‘การ์ทเนอร์’ มองภูมิทัศน์ ‘ยานยนต์’ ‘ซอฟต์แวร์ - ไฟฟ้า’ พลังขับเคลื่อน

‘การ์ทเนอร์’ มองภูมิทัศน์ ‘ยานยนต์’ ‘ซอฟต์แวร์ - ไฟฟ้า’ พลังขับเคลื่อน

“การ์ทเนอร์” เปิดคาดการณ์แนวโน้มสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางของภาคยานยนต์ในปี 2568 ท่ามกลางแรงกดดันทั้งด้านกฎระเบียบการปล่อยมลพิษ ความตึงเครียดทางการค้า การเมือง รวมถึงการขยายตัวของผู้ผลิตจีนที่แม้จะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งทว่ามีหลายปัจจัยที่เข้ามาท้าทาย...

เปโดร ปาเชโก รองประธานฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ กล่าวว่า ซอฟต์แวร์และการใช้พลังงานไฟฟ้าจะยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักสองประการในการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมยานยนต์

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ผู้ผลิตรถยนต์จะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในเรื่องกฎระเบียบการปล่อยมลพิษและความตึงเครียดทางการค้าที่เพิ่มขึ้นระหว่างจีนกับชาติตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดรถยนต์ไฟฟ้า ‘การ์ทเนอร์’ มองภูมิทัศน์ ‘ยานยนต์’ ‘ซอฟต์แวร์ - ไฟฟ้า’ พลังขับเคลื่อน

 ภูมิทัศน์ทางการเมืองที่กำลังเปลี่ยนไปทั้งในสหรัฐและสหภาพยุโรปทำให้ประเด็นเรื่องกฎระเบียบการปล่อยมลพิษของยานยนต์กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง ซึ่งสร้างความไม่แน่นอนให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ ส่งผลให้ผู้รับจ้างผลิตอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนหรือ OEMs บางรายอาจลังเลที่วางกลยุทธ์หลักของธุรกิจไว้ที่รถยนต์ไฟฟ้า

ฝ่าอุปสรรค ‘ภูมิรัฐศาสตร์’

การ์ทเนอร์ประเมินว่า ยอดการจัดส่งรถยนต์ไฟฟ้า (ประเภทรถโดยสาร รถยนต์ รถตู้ และรถบรรทุกขนาดใหญ่) จะเติบโต 17% ในปี 2568 และคาดว่าในปี 2573 มากกว่าครึ่งของรถยนต์ทั้งหมดที่วางจำหน่ายและทำตลาดโดยผู้ผลิตนั้นจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า

ที่น่าจับตามอง ภูมิรัฐศาสตร์ทำให้การนำแนวคิด CASE มาปรับใช้ล่าช้า : อุปสรรคทางการค้าที่สหรัฐและสหภาพยุโรปกำหนดและบังคับใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าของจีนจะทำให้การนำเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ ความเป็นอิสระ ซอฟต์แวร์ และการใช้พลังงานไฟฟ้า

หรือที่เรียกรวมกันว่า CASE มาใช้ในทั้งสองภูมิภาคนี้ล่าช้าลง เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าจีนถือเป็นประเภทยานพาหนะที่มีความก้าวหน้าที่สุดในอุตสาหกรรม

บิล เรย์ รองประธานอาวุโส การ์ทเนอร์ เสริมว่า ผู้ผลิตโดรนและบริษัทโทรคมนาคมจีนกำลังรับรู้ถึงผลกระทบจากมาตรการแทรกแซงทางการค้าระหว่างประเทศ และรายต่อไปก็คือผู้ผลิตหุ่นยนต์

ดังนั้นการมีซอฟต์แวร์อัจฉริยะที่สามารถอัปเดตได้ กล้องที่เข้าถึงได้จากระยะไกล และการผสานการเก็บข้อมูลเข้ากับโมเดลธุรกิจยานยนต์ ทำให้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญกับความท้าทายด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่จะเป็นตัวแบ่งแยกตลาดและชะลอการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาปรับใช้

การค้าตึงเครียด กีดกันด้วยภาษี

การ์ทเนอร์ระบุว่า ผู้ผลิตรถยนต์จากจีนได้เปรียบการแข่งขันในด้านซอฟต์แวร์และระบบพลังงานไฟฟ้า เนื่องจากมีแนวทางการพัฒนาที่มีความเฉพาะและมีประสิทธิภาพ ช่วยให้สามารถนำเสนอรถยนต์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง และราคาไม่แพง 

อย่างไรก็ตาม อุปสรรคทางการค้าที่เพิ่มขึ้นอาจลดทอนข้อได้เปรียบดังกล่าวนี้ และทำให้รถยนต์ไฟฟ้าในตลาดสำหรับผู้บริโภคมีความหลากหลายลดลง

ผู้ผลิตชิ้นส่วน OEM ต่างๆ ขยายความร่วมมือด้านซอฟต์แวร์กับผู้ผลิต OEM จากจีน  : ผู้รับจ้างผลิตชิ้นส่วนและส่วนประกอบกำลังประสบปัญหาในการพัฒนาความสามารถด้านซอฟต์แวร์ภายในองค์กร

ส่งผลให้หลายรายหันมาทำข้อตกลงกับผู้ผลิต OEM จากจีน เพื่อเข้าถึงสถาปัตยกรรมไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ (E/E) ของยานพาหนะ ทำให้พึ่งพาความสามารถด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ของผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนมากยิ่งขึ้น

‘การ์ทเนอร์’ มองภูมิทัศน์ ‘ยานยนต์’ ‘ซอฟต์แวร์ - ไฟฟ้า’ พลังขับเคลื่อน

กำลังการผลิตส่วนเกินกระตุ้นให้โรงงาน OEM ปิดตัว : กำลังการผลิตส่วนเกินเป็นความท้าทายสำหรับโรงงานผลิตรถยนต์หลายแห่งในยุโรปและอเมริกาเหนือมานานหลายปี

นอกจากนี้ การเพิ่มอัตราภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีนที่สหรัฐฯ และอียู กำหนดเมื่อเร็วๆ นี้มีแนวโน้มที่จะทำให้ปัญหานี้รุนแรงมากขึ้น โดยผู้ผลิตรถยนต์จีนอาจตั้งโรงงานในยุโรปและสหรัฐฯ หรือในประเทศพันธมิตรการค้าเสรี อาทิ โมร็อกโกหรือตุรกี เพื่อรักษาความสามารถด้านราคาให้แข่งขันได้

การ์ทเนอร์คาดว่า สถานการณ์นี้มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การปิดตัวหรือขายโรงงานผลิตรถยนต์หลายแห่งที่มีอัตราการใช้งานต่ำให้กับผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นๆ และก่อให้เกิดผลกระทบต่อเนื่อง ที่นำไปสู่การปิดตัวโรงงานของซัพพลายเออร์

ประเด็นนี้จะเป็นการกำหนดทำเลการผลิตรถยนต์ของสหรัฐและยุโรปขึ้นใหม่ และทำให้ประเทศที่มีต้นทุนต่ำกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตและเป็นห่วงโซ่อุปทานหลักของอุตสาหกรรมยานยนต์