“ปลัดพาณิชย์สหรัฐ” มองโอกาสลงทุน "ไทย" เติมศักยภาพอุตฯเทคโนโลยีชั้นสูง

“ปลัดพาณิชย์สหรัฐ” มองโอกาสลงทุน "ไทย" เติมศักยภาพอุตฯเทคโนโลยีชั้นสูง

สหรัฐยืนยันไม่ต้องการยุติความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีน แต่ต้องการสร้างห่วงโซ่อุปทานที่คล่องตัวขึ้นและลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาแหล่งผลิตที่เดียวมากเกินไป

“Trade Winds” เวทีพัฒนาธุรกิจการค้าที่มีคณะผู้แทนนำโดยรัฐบาลสหรัฐ เดินทางเข้าร่วมเป็นคณะใหญ่ที่สุด โดยสหรัฐจะจัดการประชุม Trade Winds Trade Mission and Business Development Forum 2023 ระหว่างวันที่ 13 - 15 มี.ค.นี้ ที่กรุงเทพฯ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการค้าให้กับประเทศไทย ในฐานะพันธมิตรที่แข็งแกร่งของสหรัฐ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก

"มาริสซา ลาโก" ปลัดกระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกากล่าวกับกรุงเทพธุรกิจว่า "ปีนี้ความสัมพันธ์ทางการทูตสหรัฐ-ไทยครบ 190 ปี จึงเป็นโอกาสที่เราจะเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้า เร่งการเติบโตของธุรกิจ ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งเพื่อความมั่งคั่งร่วมกัน"

"เมื่อปีที่แล้ว มีโอกาสมาเยือนไทย พร้อมนำคณะผู้แทนของสหรัฐเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของเอเปค ในครั้งนี้ ดิฉันมาพร้อมกับธุรกิจองค์กรอเมริกัน 100 แห่ง หวังว่าจะได้นำเสนอโอกาสอันมากมายที่สหรัฐและไทยจะเติบโตทางเศรษฐกิจ และได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน" ปลัดกระทรวงพาณิชย์สหรัฐ กล่าว

 

“ปลัดพาณิชย์สหรัฐ” มองโอกาสลงทุน \"ไทย\" เติมศักยภาพอุตฯเทคโนโลยีชั้นสูง


 

Trade Winds หนุนการค้าอินโด-แปซิฟิกแกร่ง

เมื่อแนวโน้มการค้าและการลงทุนของโลกส่วนใหญ่เป็นธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม Trade winds จึงจะเข้ามามีบทบาทสนับสนุนภูมิภาคอินโดแปซิฟิก รวมถึงไทยในฐานะประเทศมีศักยภาพในเรื่องนี้ ซึ่งลาโก กล่าวว่า "ธุรกิจอเมริกันตระหนักถึงการเติบโตและก้าวหน้าในภาคธุรกิจนี้ ทำให้เราต้องหาลูกค้า หุ้นส่วน และซัพพลายเออร์ จากภายนอกประเทศ"

“คณะผู้แทนสหรัฐ ส่วนหนึ่งจึงมาจากบริษัทนวัตกรรมชั้นนำในภาคอุตสาหกรรม เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม และการดูแลสุขภาพ ซึ่งยินดีที่จะช่วยหุ้นส่วนในภูมิภาคบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศและพลังงานสะอาดด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย” ปลัดกระทรวงพาณิชย์สหรัฐกล่าว

“สหรัฐ” เล็งลงทุนอุตฯเทคโนโลยีไทย

ปลัดกระทรวงพาณิชย์สหรัฐ มองว่าไทยจะสามารถเติมเต็มความร่วมมือการค้าและการลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงให้กับสหรัฐได้อย่างแน่นอน ยกตัวอย่างบริษัทเทคโนโลยี พลังงาน และยานยนต์ไฟฟ้าของสหรัฐ มีความสนใจอย่างมากที่จะลงทุนในไทย                  

ช่วง6เดือนที่ผ่านมา ผู้ให้บริการข้อมูล บริษัทพลังงานหมุนเวียน ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ และอื่นๆ ได้ประกาศลงทุนในโครงการริเริ่มและขยายการดำเนินงานในไทยเป็นจำนวนหลายพันล้านดอลลาร์

“ปลัดพาณิชย์สหรัฐ” มองโอกาสลงทุน \"ไทย\" เติมศักยภาพอุตฯเทคโนโลยีชั้นสูง

"การเสริมสร้างความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนของเราเป็นหัวใจสำคัญของTrade Winds ซึ่งจะหยิบยกความสำเร็จและโอกาสทางการค้าใหม่ๆ มาหารือกัน รวมถึงในภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสู หวังจะสานต่อการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในภาคอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ยา ดิจิทัล และด้านอื่นๆ ที่บริษัทสหรัฐมองหาโอกาสอยู่" ปลัดกระทรวงพาณิชย์สหรัฐ กล่าว

 

“ปลัดพาณิชย์สหรัฐ” มองโอกาสลงทุน \"ไทย\" เติมศักยภาพอุตฯเทคโนโลยีชั้นสูง

ยืนยันสหรัฐไม่ต้องการยุติสัมพันธ์กับจีน

สหรัฐเป็นประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยีของโลก ขณะที่จีนก็กำลังเร่งพัฒนาศักยภาพของตนเองซึ่งมีชั้นเชิงการค้าระหว่างกัน โดยเฉพาะเรื่องไมโครชิป และเซมิคอนดักเตอร์ ทำให้หลายฝ่ายกังวลแนวโน้มการเกิด Tech war หรือสงครามการค้าเทคโนโลยี ซึ่งปลัดกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดนเคยกล่าวว่า สหรัฐและจีนต้องจัดการความสัมพันธ์ด้านการแข่งขันโดยรับผิดชอบและเปิดช่องทางการสื่อสารให้กว้างอยู่เสมอ 

"นั่นคือ เรามิได้ต้องการยุติความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีน แต่ต้องการสร้างห่วงโซ่อุปทานที่คล่องตัวขึ้น ซึ่งจะตอบสนองความท้าทายที่ปรากฏชัดระหว่างเกิดโรคระบาด ภาวะขาดแคลนของห่วงโซ่อุปทานในภาคอุตสาหกรรมสำคัญในช่วงนี้ชี้ชัดถึงความเสี่ยงจากการรวมกำลังการผลิตไปยังพื้นที่เดียวมากเกินไป" ลาโก กล่าว

 

“ปลัดพาณิชย์สหรัฐ” มองโอกาสลงทุน \"ไทย\" เติมศักยภาพอุตฯเทคโนโลยีชั้นสูง

ความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทานจึงเป็นประเด็นสำคัญสูงสุดอย่างหนึ่งในความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีสหรัฐ-ไทย รัฐบาลและภาคเอกชนสหรัฐ ยังเชื่อว่าทุกฝ่ายสามารถร่วมกันสร้างความมั่งคั่งให้กับทั้งสหรัฐ และไทยได้โดยขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี 

เมื่อปีที่แล้ว รัฐมนตรีต่างประเทศ"แอนโทนี บลิงเคน" และ"ดอน ปรมัตถ์วินัย" รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศได้ลงนามในแถลงการณ์ว่าด้วยความเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยและสหรัฐ ซึ่งระบุถึงการที่รัฐบาลสหรัฐ จะทำงานกับไทยเพื่อสนับสนุนนวัตกรรม สร้างศักยภาพผ่านการถ่ายโอนเทคโนโลยี เสริมสร้างความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทานเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการค้าหยุดชะงักในกลุ่มผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ตลอดจนส่งเสริมการค้าและการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล

IPEF หุ้นส่วนยุทธ์ศาสตร์อินโด-แปซิฟิก

ภายใต้กรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิกเพื่อความมั่งคั่ง (IPEF)สหรัฐทำงานกับไทยและอีก12 ประเทศหุ้นส่วน เพื่อยกระดับการค้าการลงทุน ตลอดจนมอบผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรมให้แก่ภาคีเช่น IPEF Upskilling Initiative ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนที่เปิดโอกาสในการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ รวม 7 ล้านรายการ เพื่อสตรีและเด็กผู้หญิง ตลอดระยะ 10 ปีในไทยและเขตเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่เกิดใหม่ และมีรายได้ปานกลาง 

 

“ปลัดพาณิชย์สหรัฐ” มองโอกาสลงทุน \"ไทย\" เติมศักยภาพอุตฯเทคโนโลยีชั้นสูง

นอกจากนี้ ยังรวมถึงการฝึกอบรมด้านดิจิทัล ข้อมูล คลาวด์ และความปลอดภัยทางไซเบอร์ และเร่งการเติบโตทางธุรกิจที่เท่าเทียม

ปลัดกระทรวงพาณิชย์สหรัฐ กล่าวในตอนท้ายว่า รัฐบาลสหรัฐ และภาคเอกชนยืนยันจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐและไทยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยส่งเสริมไทยให้ยืนหยัดเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคในอุตสาหกรรมต่างๆ การจัด Trade Winds ในกรุงเทพฯ จะช่วยขับเคลื่อน และเป็นส่วนหนึ่งความพยายามที่หลากหลายและครอบคลุมทุกด้าน เพื่อกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับไทย