สื่อเอเชียฟุบเพราะไวรัสโคโรนา
สื่อสำนักต่างๆ ทั้งในออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนามต่างหยุดวางแผงหนังสือพิมพ์
โดย นิวส์คอร์ป ออสเตรเลีย ( News Corp Australia) ได้ประกาศว่า หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในเครือจะหยุดวางแผงตั้งแต่วันที่ 9 เมษายนนี้
เหตุผล? ก็เพราะประเด็นข่าวระดับโลกที่ดังสุดๆตอนนี้
“การหยุดพิมพ์ไว้ก่อนนี้ เพราะรายได้โฆษณาที่ลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส ซึ่งทำให้กิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้ออสังหาริมทรัพย์ การจัดอีเวนต์ หรือร้านอาหารต่างๆ ต่างพากันยุติกิจการลง” ประธารอำนวยการของนิวส์คอร์ป ไมเล มิลเลอร์กล่าวในแถลงการณ์
ในที่อื่นๆ หนังสือพิมพ์อื่นต่างก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกันหลังจากที่รัฐบาลมีมาตรการจำกัดการเดินทางหรือไม่ก็ล็อคดาวน์ ซ้ำเติมสถานการณ์ที่มีอยู่เดิมแล้วของสื่อชนิดเก่านี้
ในวันเดียวกันกับที่นิวส์คอร์ปออกแถลงการณ์ หนังสือพิมพ์เวียดนาม (Vietnam News) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษของรัฐบาล ก็ได้ประกาษว่า จะยุติการพิมพ์ไว้ก่อนตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน โดยหลังจากพบว่ามีผู้สื่อข่าวของตนติดเชื้อไวรัสหลังการสัมภาษณ์แหล่งข่าว ที่ต่อมาก็ติดเชื้อด้วยเช่นกัน
“เราขออภัยในความไม่สะดวกนี้ และหวังว่าท่านจะเข้าใจสภาพการณ์ที่ยากลำบากเช่นนี้” ทางบริษัทกล่าว
หนังสือพิมพ์ฉบับอื่นของเวียดนามก็ยุติการพิมพ์เอาไว้ก่อนเช่นกัน โดยระบุว่ากิจการได้รับผลกระทบจากมาตรการที่เข้มข้นของการเว้นระยะห่างทางสังคมต่างๆ
ในอินเดีย ตามบ้านเรือน ต่างก็หยุดรับหนังสือพิมพ์หลังจากที่อินเดียประกาศปิดประเทศในวันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมา
คนส่งหนังสือพิมพ์ไม่สามารถส่งนสพ. ออกไปได้เนื่องจากได้รับผล
กระทบจากขนส่งสาธารณะที่ถูกระงับ ในขณะที่ผู้อ่านเองก็กลัวว่าจะติดเชื้อไวรัสจากหนังสือพิมพ์
ในฟิลิปปินส์ หนังสือพิมพ์หัวใหญ่สองฉบับ คือ มาลายา บิสสิเนส อินไซต์ (Malaya Business Insight) และมะนิลา แสตนดาร์ด ทูเดย์ (Manila Standard Today) ต่างตัดสินใจยุติการพิมพ์เช่นเดียวกัน
หนังสือพิมพ์แทบลอยด์อื่น ก็มีสภาพแทบไม่ต่างกันในเวลานี้
หนังสือพิมพ์เหล่านี้ต่างหันมารายงานข่าวผ่านทางเวบไซต์และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ แต่นั่นแปลว่ารายได้โฆษณาที่หดลง
บรูซ หลิว อาจารย์ด้านสื่อสิ่งพิมพ์ที่มหาวิทยาลัยฮ่องกง แบ๊บติสส์ (Hong Kong Baptist) กล่าวว่า วงการสื่อในวงกว้างกำลังจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดของไวรัสเพราะเศรษฐกิจของโลกที่กำลังชะลอตัวเป็นอย่างมาก
“คนจะเริ่มหลีกเลี่ยงที่จะใช้จ่าย และพวกเขาก็อาจจะไม่ซื้อหนังสือพิมพ์หรือต่ออายุสมาชิกทางออนไลน์แล้ว” อาจารย์หลิวกล่าว
และเมื่อคนอ่านเนือยๆ โฆษณาก็จะไม่อยากลงโฆษณา
“นั่นเป็นอะไรที่ซ้ำเติมสถานการณ์ของสื่อชนิดเก่ามาก เพราะสื่อเหล่านี้ต่างต้องพึ่งพารายได้จากการโฆษณา” อาจารย์หลิวกล่าว
ในออสเตรเลีย โฆษณาในสื่อสิงพิมพ์จะหดตัวลงจากรายได้ 1.63 พันล้านเหรียญออสเตรเลียในปี 2017 เหลือเพียง 798 ล้านดอลล่าห์ในปี 2022
ในทางกลับกัน โฆษณาในสื่อออนไลน์กลับจะขยายตัวขึ้นจาก 463 ลัานเหรียญ มาเป็น 574 ล้านเหรียญ ในช่วงเวลาเดียวกัน ไพรซ์วอเตอร์เฮาส์ระบุ
องค์กรสื่อบางองค์กรพยายามที่จะขยายฐานผู้อ่านใหม่ด้วยสื่อดิจิตอล อาทิ นิวส์คอร์ปเอง ก็เสนอให้อ่านทางออนไลน์ฟรี 28 วัน หรือฟิลิปปินส์ เดลี่ อิไคว์เลอร์ (Phillipines Daily Inquirer) ก็เสนอให้อ่านฟรี 30 วัน
สื่อที่ยังไม่ได้ทำข่าวออนไลน์จริงจังน่าจะลำบาก ศาสตรจารย์ด้านสื่อสิงพิมพ์ ราเชล คาน จากมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์กล่าว
คานกล่าวว่า สื่อในฟิลิปปินส์จำนวนมากยังพึ่งพารายได้จากการโฆษณาอยู่
“พวกเขาควรเร่ิมทำข่าวออนไลน์ตั้งแต่เมื่อสองสามปีก่อนโน่นแล้ว ไม่งั้นก็จะลำบากเพราะไม่ได้เตรียมตัวอะไรแบบนี้ การระบาดของไวรัส เป็นตัวจี้ให้สื่อที่ยังไม่ได้เข้าสู่โลกออนไลน์เสียทีต้องปรับตัว”
แต่กระนั้น โมเดลดิจิตอลก็ยังไม่ได้มีเกราะคุ้มกันพอจากผลกระทบในอุตสาหกรรม
ในจีน ซินเจา มีเดีย (Xinchao Media) ต้องเอาพนักงานออกกว่า 500 คนจากที่มีกว่า 4,500 คน
“ผมเคยพาทีมฝ่าวิกฤติช่วงไวรัสซาร์สระบาดในปี 2003 และในช่วงแผ่นดินไหวทางแถบเสฉวนในปี 2008 แต่ผมเกรงว่า คราวนี้เราอาจแพ้ไวรัส เพราะมันไม่มีใครเดินตามถนนเอาเสียเลย และนั่นหมายถึงเราไม่มีลูกค้าเลย” CEO และผู้ก่อตั้งซินเจา จาง จีซือ กล่าวเมื่อตอนจีนเร่ิมถูกไวรัสโคโรนาโจมตีหนักๆในช่วงเดือนกุมภาพันธ์
อาจารย์หลิวกล่าวว่า สื่อจะรอดจากวิกฤติการระบาดของไวรัสโคโรนาได้ จะต้องหาทางเพิ่มรายได้จากดิจิตอลให้มากขึ้น ในขณะที่ต้องพยายามลดค่าใช้จ่ายด้วยอีกทาง
นั่นหมายถึง การเพิ่มจำนวนสมาชิก ลดค่าสมัคร และรวมไปถึงการลดค่าจ้าง โบนัส หรือแม้กระทั่งให้พนักงานหยุดโดยไม่รับค่าจ้างไปก่อน
“การเลย์ออฟควรเป็นทางเลือกสุดท้าย เพราะคุณจำเป็นต้องมีคนข่าวที่มีประสบการณ์ที่จะรายงานข่าวที่ถูกต้องและมีคุณภาพ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่สำคัญเช่นนี้” อาจารย์หลิวกล่าว