'สถานทูตสหรัฐ' ส่ง จ.ม.หวั่นกฎหมายใหม่สะเทือนบิ๊กแพลตฟอร์ม

“ประเสริฐ” เผย พ.ร.ก. ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม อาจล่าช้าถึงสิ้นเดือนมี.ค. สถานทูตมะกันแสดงความกังวล หวั่นกระทบธุรกิจให้บริการในประเทศ
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า การประกาศใช้ พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ฉบับแก้ไข เพิ่มเติม พ.ศ.2566 ซึ่งได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นที่เรียบร้อย อยู่ในระหว่างการ ตรวจสอบขั้นสุดท้ายของสำนักงานกฤษฎีกา จากเดิมนั้นคาดว่าจะประกาศใช้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่อาจจะล่าช้าไปถึงสิ้นเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งเป็นขั้นตอนการตรวจสอบของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา มิได้มีการแก้ไขสาระ หรือมีการเตะถ่วง แต่ประการใด
อย่างไรก็ตาม เนื้อหาสาระ พ.ร.ก.อาชญากรรมฯ ดังกล่าว ที่มีหลักการ ร่วมชดใช้ความเสียหาย ที่สถาบันการเงิน บริษัทโทรคมนาคม และแพลตฟอร์มดิจิทัล ที่ต้องรับผิดชอบหากมีการปล่อยให้มิจฉาชีพ ใช้ก่ออาชญากรรมออนไลน์ ก็ได้สร้างความกังวลขึ้น ในบรรดาบริษัทที่เกี่ยวข้อง
“เนื้อหาสาระของร่างพ.ร.ก.อาชญากรรมฯ ยังมิอาจเปิดเผยได้ เนื่องจากอาจมีแรงต้านมากจนกระทบกับความเร่งด่วนที่ต้องรีบประกาศใช้ แต่ยืนยันว่าตามหลักการของกฎหมาย ไม่ได้ส่งผลกระบต่อกานดำเนินธุกิจ เป็นสิ่งที่บริษัทหรือผู้เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติอยู่แล้ว อย่างการแลกเปลี่ยนข้อมูลอาชญากรรม บัญชีม้า และอื่นๆ หลังจากนี้จะมีการประชุมผู้เหี่ยวข้องเพื่อออกแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องในรายละเอียดที่ต้องออกคู่กับกฎหมายดังกล่าว”
รมว.ดีอี กล่าวด้วยว่า ไม่ใช่แค่สถาบันการเงิน และบริษัทโทรคมนาคมที่ แสดงความกังวล ยังรวมถึงแพตฟอร์มโซเชียลมีเดียใหญ่ๆ อย่าง เฟซบุ๊ก ที่ปล่อยให้มีเนื้อหาหลอกลวงประชาชนด้วย ซึ่งในช่วงม.ค.ที่ผ่านมา สถานทูตสหรัฐอเมริกา ได้ส่งหนังสือแสดงความกังวล ว่าร่างพ.ร.ก.อาชญากรรมออนไลน์ฯดังกล่าว จะกระทบการดำเนินธุรกิจของ แพลตฟอร์มเทคโนโลยี ยักษ์ใหญ่จากสหรัฐฯ ที่ให้บริการ กับประชาชนในประเทศไทย
“ข้อกังวลดังกล่าวส่งมาตั้งแต่ปลายเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา หลังจากครม. มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.ก.อาชญากรรมออนไลน์ฯ แต่ยืนยันว่าไม่ได้กระทบอะไร และไม่จำเป็นต้องนำไปปรับแก้ไขร่างฯ ซี่งเป็นอำนาจของรัฐบาลที่ต้องเร่งกำหนดมาตรการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาที่กระทบกับประชาชน”
นายประเสริฐ กล่าวต่อว่า สำหรับเนื้อหาสาระของร่างพ.ร.ก.ฯ ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ จนกว่าจะมีการประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาก่อน เนื่องจากอาจมีแรงต้านมากจนกระทบกับความเร่งด่วนที่ต้องรีบประกาศใช้ แต่ยืนยันว่าตามหลักการของกฎหมาย ไม่ได้ส่งผลกระบต่อการดำเนินธุรกิจ เป็นสิ่งที่บริษัทหรือผู้เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามอยู่แล้ว หากทำได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ก็ไม่ต้องร่วมรับผิด อย่างเช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลอาชญากรรม บัญชีม้า และอื่นๆ หากมีการส่งข้อมูลให้หน่วยงานรัฐตามกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม สำหรับการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ในช่วงที่ผ่านมา ถือว่า มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยตัวเลขจากศูนย์ AOC 1441 ความเสียหายที่เกิดขึ้นมีจำนวนลดลง โดยตัวเลขล่าสุดเมื่อวันที่ 2 มี.ค. ที่ผ่านมา มีความเสียหาย 33 ล้านบาท จากเดิมที่มีความเสียหายกว่า 80-100 ล้านบาทต่อวัน