คุ้มไหม ‘แฮร์ริส’ ประชุมสุดยอดอาเซียน แทน ‘ไบเดน’ เมื่อจีนยังกุมอิทธิพลไว้
รองประธานาธิบดี คามาลา แฮร์ริส ใช้เวลาบินจากสหรัฐมากกว่าหนึ่งวัน แวะเติมน้ำมันสองครั้ง ไปให้ถึงอินโดนีเซีย เพื่อร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน - สหรัฐ ปี 2566
เมื่อรองประธานาธิบดีแฮร์ริส มาถึงอินโดนีเซีย เธอมีเวลากล่าวต่อสาธารณะน้อยกว่า 8 นาที ในสองช่วง ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน - สหรัฐ
การเดินทางที่แสนไกลไปยังอินโดนีเซีย รองประธานาธิบดีสหรัฐ มองเห็นโอกาสกำหนดอนาคตนโยบายต่างประเทศต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รองประธานาธิบดี แฮร์ริส กล่าวกับเอพีว่า วอชิงตันจะต้องให้ความสนใจกับภูมิภาคนี้ไปอีก 10 , 20 , 30 ปีข้างหน้า และสิ่งที่สหรัฐทำอยู่ตอนนี้ก็เป็นประโยชน์ต่อทุกประเทศในภูมิภาค
นี่เป็นเดินทางครั้งที่สามของแฮร์ริส ไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง และเธอจะเดินทางกลับวอชิงตัน ดี.ซี.ในค่ำวันพฤหัสบดี (7 ก.ย.) โดยที่ผ่านมาเธอยังได้เดินทางไปยังประเทศต่างๆ อย่างสิงคโปร์ เวียดนาม และฟิลิปปินส์ เพื่อกระชับความสัมพันธ์และเครือข่ายพันธมิตรกับสหรัฐไว้ในภูมิภาคนี้
นักวิเคราะห์บางคนมองว่า จีนยังคงรักษาความได้เปรียบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยรายงานของ สถาบัน Lowy Institute ของออสเตรเลียชี้ว่า แท้ที่จริงแล้ว จีนเพิ่งมีอิทธิพลในภูมิภาคนี้ช่วงเวลาไม่กี่ปี
รองประธานาธิบดีแฮร์ริส เป็นผู้แทนกล่าวคำปราศรัยของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ต่อที่ประชุมผู้นำอาเซียนว่า “ชาวอเมริกันมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของอินโดนีเซีย - แปซิฟิก” และ “เราได้แบ่งปันความผูกพันทางประวัติศาสตร์ร่วมกับผู้คนและประเทศสมาชิกอาเซียน”
“เมื่อพิจารณาในบริบทการแข่งขัน ฉันยังไม่เห็นความสามัคคีในขณะนี้” แฮร์ริส กล่าว
ฟิล กอร์ดอน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของรองประธานาธิบดีแฮร์ริส เผยว่า ในระหว่างทริปนี้ แฮร์ริสวิพากษ์วิจารณ์จีนซ้ำแล้วซ้ำเล่าต่อการรุกรานทะเลจีนใต้ ซึ่งเหมือนนักเลงหัวไม้
อย่างไรก็ตาม การเดินทางไปร่วมเวทีระหว่างประเทศแทนไบเดน เป็นบทบาทที่แฮร์ริสเล่นบ่อยๆ อย่างการประชุมเอเปค 2022 ที่ประเทศไทย เพราะติดร่วมงานแต่งของหลานสาว แต่การที่แฮร์ริสปรากฏตัวในภูมิภาคนี้ ก็ตอกย้ำภาพมหาอำนาจสหรัฐที่ให้ความสำคัญกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หนึ่งในภูมิรัฐศาสตร์ที่สปอร์ตไลท์ฉายอยู่ในตอนนี้
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์