สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชนยินดีไทยนั่งคณะมนตรีสิทธิมนุษชนยูเอ็น

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชนยินดีไทยนั่งคณะมนตรีสิทธิมนุษชนยูเอ็น

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) และองค์กรพันธมิตรออกแถลงการณ์แสดงความยินดีที่ประเทศไทยได้รับเลือกเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เรียกร้องใช้กลไกพิเศษติดตามการละเมิดสิทธิฯ นำสันติภาพประชาธิปไตยกลับสู่เมียนมาร์

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) ออกแถลงการณ์ในวันที่ 11 ต.ค. ความว่า  ตามที่ประเทศไทยได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ วาระปี พ.ศ. 2568-2570 (United Nations Human Rights Council: UNHRC) จากการลงคะแนนเลือกตั้งในที่ ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2567 นั้น 

 สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) และองค์กรสิทธิมนุษยชนตามที่แนบข้างท้ายนี้ ขอแสดงความ ปรารถนาดีและชื่นชมที่ประเทศไทยได้มีส่วนร่วมในเวทีสิทธิมนุษยชนระดับโลก อันแสดงให้เห็นว่าประเทศสมาชิก คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งประชาชาติเชื่อมั่นว่าประเทศไทยมีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและค่านิยมประชาธิปไตย 

พร้อมกันนี้ สสส.และองค์กรแนบท้าย ขอเสนอความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ สมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนให้สมเกียรติตามที่ได้รับ ดังต่อไปนี้ 

 1. ให้รัฐบาลใช้กลไกส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนหลัก ตามวัตถุประสงค์ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะกลไกพิเศษ (Special Procedure) ติดตามและรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งในลักษณะ สถานการณ์รายประเทศ รายประเด็นสิทธิมนุษยชน กระบวนการรับและพิจารณาข้อร้องเรียนซึ่งเป็นกลไกในการ รับและพิจารณาข้อรองเรียนแบบลับเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รุนแรง ต่อเนื่อง และเป็นระบบ และ กระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (UPR) ที ่ให้สมาชิกสหประชาชาติ ทบทวนสถานการณ์สิทธิ มนุษยชนระหว่างกัน ทั้งนี้โดยให้ความสำคัญต่อสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง สิทธิของผู้ลี้ภัย แรงงานข้ามชาติ และประเด็นแหลมคมอื่นๆ 

 2. ให้รัฐบาลยืนยันที่จะให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศ การสร้าง ความตระหนักรู ้เรื่องสิทธิมนุษยชนเพื่อสร้างความเข้าใจและส่งเสริมศักยภาพ (capacity building) ในการ ดำเนินการตามมาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชนของไทย การเคารพเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพ ทางวิชาการ ผลักดันการขับเคลื่อนหลักการชี้แนะเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) และมาตรฐานระหว่างประเทศอื่นๆ ที่ส่งเสริมการ ดำเนินการที่เคารพสิทธิมนุษยชนรวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และจะทำงานร่วมกับนานาประเทศในการ ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการนำประชาธิปไตยและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและ สันติภาพกลับสู่เมียนมาร์และประเทศสมาชิกอาเซียน ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ให้คำมั่นในที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44-45 และการประชุมที่เกี่ยวข้องที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 

 สสส. และองค์กรแนบท้าย หวังว่าข้อคิดเห็นนี้จะได้รับการพิจารณาดำเนินการในโอกาสแรกที่รัฐบาล สามารถดำเนินการได้ เพื่อร่วมกับภาคประชาชนในการส่งเสริมและเคารพสิทธิมนุษยชนอันเป็นรากฐานสำคัญของ ระบอบประชาธิปไตยและสันติภาพในประเทศ ในภูมิภาคอาเซียนและโลกสืบไป

ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2567

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF)

มูลนิธิส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Pro-rights)