จีนส่อพลาดเป้า GDP หลังอสังหาฯ ทรุดต่อ กูรูกระทุ้งเร่งทุ่มงบกู้วิกฤติ

จีนส่อพลาดเป้า GDP หลังอสังหาฯ ทรุดต่อ กูรูกระทุ้งเร่งทุ่มงบกู้วิกฤติ

GDP เสี่ยงต่ำกว่าเป้า 5% นักวิเคราะห์เตือนหากไม่เร่งแก้ไข วิกฤติอาจลากยาวถึง 5 ปี ด้านรัฐบาลปฏิเสธข้อเสนอ IMF มูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ ท่ามกลางความกังวลเรื่องหนี้สาธารณะพุ่ง

กลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ 15 คนที่ตอบแบบสอบถามของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก แสดงความคิดเห็นในทำนองเดียวกันว่า มาตรการบรรเทาวิกฤติในตลาดที่อยู่อาศัยของรัฐบาลจีนมีแนวโน้มทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) กลับมาสู่การขยายตัวในกรอบ 5% ได้ โดยสมมุติฐานข้างต้นพิจารณาบนพื้นฐานว่าผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดได้รับความช่วยเหลืออย่างเต็มประสิทธิภาพจากภาครัฐเพื่อรับมือกับวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ที่คาดว่าจะยืดเยื้อไปอีกนานถึง 5 ปี

ผลการสำรวจพบว่า การดำเนินการตามแผนที่นำโดยรัฐบาลอย่างเคร่งครัดมากขึ้นเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ โดยบลูมเบิร์กทำแบบสำรวจนี้หลังการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจเดือนส.ค. ซึ่งเป็นข้อมูลเศรษฐกิจที่ทำให้บรรดานักเศรษฐศาสตร์หลายสำนักตั้งคำถามว่าจีนจะบรรลุการเติบโตตามเป้าของรัฐบาลกลางได้หรือไม่

"จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานทั้งหมดเพื่อหยุดวงจรการเกิดภาวะเงินฝืด" เรย์มอนด์ เหยียง หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สำหรับจีนที่ธนาคาร Australia & New Zealand Banking Group Ltd. กล่าว พร้อมเสริมว่า "จำเป็นต้องมีการผ่อนคลายนโยบายหลายอย่างเพื่อหลีกเลี่ยงการหดตัวของจีดีพีที่เป็นตัวเงิน (Nominal GDP)”

จีนส่อพลาดเป้า GDP หลังอสังหาฯ ทรุดต่อ กูรูกระทุ้งเร่งทุ่มงบกู้วิกฤติ เศรษฐกิจจีนต่อพลาดเป้าจีดีพี 5% ของรัฐบาล

ภาวะซบเซาของอสังหาริมทรัพย์ที่ยืดเยื้อมาหลายปีทำให้ความมั่งคั่งของครัวเรือนสูญหายไปประมาณ 18 ล้านล้านดอลลาร์ และยังเป็นความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดที่เศรษฐกิจจีน ภาวะดังกล่าวทำให้สูญเสียงานนับล้านตำแหน่ง ทำลายความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์อย่างเช่นเหล็กลดลง

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่รัฐบาลจีนแสดงถึงความพยายามครั้งใหญ่ที่สุดในการฟื้นฟูตลาดอสังหาริมทรัพย์เมื่อสี่เดือนที่แล้ว ความคืบหน้าของแผนดังกล่าวยังเป็นไปอย่างช้าๆ หนึ่งในนั้นคือโครงการจัดสรรเงินทุน 300 พันล้านหยวน (42.5 พันล้านดอลลาร์) จากธนาคารกลางเพื่อช่วยให้บริษัทที่รัฐบาลสนับสนุนซื้อบ้านที่ขายไม่ออกจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

โครงการดังกล่าวออกแบบมาเพื่อลดปริมาณสินค้าคงคลัง แต่ก็ยังห่างไกลจากเม็ดเงิน 1 ถึง 5 ล้านล้านหยวนที่นักวิเคราะห์บางท่านมองว่า จำเป็นต้องใช้เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเด็ดขาด และเนื่องจากแผนดังกล่าวไม่มีความน่าสนใจเชิงเม็ดเงินในมุมมองของรัฐบาลท้องถิ่นจึงมีเพียง 29 เมืองเท่านั้นที่ตอบรับการเรียกร้องให้ช่วยซื้อบ้านที่เกินความต้องการ ซึ่งเป็นเพียงส่วนน้อยจากมากกว่า 200 เมืองที่รัฐบาลกลางเร่งให้เข้าร่วม

ทั้งนี้ รัฐบาลจีนได้ปฏิเสธข้อเสนอของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มูลค่าเกือบ 1 ล้านล้านดอลลาร์ที่ว่าให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เงินทุนจากรัฐบาลกลางเพื่อดำเนินการก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ในวงกว้างเนื่องจากรัฐบาลจีนมองว่ามีความเสี่ยงและมีค่าใช้จ่ายสูงเกินไป

บทวิเคราะห์ของบลูมเบิร์ก เผยว่า ทางการจีนไม่เต็มใจที่จะให้การสนับสนุนเพิ่มเติมกับภาคอสังหาริมทรัพย์ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะต้องการของปักกิ่งในการเครื่องจักรทางเศรษฐกิจจากอสังหาริมทรัพย์ไปสู่ “เทคโนโลยีและการผลิต” โดยรัฐบาลได้เร่งรัดให้ธนาคารต่างๆ ปล่อยกู้ให้แก่บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และโครงการที่อยู่อาศัยที่หยุดชะงัก แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นให้เงินทุนโดยตรง

เป้าหมายที่ไม่บรรลุ

หากปราศจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ นักเศรษฐศาสตร์แสดงความคิดเห็นในโพลว่า เศรษฐกิจจีนจะขยายตัว 4.8% ในปีนี้ในแง่ของการเติบโตที่แท้จริง ซึ่งต่ำที่สุดในบรรดาเป้าหมายของรัฐบาลกลาง อย่างไรก็ตาม การเติบโตแบบนามธรรม (Nominal Growth) ซึ่งคำนึงถึงผลกระทบของเงินเฟ้อที่ลดลงมีแนวโน้มที่จะต่ำกว่ามากที่ 4.25%

ปัจจุบันทางการจีนอยู่ในช่วงพิจารณาแนวทางที่เป็นไปได้เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับตลาดอสังหาริมทรัพย์ เช่นการอนุญาตให้รัฐบาลท้องถิ่นซื้อที่อยู่อาศัยซึ่งขายไม่ออกด้วยเงินทุนที่ได้จากการออกพันธบัตรพิเศษ การลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่คงค้าง และการยกเลิกข้อจำกัดการซื้อบ้านที่เหลืออยู่บางส่วนสำหรับผู้บริโภค

ขณะที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเริ่มระมัดระวังมากขึ้นเนื่องจากคาดว่าราคาอสังหาริมทรัพย์จะลดลงต่อเนื่อง ในขณะที่ผลตอบแทนที่คาดการณ์จากการเปลี่ยนสินค้าคงคลังเป็นที่อยู่อาศัยให้เช่าราคาย่อมเยานั้นต่ำกว่าต้นทุนการลงทุนเสียอีก

 

A graph of a graph of a companyDescription automatically generated with medium confidence

 

จากสัญญาณที่แสดงว่าการทยอยใช้แผนกู้วิกฤติของรัฐบาลอย่างช้าๆ เริ่มล้มเหลวในการยับยั้งภาวะถดถอยครั้งนี้ ข้อมูลในเดือนที่แล้วเทียบกับเดือนก.ค. พบว่า ราคาบ้านใหม่ในจีนลดลง 0.73% ซึ่งเป็นการลดลงที่มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2014

ส่วนการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ก็ลดลงในอัตราสองหลัก ในขณะที่การบริโภคอ่อนแอลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ และการชะลอตัวของการผลิตเกิดขึ้นยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2021

เอริกา เทย์ นักเศรษฐศาสตร์จาก Maybank Investment Banking Group กล่าวทิ้งท้ายว่า "ผู้กำหนดนโยบายเลือกที่จะดำเนินการตามแนวทางเดิมและทยอยใช้มาตรการสนับสนุนทางนโยบายอย่างต่อเนื่อง" อย่างไรก็ตามตอนนี้ “ถึงเวลาแล้วสำหรับการกระตุ้นทางการคลังอย่างเข้มข้นและเร่งด่วน”

อ้างอิง: Bloomberg