‘ฟีฟ่า’ ชี้ ‘ซาอุฯ’ เสนอเป็นเจ้าภาพจัดฟุตบอลโลก เสี่ยงละเมิดสิทธิฯ ปานกลาง
“ฟีฟ่า” ประเมิน “ซาอุดีอาระเบีย” เสนอเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกปี 2034 เป็นความเสี่ยงด้าน “สิทธิมนุษยชน” ระดับปานกลาง ชี้การปฏิรูปต้อง “ใช้เวลาและพยายามอย่างมาก”
รายงานของฟีฟ่าถูกเผยแพร่ในวันเสาร์ (30 พ.ย.) ก่อนการประชุมใหญ่ฟีฟ่าจะมีขึ้นในวันที่ 11 ธันวาคม นี้ ซึ่งจะมีการโหวตลงคะแนนเสียงเพื่อแต่งตั้งเจ้าภาพฟุตบอลโลก ปี 2030 และปี 2034 อย่างเป็นทางการ
ซาอุดีอาระเบีย เป็นเพียงประเทศเดียวที่เสนอชื่อเข้าชิงเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2034 ขณะที่การแข่งขันฟุตบอลโลก 2030 จะมีขึ้นในอีก 7 ปีข้างหน้า ซึ่งจะเป็นการจัดการแข่งขันครบรอบ 100 ปี (ฟุตบอลโลกครั้งแรกจัดขึ้นที่ อุรุกวัย ปี 1930) สำหรับเจ้าภาพหลักเป็น โมร็อคโก จากทวีปแอฟริกา ร่วมกับ โปรตุเกส กับ สเปน จากทวีปยุโรป
แต่การแข่งขันสามเกมแรกในรอบแบ่งกลุ่มจะแข่งขันขึ้นที่ประเทศ อุรุกวัย, อาร์เจนตินา และ ปารากวัย ซึ่งอยู่ในทวีปอเมริกาใต้
ทั้งหมดนี้ เป็นเเนวคิดของ อินฟานติโน เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีฟุตบอลโลก ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในปี 1930 ในเมืองมอนเตวิเดโอ ประเทศอุรุกวัย แต่ทัวร์นาเมนต์จะย้ายไปที่คาบสมุทรไอบีเรียและโมร็อกโกทั้งหมด
ฟีฟ่า ระบุในรายงานดังกล่าวว่า ข้อเสนอเป็นเจ้าภาพจัดฟุตบอลโลกของซาอุฯ เป็นข้อเสนอที่ครอบคลุมอย่างรอบด้านที่มีความแข็งแกร่ง ซึ่งฟีฟ่าได้ประเมินจากโครงสร้างแผนที่ซาอุฯนำเสนอ ทั้งด้านกีฬาและอื่นๆทั่วไป รวมถึงศักยภาพเชิงพาณิชย์
ฟีฟ่าเตือนว่า ในแง่สิทธิมนุษยชนที่ต้องนำมาตรการไปปฏิบัติ โดยเฉพาะบางพื้นที่ "อาจต้องใช้ความพยายาม และเวลาอย่างมาก"
โดยรายงานฟีฟ่าระบุว่า ความเสี่ยงในแง่สิทธิมนุษยชน อยู่ระดับ 4.2 จาก 5 ซึ่งสูงกว่าคะแนนของสหรัฐ แคนาดา และเม็กซิโกรวมกัน ในปีพิจารณา การแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2026
“สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ไว้คือ การรวมโอกาสสำคัญของการจัดฟุตบอลโลกที่ต้องสร้างผลในเชิงบวกด้านสิทธิมนุษยชน” ฟีฟ่าระบุเพิ่มเติม
ศักยภาพที่ดีใน การจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก จะต้องเร่งให้เกิดการปฏิรูปบางด้าน ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่และในอนาคต รวมถึงต้องสนับสนุนให้เกิดผลลัพธ์เชิงบวกด้านสิทธิมนุษยชนให้กับชาวซาอุฯ และภูมิภาค
ขณะนี้ ซาอุฯ ยังไม่ได้สร้างสนามกีฬาอีกหลายแห่งตามแผนวางไว้ ซึ่งได้เสนอจะจัดขึ้นแข่งขันขึ้นในช่วงฤดูหนาว ซึ่งเป็นสิ่งเคยเกิดขึ้นกับบางประเทศเช่น กาตาร์ เพื่อนบ้านของซาอุฯ
โดยรายงานย้ำถึงอุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงเวลากลางวันของกรุงริยาด ขณะนี้เกิน 40 องศาเซลเซียส ในช่วงเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม
ดังนั้นเมื่อพูดถึงประเด็นสิทธิมนุษยชน จะทำให้นึกถึงการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2022 ที่กาต้าร์ ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันที่ถูกนำมาพูดคุยอีกครั้ง ก่อนจะมี ฟุตบอลโลก 2034
กลุ่มสิทธิมนุษยชนเน้นย้ำถึงเหตุการณ์ประหารชีวิตหมู่ในซาอุฯ และข้อกล่าวหาเรื่องการทรมาน รวมถึงการจำกัดสิทธิสตรี ภายใต้ระบบการปกครองของซาอุฯ แบบอนุรักษ์นิยม
การแสดงออกอย่างเสรียังถูกจำกัดอย่างเคร่งครัด โดยบางคนต้องรับโทษจำคุกเป็นเวลานานจากการโพสต์วิจารณ์ทางโซเชียลมีเดีย
ซาอุฯ เคยเป็นเจ้าภาพจัดงานสำคัญหลายครั้ง รวมถึงฟอร์มูล่าวัน และเทนนิสดับเบิลยูทีเอ รอบสุดท้าย แต่มักถูกกล่าวหาว่า นำกีฬามาฟอกภาพลักษณ์ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลระบุว่า ตามที่คาดไว้รายงานประเมินของฟีฟ่าต่อการที่ซาอุฯ เสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก ถือเป็นการปกปิดประวัติการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเลวร้ายและน่าทึ่ง โดยไม่มีคำมั่นสัญญาใดๆ จะเป็นเครื่องป้องกันไม่ให้คนงานถูกเอารัดเอาเปรียบ ประชาชนซาอุฯ ผู้อยู่อาศัยต้องถูกขับไล่ หรือป้องกันไม่ให้นักเคลื่อนไหวถูกจับกุม
หากละเลยหลักฐานที่ชัดเจนว่าสร้างความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอันร้ายแรง ฟีฟ่าอาจต้องรับผิดชอบต่อการละเมิดที่เป็นอยู่ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในทศวรรษหน้า
อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องปฏิรูปสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในซาอุฯ อย่างเร่งด่วน ไม่อย่างนั้นฟุตบอลโลกปี 2034 จะต้องมัวหมองจากการแสวงหาประโยชน์ การเลือกปฏิบัติ และการปราบปรามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้