Whoscall เปิดสถิติปี 67 มิจฉาชีพโทรฯส่ง-SMS พุ่ง 168 ล้านครั้งไฮนิวรอบ 5 ปี

Whoscall เปิดสถิติปี 67 มิจฉาชีพโทรฯส่ง-SMS พุ่ง 168 ล้านครั้งไฮนิวรอบ 5 ปี

Whoscall เปิดสถิติปี 2567 จำนวนสายมิจฉาชีพทางโทรศัพท์และข้อความ SMS หลอกลวงในไทยพุ่ง 168 ล้านครั้ง สูงสุดในรอบ 5 ปี เตือนภัยแอบอ้างองค์กร ลิงก์อันตรายแปลกปลอม และการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เร่งดึง AI คัดกรองเบอร์ ก้าวให้ทันโจรออนไลน์

นายแมนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกโกลุก ประเทศไทยกล่าวว่า นับตั้งแต่ที่บริษัท เริ่มเผยแพร่รายงานประจำปีตั้งแต่ปี 2563 เราได้ติดตามสถานการณ์การหลอกลวงของมิจฉาชีพ ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในเกือบทุก ๆ ตลาดหลักที่ Whoscall ให้บริการอย่างใกล้ชิด

เพราะปัจจุบันมิจฉาชีพได้นำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการหลอกลวงอย่างแพร่หลาย ทำให้กลโกงมีความ ซับซ้อนมากขึ้นและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแนวโน้มการหลอกลวงที่ต้องจับตามอง ได้แก่ การแอบอ้างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนการฉ้อโกงทางการเงินในหลากหลายรูปแบบ ทั้งผ่านการโทรศัพท์ข้อความ SMS ลิงก์อันตราย รวมถึง การรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้น อย่างน่ากังวล

ตรวจพบสายโทรศัพท์และข้อความหลอกลวงเพิ่มขึ้นในประเทศไทย

ในปี 2567 Whoscall ตรวจพบ สายโทรศัพท์และข้อความ SMS หลอกลวงสูงถึง 168 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นกว่า 112% จาก 79.2 ล้านครั้งในปี 2566 และถือเป็นยอดที่สูงสุดในรอบ 5 ปีของประเทศไทย ในส่วนของจำนวนการโทรหลอกลวงเพิ่มขึ้นเป็น 38 ล้านครั้ง จาก20.8 ล้านครั้งในปี 2566 ขณะที่จำนวนข้อความ SMS หลอกลวงพุ่งสูงถึงเกือบ 130 ล้านครั้ง จาก 58.3 ล้านครั้งในปี 2566 

โดยกลโกงที่พบมากที่สุด ได้แก่ การหลอกขายบริการและสินค้าปลอม การแอบอ้างตัวเป็นหน่วยงาน และหลอกว่ามีเงินกู้อนุมัติง่าย การหลอกทวงเงิน การหลอกว่าเป็นหนี้ Whoscall เปิดสถิติปี 67 มิจฉาชีพโทรฯส่ง-SMS พุ่ง 168 ล้านครั้งไฮนิวรอบ 5 ปี

 

มิจฉาชีพใช้กลลวงเกี่ยวกับการเงิน และแอบอ้างองค์กรเพิ่มสูงขึ้น

ในปีที่ผ่านมา บริการ  Smart SMS Assistant หรือ ผู้ช่วย SMS อัจฉริยะที่ช่วยตรวจสอบข้อความ จากหมายเลขที่ไม่รู้จัก พบว่ามีข้อความ SMS ที่เข้าข่ายการ หลอกลวง มากถึง 130 ล้านครั้ง ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้สำคัญว่ากลุ่มมิจฉาชีพยังคงใช้การส่งข้อความเป็นช่องทางหลักในการหลอกลวง  

ข้อความ SMS หลอกลวงที่แนบลิงก์ฟิชชิง เช่น  ข้อความ SMS ที่หลอกให้กู้เงิน และโฆษณาการพนัน ยังคงพบมากที่สุด นอกจากนี้กลุ่มมิจฉาชีพยังเปลี่ยนกลยุทธ์มาแอบอ้างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน มากขึ้น เช่น แอบอ้างเป็นบริการจัดส่งสินค้า รวมไปถึงการปลอมเป็นหน่วยงานสาธารณูปโภค เพื่อส่งข้อความชวนเชื่อที่สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐเกี่ยวกับมาตรการลดค่าไฟฟ้า คืนค่าประกัน มิเตอร์ไฟฟ้า มาตรการคนละครึ่ง และดิจิทัล วอลเล็ต

การแพร่กระจายของลิงก์อันตรายแปลกปลอม

เขา กล่าวว่า ดังนั้น Whoscall พัฒนาฟีเจอร์อย่างเช่น Web Checker ที่ผู้ใช้สามารถตรวจสอบลิงก์ที่น่าสงสัยและ อันตราย บนเว็บบราวเซอร์ในระหว่างการใช้งานโทรศัพท์มือถือ  ในปีที่ผ่านมาฟีเจอร์นี้ช่วยปกป้อง ผู้ใช้งานจากการคลิกลิงก์อันตราย แปลกปลอมหลากหลายประเภท โดยประเภทลิงก์อันตรายที่พบมาก ที่สุดเป็นลิงก์ฟิชชิงที่มีวัตถุประสงค์เพื่อดูดเงิน หรือล้วงข้อมูลส่วนบุคคล 40% ส่วนลิงก์ อันตราย ที่เหลือเป็นลิงก์ ที่เชื่อมโยงกับการพนันออนไลน์ผิดกฎหมาย 30% และลิงก์อันตรายที่หลอกให้เหยื่อ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่มีมัลแวร์เพื่อขโมยข้อมูลสำคัญจากอุปกรณ์อีก 30% Whoscall เปิดสถิติปี 67 มิจฉาชีพโทรฯส่ง-SMS พุ่ง 168 ล้านครั้งไฮนิวรอบ 5 ปี

ปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น

ในรายงานประจำปีครั้งนี้ยังได้เปิดเผยถึงปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรวจสอบผ่านฟีเจอร์ "ID Security" ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบความปลอดภัยของข้อมูล ส่วนบุคคลของตนเองได้ ในปีที่ผ่านมา ฟีเจอร์ ID Security กลายเป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยเพิ่ม ความระมัดระวังความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล 

โดยผลการวิเคราะห์พบว่าข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ 41% รั่วไหลไปยังที่ต่าง ๆ เช่น ดาร์กเว็บ และดีพเว็บ ในบรรดาข้อมูลส่วนตัวที่รั่วไหลพบว่า 97% เป็น อีเมล และ 88% เป็นเบอร์โทรศัพท์ ซึ่งอาจมีข้อมูลเช่น วันเดือนปีเกิด ชื่อนามสกุลพาสเวิร์ด รวมถึงข้อมูลอื่น ๆ หลุดร่วมไปด้วย

 

Whoscall เปิดสถิติปี 67 มิจฉาชีพโทรฯส่ง-SMS พุ่ง 168 ล้านครั้งไฮนิวรอบ 5 ปี

 

Whoscall มุ่งพัฒนาแอปพลิเคชัน ร่วมปกป้องผู้ใช้งานและธุรกิจอย่างครอบคลุมโดยที่ผ่านมา ช่วยปกป้องคนไทยจากมิจฉาชีพได้มากกว่า 460,000 ครั้ง เรามุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยี AI มาพัฒนาแอปพลิเคชันให้มีประสิทธิภาพเพื่อตอบโจทย์ทุกความ ต้องการของผู้ใช้งานในการป้องกันภัยมิจฉาชีพเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของกลโกงออนไลน์ ที่เพิ่มขึ้นในทุกรูปแบบ

นอกจากนี้ประชาชนควรตื่นตัวและใช้มาตรการเชิงรุกเพื่อปกป้องตนเอง เช่น ดาวน์โหลดแอป Whoscall : ฟีเจอร์ Caller ID จะยังเป็นแนวป้องกันแรกที่สามารถระบุตัวตนของหมายเลขที่ไม่รู้จักแบบเรียลไทม์ ช่วยเตือนภัย สายเรียกเข้าหลอกลวง และสายสแปมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อีกทั้ง ประชาชนควรใช้ความระมัดระวังเมื่อแชร์ข้อมูลส่วนตัวทางออนไลน์ และระวังลิงก์ หรือคำขอที่น่าสงสัย โดยสามารถทดลองใช้ฟีเจอร์ ID Security เพื่อตรวจสอบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลไปที่ไหนแล้วหรือไม่ เพื่อเพิ่มความระมัดระวังในการติดต่อผ่านช่องทาง ต่าง ๆ เช่น อีเมลเบอร์โทรศัพท์ และข้อความ SMS  

และด้วยสถานการณ์กลโกงที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง Whoscall ยืนหยัดที่จะใช้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี AI ที่มี่ประสิทธิภาพมายกระดับการป้องกันภัยจากการหลอกลวง เพื่อสร้างเครือข่ายป้องกันภัยจากอาชญกรรมทางไซเบอร์ให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนของสังคมไทย เราพร้อมทำงานร่วมกับภาครัฐ ภาคธุรกิจและภาคประชาชนอย่างใกล้ชิดในการลดอัตราการหลอกลวงจากมิจฉาชีพ สร้างความตระหนัก รู้เกี่ยวกับการหลอกลวงดิจิทัล รวมถึงออกบริการใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI เพื่อปกป้องทั้งผู้ใช้ และองค์กรในทุกช่องทาง