ผู้ผลิตชั้นนำสหรัฐ‘ปรับราคาสินค้า’รับมือต้นทุนการผลิตพุ่ง
ผู้ผลิตชั้นนำสหรัฐ‘ปรับราคาสินค้า’รับมือต้นทุนการผลิตพุ่ง โดยสินค้าหลายประเภทในสหรัฐมีราคาแพงขึ้นตั้งแต่ผ้าอ้อมไปจนถึงแชมพู และผู้บริโภคอเมริกันริ่มเห็นสัญญาณการปรับตัวเพิ่มขึ้นรอบใหม่ของราคาสินค้า
ตอนนี้หลายประเทศ รวมทั้งสหรัฐเจอปัญหาข้าวของเครื่องใช้มีราคาแพงขึ้น ล่าสุด บรรดาผู้ผลิตสินค้าอุปโภค-บริโภคชั้นนำของโลก สัญชาติอเมริกันทั้งหลาย รวมถึงพร็อคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (พีแอนด์จี)ที่หันมาใช้กลยุทธ์ปรับราคาสินค้าสำหรับลูกค้ากลุ่มไฮเอนด์ เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมเอาไว้ในภาวะที่ประเทศกำลังถูกเล่นงานอย่างหนักจากอัตราเงินเฟ้อ
บรรดาผู้บริหารระดับสูง เปิดเผยในการประชุมนักลงทุนว่า ผู้ผลิตสินค้าที่เป็นของใช้ประจำวัน อย่างเช่น ยาสีฟันคอลเกต และกระดาษชำระชาร์มิน พร้อมที่จะใช้กลยุทธใหม่นี้เพื่อรักษาฐานลูกค้าในยุคข้าวของมีราคาแพงไว้กับตัวให้ได้มากที่สุด แต่ก็เลือกใช้กลยุทธนี้กับผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง
ส่วนไออาร์ไอ บริษัทวิจัยด้านการตลาด เปิดเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า บรรดาผู้ผลิตเหล่านี้ยังใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้นในการโปรโมทสินค้าและจำหน่ายสินค้าราคาถูกลง เพื่อดึงดูดลูกค้าให้ซื้อสินค้าแบรนด์ต่างๆของบริษัทต่อไป รวมถึง น้ำอัดลม กระดาษชำระเพื่อดึงดูดนักช็อปให้เข้ามาซื้อสินค้าในร้านไฮเอนด์และสินค้าแบรนด์เนม
การเคลื่อนไหวนี้ในหมู่ผู้ผลิตสินค้าอุปโภค-บริโภคสหรัฐมีขึ้นในขณะที่บรรดาผู้บริโภคสหรัฐ ที่จนถึงตอนนี้ยังคงซื้ิอสินค้าราคาแพงขึ้น ตั้งแต่ผ้าอ้อมไปจนถึงแชมพู เริ่มเห็นสัญญาณการปรับตัวเพิ่มขึ้นรอบใหม่ของราคาสินค้าในสหรัฐ จากตอนนี้ที่ราคาสินค้าตามชั้นจำหน่ายสินค้าในร้านค้าหลายแห่งปรับตัวเพิ่มขึ้นไปแล้ว รวมถึง สินค้าของบริษัทผลิตผลิตเครื่องใช้ทำความสะอาด“โคลร็อกซ์ โค” และ“เชิร์ช แอนด์ ดไวท์ โค อิงค์” ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาร์ม แอนด์ แฮมเมอร์
เชิร์ช แอนด์ ดไวท์ โค อิงค์ ขึ้นราคาสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ซักผ้าและถาดทรายสำหรับแมวเป็นครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 1 ก.ค. ส่วนโคลร็อกซ์ บอกว่า เดือนนี้จะปรับขึ้นราคาสินค้าที่วางจำหน่ายทุกประเภทในอัตราสูงที่สุด
ข้อมูลกระทรวงพาณิชย์สหรัฐในช่วงที่ผ่านมา ระบุว่า การใช้จ่ายผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 0.9% ในเดือน พ.ค. เพราะผู้คนในประเทศเริ่มซื้อตั๋วเครื่องบินเพื่อเดินทางข้ามรัฐ และระหว่างประเทศ เพื่อกลับมาท่องเที่ยว ออกไปดูกีฬา และหาประสบการณ์อื่นๆ ที่หยุดพักไปในช่วงโควิด-19 เช่นเดียวกับยอดซื้อรถยนต์ที่ขยับขึ้นเหมือนกัน หลังขาดแคลนชิปทำให้การผลิตรถหยุดชะงักไปหลายเดือน
อัตราเงินเฟ้อมีอิทธิพลอย่างมากต่อพฤติกรรมการซื้อและการออม โดยสำนักงานสถิติการค้าสหรัฐ ระบุว่า ชาวอเมริกัน 59% คิดว่า พวกเขาจะลดการใช้จ่ายเพื่อการออม และ 77% ลดการใช้จ่ายด้านความบันเทิงและการรับประทานอาหารนอกบ้าน ถ้าผู้คนรู้สึกดีพวกเขาจะใช้จ่ายมากขึ้น หากเป็นกังวลก็จะชะลอการซื้อ เช่น อาหารในร้านอาหาร โดยสองในสามของคนอเมริกันคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะแย่ลงในปีหน้า 30% คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะแย่ลงมา
ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐ ผู้บริโภคได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายในลักษณะที่ก่อให้เกิดผู้ชนะและผู้แพ้ด้านอาหารและเครื่องดื่ม แบรนด์ร้านค้าแข็งแกร่งขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคพยายามประหยัด ยอดขายหน่วยบริโภคสำหรับแบรนด์ระดับประเทศลดลง 2.5% เมื่อเทียบกับ 2.1% สำหรับแบรนด์ร้านค้าในช่วง 52 สัปดาห์ก่อนหน้านี้
แต่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในสหรัฐที่แพงขึ้นแล้วในตอนนี้ ก็มีความแพงแตกต่างกันไป แต่โดยรวมแล้วชาวอเมริกันทุกคนจำเป็นต้องปรับตัว เพราะหลังสถานการณ์โควิด-19 ยังคงไม่มีอะไรแน่นอน การมีเงินสดในกระเป๋าที่พอจะเลี้ยงตัวเองได้นานเป็นปี กรณีที่ต้องพักงานชั่วคราว ย่อมสร้างความอุ่นใจได้มากกว่า
ทว่าท่ามกลางสถานการณ์เงินเฟ้ออย่างหนัก ยังมีร้านค้าที่จำหน่ายสินค้า 1 ดอลลาร์หรือ 100 เซนต์ให้พึ่งพาได้ซึ่งสินค้าก็มีหลากหลาย ตั้งแต่การ์ดอวยพรไปจนถึง เครื่องประดับตกแต่งในช่วงเทศกาล แม้อาจไม่ใช่เป็นสิ่งจำเป็นในทุกๆวันของชาวอเมริกัน แต่ชาวอเมริกันยังชื่นชอบสังสรรค์ภายในบ้าน แม้ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19
อี-บุ๊คส์ในอเมซอน คินเดิล เป็นการซื้อบริการโหลดหนังสือสำหรับอ่านผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ พอทำให้เพลิดเพลินและคลายกังวลไปจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19ได้บ้าง
การลุ้นลอตเตอรี่แบบขูดหาตัวเลขในแต่ละรัฐ ที่จะให้เงินรางวัลแตกต่างกันไป แต่ก็สร้างความหวังให้กับมนุษย์เดินดินทั่วๆไป
การเข้าร่วมเป็นสมาชิกดีสนีย์ มูวี่ คลับ เพื่อรับชมภาพยนตร์ 4 เรื่อง เลือกชมทางดีวีดีหรือ บลูเรย์ดิสค์ก็ได้ในราคาทั้งหมด 1 ดอลลาร์
สิ่งของเครื่องใช้จำเป็นในอพาร์ทเมนต์ ก็มีอยู่หลายอย่างที่มีราคาแค่ 1 ดอลลาร์ เช่น อุปกรณ์ทำความสะอาด ถุงมือ และหลอดไฟ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ร้านหนึ่งดอลลาร์บางแห่งอาจขายสินค้าบางชนิด หรือทั้งหมดที่ว่ามานี้ในราคาที่แพงกว่า 1 ดอลลาร์ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ที่พึ่งของคนยากได้เหมือนแต่ก่อน
รายงานของ“เกรวี อะนาลลิซิส ”ระบุว่า ท่ามกลางสถานการณ์เงินเฟ้อทำให้ ผู้บริโภคชาวอเมริกันต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการใช้จ่ายด้วยการประหยัดให้ได้มากที่สุด แต่ว่ายอดขายของห้างดังอย่าง คอสโก, วอลมาร์ท, หรือแม้แต่อเมซอนผ่านทางการช็อปปิ่้งทางออนไลน์กลับขยายตัวขึ้น
แต่ร้านหนึ่งดอลลาร์ยังคงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้บริโภคชาวอเมริกัน ที่ต้องการเก็บเงินในกระเป๋าให้ยาวนานที่สุด และในการสำรวจล่าสุด พบว่า ชาวอเมริกันเข้าร้าน Dollar General, Dollar Tree และ Family Dollar ลดลง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ร้านค้าที่เป็นที่พึ่งของคนยาก ยังได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นจากสถานการณ์เงินเฟ้อในขณะนี้