'เรย์ ดาลิโอ' เตือนสหรัฐเสี่ยง 'หัวใจวาย' ทางการเงิน ถ้ายังไม่แก้วิกฤติ 'หนี้'

'เรย์ ดาลิโอ' เตือนสหรัฐเสี่ยง 'หัวใจวาย'  ทางการเงิน ถ้ายังไม่แก้วิกฤติ 'หนี้'

‘เรย์ ดาลิโอ’ นักลงทุนชื่อดังออกโรงเตือน ‘ระบบการเงินสหรัฐ’ เสี่ยง ‘หัวใจวาย’ ถ้ายังไม่แก้ปัญหาวิกฤติ ‘หนี้’ หลังหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า งบประมาณ ‘ขาดดุล’ ส่อลาม ‘ระบบการเงิน’ ฉุดตลาดพันธบัตรดิ่ง

เว็บไซต์บิสสิเนสอินไซด์เดอร์รายงานอ้างถึง “เรย์ ดาลิโอ” ผู้ก่อตั้ง Bridgewater Associates กองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้ให้สัมภาษณ์ในการประชุม World Governments Summit ที่เมืองดูไบเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ได้ส่งสัญญาณเตือนสหรัฐจาก “หนี้” ที่พุ่งสูงขึ้น จะต้องแก้ไขก่อนที่จะเผชิญกับปัญหาทางการเงินที่เทียบได้กับ "อาการหัวใจวาย"

\'เรย์ ดาลิโอ\' เตือนสหรัฐเสี่ยง \'หัวใจวาย\'  ทางการเงิน ถ้ายังไม่แก้วิกฤติ \'หนี้\'

“หนี้ที่สะสมพอกพูนก็เปรียบเสมือนคราบพลัคที่เกาะกินระบบการเงิน และนั่นก่อให้เกิดปัญหาใหญ่หลวงสำหรับรัฐบาล เนื่องจากภาระการจ่ายดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้กัดกินงบประมาณของพวกเขาไปมหาศาล”

ดาลิโอเปรียบเทียบตัวเองกับแพทย์ที่แจ้งเตือนคนไข้เกี่ยวกับคราบพลัคที่สะสมในร่างกายว่า "คุณมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน แล้วคุณจะทำอย่างไรกับเรื่องนี้? “ ซึ่งการดำเนินการต่างๆ ก่อนที่สถานการณ์กำลังดีถือเป็นสิ่งสำคัญ อย่ารอให้สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วค่อยพยายามทำให้มันดีขึ้น 

‘หนี้’ สหรัฐพุ่ง งบประมาณ ‘ขาดดุล’

ในปีงบประมาณที่ผ่านมา รัฐบาลกลางสหรัฐใช้จ่ายงบประมาณไปประมาณ 6.75 ล้านล้านดอลลาร์ แต่สามารถจัดเก็บรายได้ได้เพียง 4.92 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งหมายความว่ารัฐบาล “ขาดดุล” 1.8 ล้านล้านดอลลาร์

 

นอกจากนี้ จากข้อมูลบนเว็บไซต์ของกระทรวงการคลัง หนี้สาธารณะของประเทศได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่าตั้งแต่ปี 2543 จนปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 36.2 ล้านล้านดอลลาร์

เสี่ยงลาม ‘ระบบการเงิน’

ดาลิโอเตือนว่า หากสหรัฐยังไม่สามารถลดการขาดดุลงบประมาณจากระดับปัจจุบันที่มากกว่า 6% ของ GDP ให้เหลือ 3% ได้ภายในระยะเวลาประมาณ 4 ปีข้างหน้า ปริมาณพันธบัตรรัฐบาลที่ออกจำหน่ายจะสูงเกินกว่าความต้องการซื้อ ซึ่งจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยพุ่งสูงขึ้น และนำไปสู่การดิ่งลงของตลาดพันธบัตรกระทรวงการคลัง

ขณะเดียวกัน ผู้เขียนหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเงินและเศรษฐกิจกล่าวว่า "ความเจ็บปวด" ที่เกิดขึ้นใน "กระดูกสันหลัง" ของระบบการเงินนั้น จะส่งผลกระทบต่อตลาดทั้งหมดและเงินก็จะสูญเสียบทบาทในการเป็นแหล่งสะสมความมั่งคั่งอย่างที่เราคุ้นเคยกัน

แม้ว่า “อีลอน มัสก์” จะพยายามอย่างเต็มที่ในการปรับปรุงประสิทธิภาพของภาครัฐ แต่นั่นยังไม่เพียงพอในการแก้ไขวิกฤติหนี้สิน และจำเป็นต้องมีแผนตั้งรับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น 

อ้างอิง businessinsider