เปิดเหตุผล “ไทย” งดออกเสียงมติยูเอ็นประณาม “รัสเซีย” ผนวก 4 แคว้นยูเครน
"ประเทศไทย" เป็นหนึ่งใน 35 ประเทศที่งดออกเสียง ในการลงมติยูเอ็นประณาม “รัสเซีย” ผนวก 4 แคว้นของยูเครน แล้วทำไม ไทยมีเหตุผลเฉพาะประเทศตนเองอย่างไร "ไม่ตามน้ำเสียงส่วนใหญ่" มาฟังกระทรวงการต่างประเทศชี้แจงอย่างละเอียด
กระทรวงการต่างประเทศ เผยแพร่เอกสารคำอธิบายเกี่ยวกับงดออกเสียงลงคะแนนในร่างข้อมติ: UNGA Emergency Special Session ครั้งที่ 11 "Territorial Integrity of Ukraine" ดังนี้
1. ในฐานะประเทศขนาดเล็กที่มีอำนาจอธิปไตย ประเทศไทยยึดถือกฎบัตรสหประชาชาติ และกฎหมายระหว่างประเทศเป็นสำคัญเสมือนแนวป้องกัน สุดท้ายไทยยังยึดถือโดยชัดแจ้งต่อ "หลักการเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน" ของรัฐต่างๆ ตามหลักของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติ ประเทศไทยยึดถือนโยบายมาอย่างยาวนาน และต่อเนื่องว่า จะคัดค้านการ "ข่มขู่คุกคามหรือใช้กำลังต่อบูรณภาพแห่งดินแดน" ของรัฐใดรัฐหนึ่งและการใช้กำลังผนวกดินแดนของรัฐอื่น โดยไม่ได้ถูกยั่วยุ
2. อย่างไรก็ดี ประเทศไทยเลือกที่จะ “งดออกเสียงลงคะแนน” ต่อข้อมติ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศและมีสถานการณ์ขึ้นลงอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นการ "ด้อยค่าต่อโอกาสการทูต" เพื่อแก้วิกฤตจะยังผลให้เกิด การเจรจาข้อมติที่สันติและปฏิบัติได้จริงเพื่อแก้ไขความขัดแย้งซึ่งอาจผลักให้ โลกไปสู่ความเสี่ยงของ "สงครามนิวเคลียร์และการพังทลายของเศรษฐกิจโลก"
3. ประเทศไทยมีความห่วงกังวลอย่างแท้จริงต่อการแบ่งแยกขั้วทางการเมือง ที่สูงขึ้นในหลักการระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้เกิดผลในทางลบต่อวิธีการและแนวทาการรยุติสงคราม การประณามนั้นยั่วยุให้เกิดการแข็งขืนไม่ยอมกัน และลดทอนโอกาสของการมีปฏิสัมพันธ์อย่ำงสร้างสรรค์เป็นอย่างยิ่ง
4. ประเทศไทยโศกเศร้ำเสียใจกับการทำลายล้างทางกายภาพ ทางสังคม และทางมนุษยธรรมของยูเครนและความยากลำบากที่รุนแรง ซึ่งประชาชน ชาวยูเครนต้องทนทุกข์ทรมาน ไทยจึงต้องการเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งหลายในโศกนาฏกรรมในยูเครนนี้ จะต้องลดความขัดแย้ง และความรุนแรง ทั้งพยายามเสาะหา “สันติวิธี” เพื่อจัดการกับความไม่ลงรอย
โดยอิงกับความเป็นจริงที่ปฏิบัติได้และข้อห่วงกังวลจากทุกฝ่าย ความมั่นคง ของมนุษย์และสิทธิในการมีชีวิตนั้น เป็นเสาหลักที่สำคัญในปฏิญญาสากลว่า ด้วยสิทธิมนุษยชนและถึงทุกวันนี้สิทธิดังกล่าวได้ถูกพรากจากชาวยูเครน และประชาชนอีกหลายล้านคนทั่วโลก มันจึงเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบ สูงสุดขององค์กรที่ได้รับความเคารพสูงสุดแห่งนี้ในการนำสันติภาพและความปกติสุขของชีวิตกลับมาสู่ชาวยูเครน ไม่ใช่โดยการใช้ความรุนแรงแต่ด้วยกลไกทางการทูตเท่านั้นที่จะสามารถนำสันติสุขกลับมาได้จริงและโดยถาวร
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า สมาชิกยูเอ็น 3 ใน 4 เสียงหรือ143 ประเทศ จากทั้งหมด193 ประเทศได้ร่วมโหวตในวันพุธ (12 ต.ค.) เห็นด้วยกับข้อมติระบุว่า การที่รัสเซียดำเนินการเพื่อแยกดินแดนประเทศอื่น เข้ามาผนวกกับรัสเซียเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย
ในการโหวตครั้งนี้ มีเพียง 4 ประเทศเท่านั้นที่เข้าร่วมรัสเซียในการลงคะแนนเสียงคัดค้านมติดังกล่าว ได้แก่ ซีเรีย นิการากัว เกาหลีเหนือ และเบลารุส ส่วนอีก 35 ประเทศงดเว้นจากออกเสียง สองในนั้นมีอินเดีย และจีน ซึ่งเป็นประเทศหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของรัสเซียด้วย ขณะที่ประเทศอื่นๆ ไม่ได้ลงคะแนน