‘เวียดนาม’ ฮับซัพพลายเชนโลก หลังธุรกิจแห่ย้ายฐานผลิตจากจีน

‘เวียดนาม’ ฮับซัพพลายเชนโลก หลังธุรกิจแห่ย้ายฐานผลิตจากจีน

นักการทูตยุโรปคนหนึ่งในเวียดนาม บอกว่า ประเทศนี้กำลังเดินมาถึงทางแยกที่รัฐบาลเวียดนามต้องเลือกปรับปรุงระบบราชการให้ดำเนินงานง่ายขึ้น สร้างกรอบการกำกับดูแลที่โปร่งใสมากขึ้น และกำจัดกฎระเบียบเคร่งครัดที่ไม่จำเป็นออกไป

พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมดีปซีทู (Deep C Two) ทางภาคเหนือของเวียดนาม เป็นที่ที่นักพัฒนาวางแผนดำเนินการพัฒนาพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงฐานผลิตจากทะเลจีนใต้ให้มาลงทุนมากขึ้น

ซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุดบางแห่ง ที่ทำงานร่วมกับบริษัทเทคโนโลยียักษ์นำของโลกอย่าง แอ๊ปเปิ้ล ต่างกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ดีปซีทู ซึ่งใกล้กับไฮฟอง ท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดทางภาคเหนือของเวียดนาม

ขณะที่ความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างรัฐบาลปักกิ่งกับรัฐบาลวอชิงตัน และความเสี่ยงของธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ในจีน ล้วนผลักดันให้ผู้ผลิตย้ายฐานออกจากจีนมากขึ้น ซึ่งการย้ายฐานผลิตอย่างรวดเร็วไปยังประเทศอื่น ๆ เช่น เวียดนาม เป็นส่วนหนึ่งของการใช้กลยุทธ์ China plus one  ที่จะปรับเปลี่ยนโฉมหน้าซัพพลายเชนโลก

เมื่อการแข่งขันระหว่างจีนและสหรัฐในด้านเทคโนโลยีและความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น หลายบริษัทจึงกังวลเกี่ยวกับการผลิตและการย้ายฐานผลิตไปประเทศอื่น  ด้วยเหตุนี้ บริษัทหลายแห่งจึงเพิ่มการผลิตในจีน ซึ่งยังคงเป็นประเทศศูนย์กลางการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก ควบคู่ไปกับการขยายฐานผลิตไปยังประเทศอื่น ๆ ด้วย

“โคเอน โซเนนส์” ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาดของดีปซี ทู บอกว่า “บริษัทซัพพลายเออร์สัญชาติเกาหลีใต้, ไต้หวัน, และจีน อาจมีการย้ายฐานอย่างต่อเนื่อง หรืออย่างน้อยก็ต้องย้ายฐานผลิตจากจีนแผ่นดินใหญ่ไปยังประเทศอื่น ๆ ต่อไป”

อย่างไรก็ตาม เทรนด์ย้ายฐานผลิตของซัพพลายเออร์ แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของการย้ายทรัพยากรไปประเทศอื่น ๆ อย่างเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศที่มีปัญหาเรื่องความล่าช้าของระบบราชการและโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่ดีเต็ม100%  รวมถึงโครงข่ายไฟฟ้าที่ค่อนข้างจำกัด

แม้การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม โดยเฉพาะการส่งออก จะช่วยประชาชนหลายล้านคนให้หลุดพ้นจากความยากจนตลอด 30 ปีที่ผ่านมาได้ และประเทศก็มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมซัพพลายเชนด้านเทคโนโลยี ซึ่งแอ๊ปเปิ้ล ผลิตแอร์พ็อดหลายล้านเครื่องในเวียดนามแต่นักการทูตยุโรปคนหนึ่งในเวียดนาม บอกว่า ประเทศนี้กำลังเดินมาถึงทางแยกที่รัฐบาลเวียดนามต้องเลือกปรับปรุงระบบราชการให้ดำเนินงานง่ายขึ้น สร้างกรอบการกำกับดูแลที่โปร่งใสมากขึ้น และกำจัดกฎระเบียบเคร่งครัดที่ไม่จำเป็นออกไป

“เวียดนามมีแนวโน้มการลงทุนที่แข็งแกร่ง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ เวียดนามมีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมแล้วหรือไม่" นักการทูตชาวยุโรป ตั้งคำถาม

นักลงทุนใหม่ ๆ ต่างพบว่า การทำงานของระบบราชการที่เชื่องช้า บั่นทอนระบบบริหารบ้านเมือง ที่ขับเคลื่อนด้วยการลงมติเอกฉันท์และการกระจายอำนาจ เนื่องจากในการอนุมติเรื่องต่าง ๆ ต้องผ่านการเซ็นรับรองหลายฉบับ

หลายบริษัทที่ดำเนินกิจการในเวียดนาม บอกว่า การขยายธุรกิจในประเทศนี้ทำได้ยาก และการปราบปรามคอร์รัปชันครั้งใหญ่ของเวียดนามก็มีความล่าช้าอย่างมากด้วย

เจ้าหน้าที่รัฐบาลจากชาติตะวันตกแห่งหนึ่ง กล่าวว่า “รัฐบาลเวียดนามกลายเป็นอัมพาต เพราะมีความกังวลด้านการจัดซื้อจัดจ้าง ส่วนเจ้าหน้าที่รัฐกลัวทำผิดพลาด แล้วติดคุกในข้อหาทุจริต หรือใช้ทรัพยากรสาธารณะในทางที่ผิด”

แต่กระทรวงการคลังของเวียดนาม กลับกล่าวว่า ผลกระทบของการปราบปรามธุรกิจมีน้อยมาก และเป้าหมายของการปราบปรามการทุจริตคือ ทำให้เศรษฐกิจแข็งแกร่งและโปร่งใส เพื่อปกป้องสิทธิของประชาชนและองค์กร

“ฌอง-ฌากส์ บูเฟลต์” รองประธานหอการค้ายุโรปในเวียดนาม แย้งว่า “กระบวนการปราบปรามที่ยาวนานและซับซ้อน เป็นปัญหาอย่างหนึ่ง เพราะประเทศไม่มีหน่วยงานกลางที่ดูแลด้านการลงทุน ทำให้การอนุมัติทุกอย่าง ตั้งแต่ใบอนุญาตประกอบธุรกิจไปจนถึงการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ดำเนินการอย่างเชื่องช้า”

แม้เวียดนามจะพัฒนาในหลายด้าน แต่อุตสาหกรรมในประเทศยังคงขึ้นอยู่กับศูนย์กลางการผลิตรอบเขตเศรษฐกิจปากแม่น้ำเพิร์ล ซึ่งฝ่ายการตลาดของดีปซีในไฮฟอง บอกว่า พื้นที่ดังกล่าวใช้เวลาเดินทาง 12 ชั่วโมง

“เบรนลี ชุนรอง” นักเศรษฐศาสตร์ จากเมย์แบงก์ในสิงคโปร์ เตือนว่า ด้วยระยะห่างเท่านี้ ช่วยให้ขนส่งวัสดุได้ง่าย แต่ทำให้ซัพพลายเชนของเวียดนามมีความเสี่ยงมากขึ้น

“จะเกิดอะไรขึ้น ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงใด ๆเกิดขึ้นแล้วส่งผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าจากจีนของเวียดนาม” ชุนรอง เตือนให้ฉุกคิด

“ไมเคิล โกคาลารี” หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ จากวีนา แคปิตอลในนครโฮจิมินห์ บอกว่า “เขตเศรษฐกิจปากแม่น้ำเพิร์ลคือจุดอ่อนของเรา แม้ประเทศเรามีซัพพลายเชนมาลงทุนมากมาย ทั้งซัมซุง และแอลจี ต่างก็มีซัพพลายอยู่ที่นี่”

วิธีแก้ไขอย่างหนึ่งคือ นักลงทุนรายใหญ่ต้องมีบทบาทในการพัฒนาระบบนิเวศซัพพลายเออร์ทั้งหมด เช่น บริษัทซัมซุง นักลงทุนรายใหญ่ ที่มีโรงงาน 6 แห่งในเวียดนาม รวมถึงมีศูนย์วิจัยและพัฒนา  (อาร์แอนด์ดี) กล่าวไว้ตั้งแต่ปี 2558 ว่า บริษัทได้ร่วมทำงานกับธุรกิจเวียดนามราว 400 แห่ง เพื่อช่วยเหลือธุรกิจเหล่านั้นพัฒนาคุณภาพสินค้า

แนวทางแก้ไขอีกทางคือ ให้บริษัทต่าง ๆ ย้านฐานไปอยู่ในพื้นที่ดีปซีเช่น บริษัทพยองฮวา ออโตโมทีฟ ย้ายฐานผลิตไปยังพื้นที่ไฮฟองและพื้นที่อื่น ๆ อีก 3 แห่งเมื่อปี 2562

ไม่ว่าจะเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับแรงงาน โครงสร้างพื้นฐานหรือปัญหาอื่น ๆ ในเวียดนามมากมาย แต่มีน้อยคนนักที่คาดว่า ความนิยมของกลยุทธ์ China plus one อาจจบลงเร็ว ๆ นี้

โซเนนส์ จากดีปซีทู ที่กำลังพิจารณาขยายพื้นที่ต่อไป กล่าวทิ้งท้ายว่า “เมื่อประตูเปิด นักลงทุนจะเข้ามา กลยุทธ์ China plus oneจะไม่มีวันสิ้นสุด”