ปิดฉากบทบาทสหรัฐในสนธิสัญญาไอเอ็นเอฟ
สนธิสัญญาไอเอ็นเอฟ กำหนดให้สหรัฐและรัสเซีย ซึ่งสมัยนั้นคือสหภาพโซเวียต กำจัดขีปนาวุธจากพื้นและขีปนาวุธร่อนที่มีพิสัย 300-3,400 ไมล์ แต่เมื่อปี 2557 สหรัฐ กล่าวหารัสเซียว่าละเมิดข้อตกลงเมื่อปี 2551
วานนี้ (2ส.ค.)เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญที่ต้องจารึกในหน้าประวัติศาสตร์โลก เนื่องจากเป็นวันที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ นำพาสหรัฐถอนตัวออกจากสนธิสัญญากองกำลังนิวเคลียร์พิสัยกลาง (ไอเอ็นเอฟ) กับรัสเซีย ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่เป็นแกนกลางความมั่นคงยุโรปมาตั้งแต่สงครามเย็น อย่างเป็นทางการ ทำให้บรรดานักวิเคราะห์การเมืองโลก ตลอดจนผู้สังเกตุการณ์หลายคน เกิดความวิตกกังวลกันว่า การถอนตัวจากสนธิสัญญาฉบับนี้ของสหรัฐ จะทำให้เกิดการแข่งขันสั่งสมอาวุธใหม่ๆตามมา
ประธานาธิบดีทรัมป์ อ้างว่ารัสเซียละเมิดสนธิสัญญาไอเอ็นเอฟ มาตั้งแต่ปี 2557 ทำให้สหรัฐอยู่ในฝ่ายที่เสียเปรียบ เพราะปฏิบัติตามสนธิสัญญาฉบับปี 2530 นี้มาตลอด ทั้งยังเสียเปรียบทางทหารต่อจีน ซึ่งไม่อยู่ในข้อตกลงนี้
สนธิสัญญาฉบับนี้ เป็นแกนหลักในยุทธศาสตร์ความมั่นคงของยุโรปมานานกว่า 30 ปี การลงนามข้อตกลงนี้ถือเป็นช่วงเวลาประวัติศาสตร์ของการควบคุมอาวุธในยุคสงครามเย็น ซึ่งการถอนตัวออกจากไอเอ็นเอฟ เปิดโอกาสให้สหรัฐประจำการขีปนาวุธพิสัยกลางในยุโรปและเอเชียได้ ซึ่งน่าจะนำไปสู่การเผชิญหน้ากับรัสเซียและจีน แม้สหรัฐ จะบอกว่า หากมีการประจำการจริง ขีปนาวุธต่างๆ จะไม่มีการติดหัวรบนิวเคลียร์เลยก็ตาม
นอกจากนั้น การถอนตัวจากสนธิสัญญาไอเอ็นเอฟ ยังตอกย้ำว่า รัฐบาลสหรัฐในยุคประธานาธิบดีทรัมป์ ให้ความสำคัญกับอธิปไตยของประเทศ มากกว่าความร่วมมือกับนานาชาติ เพราะก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีทรัมป์ ถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่านมาแล้ว รวมถึงข้อตกลงโลกร้อนที่ปารีส แถมยังขู่จะถอนตัวออกจากองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) และองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ)ด้วย
สนธิสัญญาไอเอ็นเอฟ กำหนดให้สหรัฐและรัสเซีย ซึ่งสมัยนั้นคือสหภาพโซเวียต กำจัดขีปนาวุธจากพื้นและขีปนาวุธร่อนที่มีพิสัย 300-3,400 ไมล์ แต่เมื่อปี 2557 สหรัฐ กล่าวหารัสเซียว่าละเมิดข้อตกลงเมื่อปี 2551
ด้านองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) สนับสนุนการตัดสินใจของสหรัฐอย่างเต็มที่ เพราะรัสเซียเป็นภัยต่อความมั่นคงยุโรปและสหรัฐ โดยไม่ยอมดำเนินการใดๆ เพื่อปฏิบัติตามไอเอ็นเอฟอย่างเต็มตัวและพิสูจน์ได้ ซึ่งไอเอ็นเอฟมีภาคีเพียงสองประเทศคือสหรัฐและรัสเซีย
สนธิสัญญาไอเอ็นเอฟ เป็นสนธิสัญญาฉบับที่2 ที่สหรัฐในยุคประธานาธิบดีทรัมป์ ประกาศจะถอนสหรัฐออกจากสนธิสัญญา โดยก่อนหน้านั้น เป็นข้อตกลงดูแลสภาพอากาศที่แทบทุกประเทศทั่วโลก หรือ 195 ประเทศ เข้าร่วมด้วยเมื่อปี 2558 สหรัฐ ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีบารัก โอบามา ได้ลงนามว่าสหรัฐจะจำกัดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและช่วยบรรเทาผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
แต่พอมาถึงยุคทรัมป์ ประกาศเมื่อกลางปี 2560 ว่า สหรัฐจะถอนตัวและเริ่มเจรจาเพื่อกลับเข้ามาอยู่ในข้อตกลงปารีสหรือสนธิสัญญาฉบับใหม่ ด้วยเงื่อนไขที่เอื้อต่อธุรกิจและผู้เสียภาษีอเมริกัน เพราะข้อตกลงที่ลงนามไป ทำให้สหรัฐเสียเปรียบทางเศรษฐกิจอย่างมาก ซึ่งก่อนหน้านี้ทรัมป์ ก็แสดงท่าทางเคลือบแคลงเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนมาตลอด
นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า เหตุที่ทรัมป์ประกาศถอนสหรัฐออกจากข้อตกลงโลกร้อนเพราะตัวเขาไม่เชื่อว่าปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง และภาวะโลกร้อนเกิด จากฝีมือมนุษย์ ซึ่งหมายถึงการที่อุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมพลังงานถ่านหินปล่อยก๊าซเรือนกระจก ออกมาเป็นจำนวนมาก
แถมยังบอกว่า การรณรงค์เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องโกหกที่ศัตรูของสหรัฐสร้างขึ้นเพื่อ ทำลายอุตสาหกรรมของสหรัฐ
ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย เคยประกาศไว้ว่า ถ้าสหรัฐถอนตัวจากสนธิสัญญาไอเอ็นเอฟ รัสเซีย ก็จำเป็นต้องเล็งเป้าขีปนาวุธไปยังประเทศยุโรปที่ตกลงให้สหรัฐประจำการจรวดนิวเคลียร์ แน่นอนว่า ดินแดนของประเทศเหล่านั้นจะตกอยู่ในความเสี่ยงต่อการโจมตีตอบโต้
ไม่ใช่เฉพาะสนธิสัญญาเอ็นไอเอฟเท่านั้น สนธิสัญญาลดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับใหม่ (นิวสตาร์ท) ซึ่งจะหมดอายุในปี 2564 ที่ประธานาธิบดีทรัมป์เคยพูดว่า เป็นสนธิสัญญาอีกหนึ่งฉบับในบรรดาข้อตกลงที่มีการเจรจาในสมัยรัฐบาลโอบามาที่เขาเตรียมนำพาสหรัฐถอนตัวออกมา เพราะเอื้อประโยชน์แก่รัสเซียข้อ