เปิดรายชื่อผู้นำโลก ร่วม 'พิธีศพโป๊ปฟรานซิส' เสาร์นี้ คาดประชาชนเข้าร่วมนับแสน

เปิดรายชื่อผู้นำโลก ร่วม 'พิธีศพโป๊ปฟรานซิส' เสาร์นี้ คาดประชาชนเข้าร่วมนับแสน

พิธีฝังพระศพสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เตรียมจัดขึ้นในวาติกัน วันเสาร์ที่ 26 เม.ย. นี้ เริ่มตั้งแต่เวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (15.00 น. ตามเวลาไทย) โดยงานนี้คาดว่าจะมีผู้นำโลกเข้าร่วมมากมาย และอาจมีประชาชนเข้าร่วมงานอย่างน้อย 200,000 คน

พิธีฝังพระศพสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ที่แสบเรียบง่ายตามรับสั่งของพระองค์ จะจัดขึ้นในวาติกัน วันเสาร์ที่ 26 เม.ย. นี้ ตั้งแต่เวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (15.00 น. ตามเวลาไทย) ซึ่งงานนี้ถือเป็นงานทางศาสนาและทางการทูตที่จะมีผู้นำโลกเข้าร่วมมากมาย และอาจมีผู้เข้าร่วมราว 200,000 คนจากทั่วโลก

ใครจะเข้าร่วมพิธีบ้าง

นอกจากพิธีฝังพระศพจะเป็นงานที่มีความสำคัญทางศาสนาแล้ว งานนี้ยังถือเป็นงานที่มีความสำคัญทางการทูตด้วย

พระสันตปาปาไม่ได้เป็นเพียงประมุขของคริสตจักรโรมันคาทอลิกเท่านั้น แต่พระองค์ยังทรงเป็นผู้นำของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่มีอำนาจอธิปไตย และมีที่นั่งในสหประชาชาติ (ยูเอ็น) อีกด้วย ขณะที่ทั่วโลกมีผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก 1.4 พันล้านคน โดยเฉพาะในยุโรป อเมริกา และมีเพิ่มมากขึ้นในแอฟริกา

เปิดรายชื่อผู้นำโลก ร่วม \'พิธีศพโป๊ปฟรานซิส\' เสาร์นี้ คาดประชาชนเข้าร่วมนับแสน

ดังนั้น งานพิธีฝังพระศพจะถึงดูดผู้คนจากทั่วโลกมารวมตัวกัน ซึ่งตอนที่โป๊ปจอห์น พอล ที่ 2 สวรรคต ในปี 2548 มีประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีจากทั่วโลกเข้าร่วมงานกว่า 70 ประเทศ ทำให้งานนี้กลายเป็นหนึ่งในงานที่มีผู้นำโลกมารวมตัวกันมากที่สุดในประวัติศาสตร์

สำหรับผู้นำที่ได้รับการยืนยันว่าจะเข้าร่วมพิธีฝังพระศพของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสในวันเสาร์ที่ 26 เม.ย. นี้ ได้แก่ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ, อันโตนิโอ กูเตอเรส เลขาธิการยูเอ็น และประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกีของยูเครน

ด้านซีเอ็นรายงานว่า มีผู้นำแห่งรัฐหรือรัฐบาลอย่างน้อย 170 คน เตรียมเข้าร่วมงานนี้ อาทิ ฆาบิเอร์ มิเล ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา ผู้นำจากประเทศบ้านเกิดของโป๊ปฟรานซิส, ลูอิซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ประธานาธิบดีบราซิล, เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส, เคียร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ และโอลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี

ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซียไม่มีแผนเข้าร่วมงานดังกล่าว ขณะที่จีนเตรียมส่งผู้แทนเข้าร่วม

เปิดรายชื่อผู้นำโลก ร่วม \'พิธีศพโป๊ปฟรานซิส\' เสาร์นี้ คาดประชาชนเข้าร่วมนับแสน

นอกจากผู้นำแล้ว รัฐบาลอิตาลีคาดว่า อาจมีชาวต่างชาติอย่างน้อย 200,000 คน เดินทางไปยังกรุงโรมเพื่อเข้าร่วมพิธีฝังพระศพ และแม้วาติกันเป็นรัฐอธิปไตย แต่รัฐดังกล่าวตั้งอยู่ในใจกลางเมืองหลวงของอิตาลี ซึ่งทางการอิตาลีจะช่วยบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์บางส่วน

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากังวลคือ อาจมีผู้คนมาเข้าร่วมพิธีการสูงกว่าที่รัฐบาลอิตาลีคาดการณ์ไว้ โดยพิธีฝังพระศพล่าสุดของสมเด็จพระสันตปาปาจอห์น พอล ที่ 2 มีคนเข้าร่วมงานกว่า 4 ล้านคน

โป๊ปจอห์น พอล ดำรงตำแหน่งนาน 26 ปี และยิ่งกว่านั้นคือ พระองค์เป็นชาวโปแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่ให้ความเคารพพระองค์อย่างมาก และเป็นประเทศที่อยู่ใกล้อิตาลีทำให้สามารถอำนวยความสะดวกในการเดินทางครั้งใหญ่ได้

พิธีศพเรียบง่ายตามพระประสงค์

ในปี 2567 โป๊ปฟรานซิสทรงปรับปรุงพิธีกรรมฝังพระศพของพระองค์ให้มีความเรียบง่ายมากขึ้น

โดยพิธีกรรมใหม่นี้ พระสันตปาปาฟรานซิสจะได้รับฝังในโลงไม้บุด้วยสังกะสี โดยยกเลิกการใช้โลงไม้ไซเปรส โลงตะกั่ว และโลงไม้โอ๊กซ้อนกัน 3 ชั้นแบบในอดีต เหมือนที่พระสันตปาปาองค์ก่อนๆ เคยใช้

นอกจากนี้ ยังมีการใช้ภาษาพิธีการที่หลากหลาย โดยพระสันตะปาปาจะได้รับการเรียกขานว่า “บิชอปแห่งโรม”, “พระสันตปาปา” “ศิษยาภิบาล/พระ” หรือ “พระสันตปาปาแห่งโรม” และหลีกเลี่ยงการใช้คำเรียกตำแหน่งที่ยิ่งใหญ่กว่า เช่น “พระสันตปาปาสูงสุดแห่งคริสตจักรสากล”

มิร์ติเซลี เมเดโรส นักประวัติศาสตร์คริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิกและผู้สื่อข่าวในวาติกันจาก GloboNews ของบราซิล เผยกับอัลจาซีราว่า ความเรียบง่ายของพิธีฝังพระศพของโป๊ปฟรานซิส ไม่เพียงสะท้อนให้เห็นถึงความถ่อมตัวของพระองค์ ที่เป็นที่ทราบกันดีเท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงการปฏิวัติสถาบันพระสันตปาปาด้วย

“พระองค์ตรัสเสมอว่าทรงไม่สบายใจกับแนวคิดที่ว่า วาติกันเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แห่งสุดท้ายของยุโรป” เมเดโรสกล่าว “นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมพระองค์จึงทรงเสนอตัวเป็น ‘บิชอปแห่งโรม’ ตั้งแต่แรก ซึ่งสำหรับพระองค์แล้ว เป็นตำแหน่งที่มีเกียรติที่สุด พระองค์เป็นทั้งบิชอป ศิษยาภิบาล และคริสเตียนเช่นเดียวกับคนอื่นๆ” 

เปิดรายชื่อผู้นำโลก ร่วม \'พิธีศพโป๊ปฟรานซิส\' เสาร์นี้ คาดประชาชนเข้าร่วมนับแสน

อย่างไรก็ตามการสวดหลักๆ จะกล่าวเป็นภาษาละตินและอิตาลี ขณะที่การอ่านพระคัมภีร์มีหลายภาษา อาทิ ภาษาอิตาลี สเปน และอังกฤษ และคำอธิษฐานสั้นๆ อีกจำนวนหนึ่ง จะกล่าวเป็นภาษาอื่นๆ เช่น อาหรับ โปแลนด์ และจีน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงคริสตจักรคาทอลิกเป็นศาสนาระดับนานาชาติ และแสดงถึงความหลากหลายของภูมิหลังของผู้คนในปัจจุบัน

อาร์ชบิชอป ดิเอโก ราเวลลี ผู้เชี่ยวชาญด้านพิธีกรรมของพระสันตปาปา อธิบายว่า จุดประสงค์ดังกล่าวตอกย้ำว่า พิธีฝังพระศพของพระสันตะปาปาเป็นพิธีของ “พระและสาวกของพระคริสต์ และไม่ใช่งานของบุคคลที่ทรงอำนาจในโลกนี้”

อาร์ชบิชอปราเวลลี เสริมว่า เป็นโป๊ปฟรานซิสเองที่ทรงได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนพิธีกรรมให้พิธีฝังพระศพของบิชอปแห่งโรม แสดงถึงศรัทธาของคริสตศาสนิกชนในพระคริสตเจ้าในแบบที่ดีกว่า

พระคาร์ดินัลจิโอวานนี บัตติสตา รี วัย 91 ปีผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีวิทยาลัยคาร์ดินัลส์ในปัจจุบัน คาดว่าจะเป็นประธานในพิธีฝังพระศพของพระสันตะปาปาฟรานซิส โดยพระบัสติสตา รี จะเป็นผู้นำในการสวดและอ่านพระคัมภีร์ และจะกล่าวคำสรรเสริญและคำอำลาเป็นครั้งสุดท้าย พร้อมส่งจิตวิญญาณของพระสันตปาปาสู่พระเจ้า

เปิดรายชื่อผู้นำโลก ร่วม \'พิธีศพโป๊ปฟรานซิส\' เสาร์นี้ คาดประชาชนเข้าร่วมนับแสน

บทเรียนสุดท้าย เส้นทางสู่ "ความสมถะ"

หลังจากเสร็จสิ้นพิธีการ โลงศพของพระสันตะปาปาจะเคลื่อนย้ายไปฝังที่มหาวิหารเซนต์แมรีเมเจอร์ ซึ่งเป็นโบสถ์ที่อยู่นอกกำแพงนครวาติกันที่พระองค์โปรดไปเยี่ยมเป็นพิเศษ

สมเด็จพระสันตปาปาฟรานซิสจะกลายเป็นโป๊ปพระองค์แรกนับตั้งแต่ทศวรรษ 1600 ที่ฝังพระศพในโบสถ์ดังกล่าว และเป็นพระองค์แรกในรอบกว่าร้อยปีที่ได้รับการฝังพระศพนอกวาติกัน

ในพินัยกรรมสุดท้ายของพระองค์ ระบุว่า พระองค์ทรงขอให้สร้างหลุมศพไว้ใต้พื้นดิน เรียบง่าย ไม่ต้องมีการประดับตกแต่งเป็นพิเศษ และระบุเฉพาะด้วยว่า ให้ใส่คำที่ควรจะเป็นเพียงคำเดียว คือ พระนามพระสันตปาปาของพระองค์ในภาษาละติน “ฟรานซิสกัส”

คริสโตเฟอร์ ไวท์ ผู้สื่อข่าวประจำวาติกันของ National Catholic Reporter เผยกับอัลจาซีราว่า หลังจากพระองค์ได้รับเลือกในปี 2556 โป๊ปปรากฏต่อสาธารณะในอาภรณ์สีขาวล้วนเพื่อเป็นการแสดงความปรารถนาให้คริสตจักรที่มีความโอ่อ่า ไม่แสดงความโอ้อวดเกินไป

“เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลที่พระองค์ได้ลดทอนพิธีลง เพื่อให้ทรงมั่นใจว่าเมื่อสวรรคตแล้ว พระองค์จะสามารถมอบบทเรียนสุดท้ายในเชิงสัญลักษณ์ให้กับคริสตจักร ซึ่งพระองค์หวังว่าคริสตจักรจะดำเนินต่อไปบนเส้นทางสู่ความสมถะ”

 

อ้างอิง: Al Jazeera