BDI โหมดิจิทัลแพลตฟอร์มชู 'บิ๊กดาต้า-เอไอ' สร้างเม็ดเงิน 1,000 ล้านบาท

BDI โหมดิจิทัลแพลตฟอร์มชู 'บิ๊กดาต้า-เอไอ' สร้างเม็ดเงิน 1,000 ล้านบาท

BDI เปิดโรดแมป 3 ปี เร่งสปีดขับเคลื่อนการใช้ข้อมูล ด้วย บิ๊กดาต้าและ เอไอ เสริมสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลเติบโตสู่การยกระดับคุณภาพชีวิต มั่นใจสร้างแรงกระเพื่อมทางเศรษฐกิจทะลุ 1,000 ล้านบาท

ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) หรือ BDI เปิดแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) พ.ศ. 2568-2570 เพื่อวางแนวทางการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศสำหรับประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายและเชิงธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับประเทศไทย และเพื่อประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายและเชิงธุรกิจ รวมไปถึงยกระดับการดำเนินชีวิตของประชาชนให้เข้ากับยุคดิจิทัล BDI โหมดิจิทัลแพลตฟอร์มชู \'บิ๊กดาต้า-เอไอ\' สร้างเม็ดเงิน 1,000 ล้านบาท โดยตอนนี้อยู่ในขั้นตอนนำเสนอการพิจารณาแก่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดย (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าวประกอบด้วยทั้งสิ้น 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

  1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Developing Required Infrastructure for Big Data Utilization)
  2. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานเพื่อตอบโจทย์ประเด็นการพัฒนาสำคัญของประเทศ (Promote the utilization of infrastructure to address key development issues of the country)
  3. พัฒนาและใช้ประโยชน์จาก AI ในการบริการ (AI Development and Utilization)
  4. พัฒนาสร้างขีดความสามารถด้านข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ (Manpower in Big Data and AI) 

BDI โหมดิจิทัลแพลตฟอร์มชู \'บิ๊กดาต้า-เอไอ\' สร้างเม็ดเงิน 1,000 ล้านบาท สำหรับการดำเนินงานในปี 2568 ยังคงเดินหน้าผลักดันให้เกิดการพัฒนาและขยายผลการใช้งานแพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นโครงการแพลตฟอร์มข้อมูลสุขภาพทั่วประเทศ (Health Link) มุ่งเน้นการขยายเครือข่ายเชื่อมโยงระบบข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข โครงการแพลตฟอร์มบริการข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับพื้นที่เมืองอัจฉริยะ (Envi Link) เร่งเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น 

โครงการแพลตฟอร์มข้อมูลอัจฉริยะด้านท่องเที่ยวแห่งชาติ (Travel Link) ขยายการดำเนินงานระยะที่ 2 ไปยังพื้นที่ท่องเที่ยวหลักเพิ่มขึ้น โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลเมือง (CDP-Smart Data Analytics Platform) รุกสร้างแพลตฟอร์มข้อมูลเมืองอัจฉริยะตามลักษณะเฉพาะของพื้นที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5 พื้นที่ ได้แก่ น่าน อุตรดิตถ์ อุบลราชธานี สงขลาและนครศรีธรรมราช

นอกจากนี้ BDI ยังมุ่งมั่นเป็นกลไกสำคัญในการสร้างระบบนิเวศด้านข้อมูลของประเทศโดยเฉพาะการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs ไทย สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก้าวสู่การเป็นธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศในระยะยาวต่อไป พร้อมทั้งเดินหน้าส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตบุคลากร ให้สอดรับกับความต้องการของตลาดแรงงานทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน และรองรับต่อกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ เพื่อให้เกิดการพัฒนากำลังคนที่มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้งานได้จริง BDI โหมดิจิทัลแพลตฟอร์มชู \'บิ๊กดาต้า-เอไอ\' สร้างเม็ดเงิน 1,000 ล้านบาท

เธอ กล่าวเพิ่มเติมว่า BDI พร้อมตอบรับนโยบายรัฐ เรื่องการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดยมี แผนจัดทำโครงการแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศ (National Big Data Platform) ในระยะแรกจะเป็นการศึกษาปัจจัยที่สำคัญเบื้องต้น ได้แก่ 1) ด้านเทคโนโลยี ปูพื้นฐานสถาปัตยกรรมเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง การออกแบบโครงสร้างต้นแบบระบบคลาวด์

การศึกษาและทดสอบกลไกการเชื่อมโยงข้อมูล ต้นแบบด้านการรักษาความปลอดภัยและการให้บริการข้อมูล ด้านข้อมูล/ชุดข้อมูล นำเข้าตัวอย่างข้อมูล/ชุดข้อมูล ที่มาจากโครงการรายอุตสาหกรรม และต้นแบบการปรับปรุงคุณภาพข้อมูล ด้านการใช้ประโยชน์ข้อมูล จะมีการพัฒนาแดชบอร์ดโมเดลต้นแบบการวิเคราะห์

และโมเดล Machine Learning รวมถึงการจัดกิจกรรม Data Hackathon และการอบรมการใช้ประโยชน์ข้อมูลจากชุดข้อมูลที่จัดเก็บ เป้าหมายของโครงการนี้เพื่อรัฐบาลมีระบบกลางด้านข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีความมั่นคงปลอดภัย และสามารถใช้งานสำหรับการบริหารจัดการภาครัฐ เกิดการบูรณาการข้อมูลขนาดใหญ่ข้ามหน่วยงานที่ทำงานร่วมกันภายใต้หัวข้อปัญหาเดียวกัน ได้โดยสะดวกและปลอดภัย นำไปสู่การต่อยอดการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์จากข้อมูลในวงกว้างในอนาคต BDI โหมดิจิทัลแพลตฟอร์มชู \'บิ๊กดาต้า-เอไอ\' สร้างเม็ดเงิน 1,000 ล้านบาท

และ 2) โครงการ Thai Large Language Model (ThaiLLM) ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อพัฒนาและต่อยอดโมเดลด้วยข้อมูลภาษาไทยจำนวนมหาศาล เพื่อให้โมเดลมีความสามารถในการเข้าใจภาษาไทยได้ดี ปัจจุบัน BDI และเครือข่ายพันธมิตร ได้แก่ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) สมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIEAT) สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมมือกันพัฒนา ThaiLLM V.1

โดยระยะแรกจะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาโมเดลพื้นฐานสำหรับต่อยอด (Foundation Model) และโมเดลเฉพาะทางด้านการแพทย์ และสิ่งแวดล้อม ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม AI ที่มีศักยภาพและเพิ่มประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยมากยิ่งขึ้น

"ในระยะ 3 ปี หลังจากนี้ (พ.ศ. 2568-2570) BDI พร้อมเดินหน้าส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ Big Data และ AI ผ่าน 4 ยุทธศาสตร์สำคัญ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมสร้างคุณค่าทางสังคม ภายใต้วิสัยทัศน์ Data Driven Nation โดยในปี 2568 ตั้งเป้าสร้างมูลค่าผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมจากการใช้ประโยชน์ด้านข้อมูลขนาดใหญ่และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกว่า 1,000 ล้านบาท และเพิ่มโอกาสการจ้างงานบุคลากรในตลาด Big Data กว่า 10,000 ราย นอกจากนี้เรายังคงมุ่นมั่นพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อวางแผนต่อยอดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในระยะถัดไป เพื่อพาประเทศไทยก้าวสู่การเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยพลังแห่งข้อมูลต่อไปอย่างมั่นคงและยั่งยืนในอนาคต"