‘การ์ทเนอร์’ จับเทรนด์ดิจิทัล กำหนดอนาคต ‘องค์กร - ผู้ใช้ไอที’

‘การ์ทเนอร์’ จับเทรนด์ดิจิทัล กำหนดอนาคต ‘องค์กร - ผู้ใช้ไอที’

"การ์ทเนอร์" เผยคาดการณ์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญสำหรับองค์กรธุรกิจและผู้ใช้งานเทคโนโลยีปี 2568 มาดูกันว่ามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง

KEY

POINTS

  • ภูมิทัศน์ของ GenAI มีการแข่งขันมากขึ้น
  • เป็นที่ชัดเจนว่า ไม่ว่าเราจะไปไหนก็หลีกเลี่ยงผลกระทบของ AI ไม่ได้
  • องค์กร 20% จะใช้ AI ปรับโครงสร้างองค์กร
  • การจมดิ่งไปในเทคโนโลยีจะส่งผลกระทบต่อประชากรในด้านการเสพติดดิจิทัล

"การ์ทเนอร์" เปิดคาดการณ์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญสำหรับองค์กรธุรกิจรวมถึงผู้ใช้งานเทคโนโลยีปี 2568 

แดริล พลัมเมอร์ รองประธานอาวุโส หัวหน้าฝ่ายวิจัย และ Gartner Fellow เผยว่า Generative AI (GenAI) กำลังส่งผลกระทบวงกว้างต่อพื้นที่ที่เคยมีแต่มนุษย์เท่านั้นที่สามารถทำได้ ‘การ์ทเนอร์’ จับเทรนด์ดิจิทัล กำหนดอนาคต ‘องค์กร - ผู้ใช้ไอที’

เป็นที่ชัดเจนว่าไม่ว่าเราจะไปไหนก็หลีกเลี่ยงผลกระทบของ AI ไม่ได้ และ AI ก็กำลังพัฒนาไปพร้อมๆ กับการใช้งานของมนุษย์ ก่อนที่จะไปถึงจุดที่มนุษย์ไล่ตามไม่ทัน เราต้องยอมรับก่อนว่า AI ช่วยให้เราพัฒนาได้ขึ้นมากแค่ไหน

ระวัง!! เสพติดดิจิทัล

ปี 2569 องค์กร 20% จะใช้ AI ปรับโครงสร้างองค์กรให้แบนราบลง โดยลดตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางที่มีอยู่ในปัจจุบันลงมากกว่าครึ่ง

ผลสำรวจเผยว่า องค์กรที่นำ AI มาใช้เพื่อลดจำนวนผู้บริหารระดับกลางจะสามารถลดต้นทุนค่าจ้างในระยะสั้นและทำให้องค์กรประหยัดขึ้นในระยะยาว

ปี 2571 การจมดิ่งไปในเทคโนโลยีจะส่งผลกระทบต่อประชากรในด้านการเสพติดดิจิทัลและการแยกตัวจากสังคม ส่งผลให้ 70% ขององค์กรต้องนำนโยบายต่อต้านดิจิทัลมาใช้งาน

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า ปี 2571 จะมีประชากรประมาณหนึ่งพันล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากการเสพติดดิจิทัล ซึ่งส่งผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง มีความเครียดเพิ่มขึ้น และเกิดปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น วิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า ทั้งการจมดิ่งในดิจิทัลจะส่งผลกระทบในแง่ลบต่อทักษะทางสังคม โดยเฉพาะกับกลุ่มคนรุ่นใหม่

พลัมเมอร์กล่าวว่า ผลกระทบของการแยกตัวจากการจมดิ่งในดิจิทัลจะนำไปสู่แรงงานที่แตกแยก (Disjointed Workforce) องค์กรจำเป็นต้องกำหนดช่วงเวลาดีท็อกซ์ดิจิทัลให้เป็นข้อบังคับสำหรับพนักงาน สั่งห้ามการสื่อสารนอกเวลางาน และนำเครื่องมือและเทคนิคแบบแอนะล็อกกลับมาใช้เป็นข้อบังคับ

‘หมดยุค’ ซีอีโอเอาแต่ใจ

 ปี 2572 คณะกรรมการบริษัท 10% ทั่วโลกจะใช้ AI guidance เพื่อท้าทายการตัดสินใจของผู้บริหารที่มีผลกระทบสำคัญต่อธุรกิจ

ข้อมูลเชิงลึกที่สร้างขึ้นจาก AI จะมีผลกระทบวงกว้างต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร และทำให้กรรมการบริษัทนำมาใช้ท้าทายการตัดสินใจของผู้บริหาร นี่จะเป็นการหมดยุคของซีอีโอที่ชอบตัดสินใจตามอำเภอใจโดยไม่มีเหตุผลรองรับ

ปี 2571 องค์กรขนาดใหญ่ 40% จะนำ AI มาใช้เพื่อจัดการและวัดอารมณ์รวมถึงพฤติกรรมของพนักงาน ทั้งหมดก็เพื่อผลกำไร

การ์ทเนอร์ระบุว่า AI มีความสามารถวิเคราะห์ความรู้สึกจากการมีปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารในที่ทำงาน สิ่งนี้ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้เข้าใจถึงความรู้สึกโดยรวมที่สอดคล้องกับพฤติกรรมที่กำหนด ช่วยให้ทีมงานมีแรงจูงใจและมีส่วนร่วมในการทำงาน

แม้ประโยชน์ที่ได้รับจากเทคโนโลยีการวิเคราะห์พฤติกรรมที่ขับเคลื่อนด้วย AI นั้นจะมีมากมาย แต่บริษัทต้องรักษาสมดุลระหว่างการนำ AI มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพร่วมกับการดูแลเอาใจใส่ความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานอย่างจริงใจ

ปี 2570 สัญญาจ้างงานใหม่ 70% จะรวมข้อกำหนดเรื่องการอนุญาตสิทธิ์และการใช้งานที่เหมาะสมสำหรับการแสดงตัวตนในระบบ AI

โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLMs) ที่เกิดขึ้นไม่มีกำหนดถึงวันสิ้นสุด นั่นหมายความว่าข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานที่ถูกจัดเก็บโดย LLMs ขององค์กรนั้นจะยังอยู่ใน LLM ทั้งช่วงระหว่างการจ้างงานและหลังจากสิ้นสุดการจ้างงาน

นำไปสู่การถกเถียงในเชิงสาธารณะ ที่ตั้งคำถามกันว่าพนักงานหรือนายจ้างมีสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของตัวตนดิจิทัลนี้หรือไม่ ซึ่งในท้ายที่สุดอาจนำไปสู่การฟ้องร้องทางกฎหมายได้ ‘การ์ทเนอร์’ จับเทรนด์ดิจิทัล กำหนดอนาคต ‘องค์กร - ผู้ใช้ไอที’

ฝ่าวิกฤติบุคลากร ‘หมดไฟ’

ปี 2570 ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ 70% จะรวมข้อกำหนดและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับ AI ด้านอารมณ์ไว้ในสัญญาทางเทคโนโลยี มิฉะนั้นอาจเสี่ยงต่อความเสียหายทางการเงินหลายพันล้าน

ภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นจนส่งผลให้มีผู้ลาออก อีกทั้งความต้องการของผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น และอัตราการหมดไฟ (Burnout) ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกำลังก่อให้เกิดวิกฤติความเห็นอกเห็นใจ หรือ Empathy Crisis โดยการใช้ Emotional AI ในงานต่างๆ ที่สามารถช่วยให้บุคลากรใมีเวลาว่างมากขึ้น บรรเทาความเหนื่อยล้าและความคับข้องใจ

ปี 2571 บริษัทในดัชนี S&P 30% จะใช้การติดฉลาก GenAI เช่น “xxGPT” เพื่อปรับภาพแบรนด์และเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ใหม่ๆ 

ผู้บริหาร CMO ต่างมองว่า GenAI เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้เปิดตัวร่วมกับทั้งผลิตภัณฑ์ใหม่และโมเดลธุรกิจใหม่ โดย GenAI ยังเปิดโอกาสให้เกิดช่องทางรายได้ใหม่ๆ จากการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้รวดเร็วขึ้น พร้อมทั้งมอบประสบการณ์ลูกค้าที่ดีขึ้น รวมถึงทำให้กระบวนการต่างๆ เป็นอัตโนมัติ

ขณะที่ภูมิทัศน์ของ GenAI มีการแข่งขันมากขึ้น หลายบริษัทกำลังสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ด้วยการพัฒนาโมเดลเฉพาะทางที่ปรับให้เหมาะกับอุตสาหกรรมของตน

ยิ่งอัจฉริยะ ยิ่งเสี่ยง

ปี 2571 25% ของการละเมิดความปลอดภัยในองค์กร จะถูกสืบย้อนกลับไปที่การใช้ AI agent ในทางที่ผิด ทั้งจากผู้โจมตีภายนอกและภายในที่เป็นอันตราย

‘การ์ทเนอร์’ จับเทรนด์ดิจิทัล กำหนดอนาคต ‘องค์กร - ผู้ใช้ไอที’ องค์กรจำเป็นต้องมีโซลูชันด้านความปลอดภัยและความเสี่ยงใหม่ๆ เนื่องจาก AI agents เพิ่มพื้นที่การโจมตีที่มองไม่เห็นในองค์กรมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะบังคับให้องค์กรต้องปกป้องธุรกิจของตนจากผู้โจมตีภายนอกที่ชาญฉลาดและจากพนักงานที่ไม่พอใจที่สร้าง AI agents เพื่อดำเนินกิจกรรมที่เป็นอันตราย

ปี 2571 ผู้บริหาร CIOs 40% จะเรียกร้องให้มี “Guardian Agents” สำหรับเฝ้าติดตาม ดูแล หรือควบคุมผลลัพธ์ที่เกิดจากการกระทำของ AI agent โดยอัตโนมัติ

องค์กรกำลังให้ความสนใจ AI agents เพิ่มขึ้น แต่เมื่อมีการเพิ่มระดับความอัจฉริยะใน GenAI agent ใหม่ๆ ก็มีแนวโน้มที่ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์จะนำมาปรับใช้สำหรับวางแผนเชิงกลยุทธ์อย่างรวดเร็ว อีกไม่นานการโจมตีด้านความปลอดภัยของ AI agent จะเป็นพื้นที่ภัยคุกคามใหม่

รับมือปัญหา ‘พลังงาน’

ปี 2570 บริษัทในกลุ่ม Fortune 500 จะเปลี่ยนงบประมาณ 5 แสนล้านดอลลาร์จากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านพลังงานไปสู่ไมโครกริด เพื่อลดความเสี่ยงเรื้อรังด้านพลังงานและความต้องการด้าน AI

ไมโครกริดคือโครงข่ายพลังงานที่เชื่อมต่อกับการผลิต การกักเก็บรักษา และการจ่ายพลังงานในระบบที่แยกตัวเป็นอิสระ ซึ่งสามารถทำงานได้ด้วยตัวเองหรือทำงานร่วมกับระบบโครงข่ายพลังงานหลักเพื่อตอบสนองความต้องการใช้พลังงานในพื้นที่หรือสถานที่ที่มีความเฉพาะ

เทคโนโลยีนี้สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันสำหรับการดำเนินงานต่างๆ ในประจำวันและช่วยลดความเสี่ยงด้านพลังงานในอนาคต