นยำ

อีกทั้ง จะทำให้สามารถเห็นภาพองค์รวมของการทำงานในกระบวนการธุรกิจ จึงทำให้สามารถบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรได้ทำให้เกิดความสมดุลทั้งในแง่ของการดำเนินธุรกิจ และการดูแลสังคม และสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ เอไอเอส และ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้มีเป้าหมายสูงสุดในการทำงานโดยใช้ขีดความสามารถทางธุรกิจของแต่ละบริษัท ในการยกระดับการใช้ชีวิตของคนไทย ให้เท่าเทียม และทั่วถึง พร้อมสนับสนุนภารกิจของภาครัฐในการดูแลคุณภาพชีวิตประชาชน ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการประสานความร่วมมือกัน

โดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์จากกัลฟ์ที่เชี่ยวชาญการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนจากเทคโนโลยีทันสมัย และ เอไอเอส ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสื่อสารและดิจิทัล ส่งมอบโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและสื่อสาร อย่างระบบไฟฟ้าและสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ ให้แก่คนไทยในพื้นที่ซึ่งยากแก่การที่สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานจะเข้าถึง

"เอไอเอสจะใช้ประโยชน์ด้านการติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การเรียนรู้จากแหล่งข้อมูลความรู้ต่างๆบนโลกออนไลน์ พร้อมเติมเต็มโอกาสในการเข้าถึงระบบการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพแบบ “แพทย์ทางไกล” ผ่านเทคโนโลยี Telemedicine ตระหนักดีว่า ระบบไฟฟ้า และ ระบบสื่อสาร คือ สาธารณูปโภคที่จำเป็นและสำคัญยิ่ง" 

ดังนั้น ประชาชนในทุกพื้นที่ ควรได้รับโอกาสในการเข้าถึงอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ซึ่งพัฒนาโครงข่ายพร้อมบริการดิจิทัล ซึ่งสามารถสร้างประโยชน์ ครอบคลุมทั้งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (Economy) สังคม (Social) และการยืนหยัดเพื่อสิ่งแวดล้อม (Environment) นั่นเอง