‘เดโมแครต’ ถามตรง มีเจตนาซ้อนไหม ‘รีพับลิกัน’ ป้องการลงทุน ‘มัสก์’ ในจีน
สมาชิกระดับสูงพรรคเดโมแครต หนึ่งในคณะกรรมการจัดสรรงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ เผยเมื่อวันศุกร์ รีพับลิกันกำลังปกป้องการลงทุน “อีลอน มัสก์“ ในจีน เล็งยกเลิกกฎหมายจำกัดการลงทุนของสหรัฐ
โรซา เดอลอโร ระบุในจดหมายว่า อีลอน มัสก์ ซีอีโอเทสล่า บริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้า อาจมาพลิกเปลี่ยนกระบวนการจัดหาทุนของรัฐบาล ด้วยการยกเลิกเงื่อนไขควบคุมการลงทุนสหรัฐในจีน
“เนื่องจากมัสก์ลงทุนอย่างกว้างขวางในภาคส่วนสำคัญๆ ในประเทศจีน และยังมีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน นอกจากนี้ เดอลอโรยังต้องคำถามถึงเหตุผลที่แท้จริง กับการที่มัสก์ออกมาคัดค้านข้อตกลงการจัดหาเงินทุนเดิม” เดอลอโรกล่าว
เทสล่าไม่ได้ตอบถามในเรื่องนี้ทันที แต่มัสก์โพสต์วิจารณ์เดอลอโรบนแพลตฟอร์ม X หลายข้อความว่า “ เธอควรถูกไล่ออกจากสภาคองเกรส!”
ทรัมป์แต่งตั้งมัสก์ และวิเวก รามาสวามี เป็นหัวหน้าร่วมดูแลกระทรวงใหม่ที่ชื่อว่า กระทรวงประสิทธิภาพรัฐบาล (Department of Government Efficiency - DOGE) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูระบบราชการ กฎระเบียบต่างๆที่มีมากเกินไป รวมถึงตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และปรับโครงสร้างหน่วยงานรัฐ
มัสก์ช่วยทำหน้าที่ผู้นำทางออนไลน์ เพื่อต่อต้านร่างกฎหมายการจัดหาเงินทุนของรัฐบาล ซึ่งรวมถึงข้อจำกัดการลงทุนในจีนด้วย
การลงทุนของมัสก์ในประเทศจีน และความสัมพันธ์ของมัสก์กับ เจ้าหน้าที่ระดับสูงจีนเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยโรงงานของเทสล่าในเซี่ยงไฮ้สามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้ประมาณ 50% ของการผลิตยานยนต์ทั่วโลก
นอกจากนี้ เดอลอโรยังชีว่า ในปี 2563 เทสล่ามีรายได้ทั่วโลก เกือบ 1 ใน 4 ซึ่งมาจากการจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงงานในเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน โดยเขากล่าวด้วยว่า เทสล่าวางรากฐานการผลิตในโรงงานที่ประเทศจีน มีมูลค่า 200 ล้านดอลลาร์ เพื่อผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งมีความสำคัญต่อห่วงโซ่อุปทานรถยนต์ไฟฟ้า
“ การลงทุนร่วมการผลิตแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ ซึ่งสินค้านี้อยู่ในประเภทเทคโนโลยี ที่ต้องผ่านการพิจารณาคัดกรองการลงทุนในต่างชาติด้วย” เดอลอโรกล่าว
เมื่อเดือนตุลาคม กระทรวงการคลังสหรัฐได้กำหนดกฎเกณฑ์ขั้นสุดท้ายที่มีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 มกราคม 2568 ซึ่งจะจำกัดการลงทุนสหรัฐ ในด้านปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีอื่นๆ ในประเทศจีน ซึ่งอาจเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของสหรัฐ
อ้างอิง : Reuters