'ชนชั้นกลางจีน' เปราะบางอ่อนไหวต่อเศรษฐกิจ ตัวแปรสำคัญของความมั่งคั่ง
ในประเทศจีน "ชนชั้นกลาง"กลุ่มเปราะบางที่อ่อนไหวต่อเศรษฐกิจช็อก มีจำนวนมหาศาลถึง 400 ล้านคน นั้นเป็นตัวแปรสำคัญของ"ความมั่งคั่ง" ขณะที่เศรษฐกิจย่ำแย่ก็ทำให้คนกลุ่มนี้ต้อง "ทํางานหนักขึ้น" หรือจำนวนลดลง สวนทางเป้าหมายที่จีนตั้งไว้ หากไม่มีการกระตุ้นเศรษฐกิจ
Keypoint:
- ชนชั้นกลางที่เปราะบางของจีนต้อง ’ทํางานหนักขึ้น‘ เพื่อรักษาความมั่งคั่ง และรัฐบาลต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อรักษาสเถียรภาพทางเศรษฐกิจ
- จำนวนชนชั้นกลาง 400 ล้านคน อาจหดตัวหากไม่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง
- รัฐบาลมองว่ากลุ่มนี้มีความสําคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางสังคม
กลุ่มชนชั้นกลางใน “ประเทศจีน” ต้องเผชิญเรื่องราวแบบเดียวกันที่กันขึ้นในปี 2566-2567 ที่เศรษฐกิจอยู่ระหว่างการฟื้นตัวหลังการแพร่ระบาดโควิด-19 ซ้ำด้วยการล่มสลายของตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้นที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง และกระทบต่อ “ความมั่งคั่ง”
ปัญหานี้กําลังเป็นอันตรายต่อกลุ่มชนชั้นกลาง ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และนักเศรษฐศาสตร์ได้เตือนว่ากลุ่มนี้มีจำนวนถึง 400 ล้านคนนั้น จะมีความมั่งคั่งหดตัวหากไม่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง
ถ้าหากกลุ่มชนชั้นกลางยังเจอกับปัญหาเศรษฐกิจย่ำแย่ ซึ่งทำให้ประชากรกลุ่มนี้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ท้ายที่สุดจะเป็นสิ่งที่คุกคามความพยายามของปักกิ่งในการเพิ่มขนาดของกลุ่มรายได้ชนชั้นกลางของจีน ที่ตั้งเป้าว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการผลักประเทศ
นิยามของ "ชนชั้นกลาง"
โดยสํานักงานสถิติแห่งชาติจีนจํากัดความของ "ชนชั้นกลาง" ว่าเป็นครัวเรือนสามคนที่มีรายได้ระหว่าง 100,000 หยวน (ราว 14,000 ดอลลาร์) ถึง 500,000 หยวนต่อปี
บทบรรณาธิการของ Economic Daily เขียนเตือนรัฐบาลเมื่อเดือน ม.ค. โดยระบุถึงความเสี่ยงของกลุ่มรายได้ปานกลางที่อาจจะกำลังลดลง และเรียกร้องให้มี ”ความจําเป็นและเร่งด่วน“ เพื่อส่งเสริมการเติบโต และได้ยกให้กลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางมีความสําคัญอย่างมากต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางสังคม และเป็นความแข็งแรงที่ใช้ในการต่อต้านความท้าทายจากนอกประเทศ
จีนกล่าวว่ามีผู้มีรายได้ปานกลางประมาณ 400 ล้านคน หรือ 140 ล้านครอบครัว คิดเป็นประมาณ 30% ของประชากรทั้งหมด 1.4 พันล้านคน
กลุ่มเปราะบางของเศรษฐกิจจีน
มีกลุ่มส่วนใหญ่เพิ่งผ่านเกณฑ์ขึ้นมาเป็นประชากรรายได้ปานกลาง ดั้งนั้นไม่แปลกที่กลุ่มนี้เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ “เปราะบาง” ที่สุดต่อภาวะเศรษฐกิจช็อก เช่น การระบาดใหญ่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อรายได้และงาน
เพราะว่าคนกลุ่มนี้ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่หนักอึ้ง ทั้ง ค่าเทอม ค่าพยาบาล และการดูแลสมาชิกในครอบครัวผู้สูงอายุ ในขณะที่พยายามเพิ่มเงินออม ทำให้คนกลุ่มนี้ไม่กล้าจบจ่ายใช้สอย
หลี่ (Li) ผู้จัดการฝ่ายขาย อายุ 40 ปี เผยว่าตนเอง ถูกเลิกจ้างเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนในเพราะบริษัทเปลี่ยนรูปแบบแผนกการตลาด ซึ่งไม่ง่ายเลยที่จะต้องหางานใหม่ในฐานเงินเดือนปัจจุบันและเศรษฐกิจที่อ่อนไหวแบบนี้ เขาใช้รายได้ส่วนใหญ่เพื่อจ่ายค่าจำนอง สินเชื่อรถยนต์และสินเชื่อส่วนบุคคลสํของครอบครัวที่มีกัน 4 คน
ตลาดหุ้นจีน-อสังหาฯกอดคอลงเหว
ขณะที่ดัชนีหุ้นจีน CSI 300 หลังจากหุ้นร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปีในการซื้อขายเมื่อวันศุกร์(2ก.พ.)ที่ผ่านมา มีผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 2.79 % ในสัปดาห์ที่ 2 ของปี 2567 ลดลงจาก 4.41% เมื่อเกือบสองปีก่อน
ขณะที่ยอดขายอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีนหลายพื้นที่ลดลง 8.5% ในปี 2566 เหลือ 112 ล้านตารางเมตร (1.2 พันล้านตารางฟุต) ซึ่งแตะระดับต่ำสุดในรอบทศวรรษ รวมทั้งมูลค่าของยอดขายยังดิ่งลงสู่ระดับต่ําสุดนับตั้งแต่ปี 2559 เนื่องจากวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ที่ยืดเยื้อ ยังคงเป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
ความมั่งคั่งร่วงรับเศรษฐกิจย่ำแย่
วินนี่ หลิว หนึ่งในประชาชนจีนที่เลือกเสริมความมั่งคั่งของตนด้วยการลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์ในปี 2558 ซึ่งถูกมองว่าเป็นวิธีการสะสมความมั่งคั่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตอนนั้น แต่เขาก็ได้แต่หวังว่าเศรษฐกิจจะไม่ย่ำแย่ครั้งใหญ่ในปีนี้
ทรัพย์สินของเขาหดตัวลงมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือการลงทุนทางการเงินต่างๆ อย่างอสังหาริมทรัพย์ที่เคยมีราคาสูงสุดที่ 6.3 ล้านหยวน หรือราว 882,000 ดอลลาร์ ในปี 2564 แต่ลดลงเหลือน้อยกว่า 4 ล้านหยวนในปี 2566 ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ตอนนี้หลายคนเริ่มกลายเป็นผู้ถือสินทรัพย์ติดลบ
ดัชนีชี้วัดความมั่งคั่งชะลอตัว
วู เชียวโป(Wu Xiaobo) นักวารสารศาสตร์ด้านการเงิน ทำการสํารวจกลุ่มชนชั้นกลางที่มีอายุระหว่าง 31 ถึง 40 ปี ระบุว่า การเติบโตของความมั่งคั่งชะลอตัวลงในปีที่แล้ว ซึ่งนําไปสู่ความไม่อยากจับจ่ายใช้สอย
11.4% ของครอบครัวชนชั้นกลาง มีความมั่งคั่งลดลงมากกว่า30% ในปีที่แล้ว และมี 28.9% ที่ความมั่งคั่งลดลงระหว่าง 10% - 30%
มีเพียง 24.8% เท่านั้นที่กล่าวว่าความมั่งคั่งของพวกเขาเพิ่มขึ้นในปี 2566 เทียบกับ 29 % เมื่อปี 2565 และ 55% ในปี 2564
อ้างอิง SCMP