‘บีวายดี’ ดาวรุ่งตลาด EV โลก ย้อนดูปัจจัยดันโตก้าวกระโดด

‘บีวายดี’ ดาวรุ่งตลาด EV โลก ย้อนดูปัจจัยดันโตก้าวกระโดด

บีวายดี (BYD) บริษัทรถยนต์รายใหญ่ของจีน ซึ่งเข้ามาทำธุรกิจในบ้านเราแล้ว และกำลังเติบโตอย่างน่าสนใจ แต่ที่บ้านเกิด ประเทศจีน บีวายดี สร้างความตื่นตัวให้กับอุตสาหกรรม กับยอดขาย รายได้ และผลกำไรที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง และยังมีอัตราเร่งที่รุนแรงช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

บีวายดี (BYD) เริ่มต้นเปิดตัวรถยนต์ในบ้านไทยอย่างเป็นทางการวันที่ 1 พ.ย. 2565 กับรถพลังงานไฟฟ้า หรือ อีวี ATTO3 โดยบริษัท เรเว่ ออโตโมทีฟ จำกัด ตัวแทนจำหน่ายในประทเศไทยอย่างเป็นทางการ

บีวายดี ใช้เวลาไม่นานในการสร้างยอดจำหน่ายที่โดดเด่น ล่าสุดมียอดส่งมอบแล้วกว่า 1.12 หมื่นคัน ก่อนที่จะเสริมตลาดรถที่ 2 คือ DOLPHIN ที่เตรียมประกาศราคาอย่างเป็นทางการเร็วๆ นี้ แต่ได้แจ้งราคาประมาณการไว้ก่อนหน้านี้คือบีวายดี ถือว่าเป็นหนึ่งในบริษัที่เริ่มต้นและเติบโตได้ดีในตลาดรถยนต์เมืองไทย

และในโอกาสที่มีโอกาสเยือนโรงงาน และสำนักงานใหญ่ บีวายดี เมือง เซินเจิ้น ประเทศจีน ผู้บริหารที่มานั่งพูดคุยด้วย ระบุว่า นั่นไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เพราะเป็นสิ้งที่บีวายดี วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะข้อมูลการตลาด และตัวผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้เพราะการดำเนินการทุกอย่างของ บีวายดี ทั้งในประเทศ หรือ ต่างประเทศ และเป็นส่วนสำคัญที่ให้บีวายดีเติบโตอย่างรวดเร็ว

การเติบโตของบีวายดีมีมาอย่างต่อเนื่อง และที่น่าสนใจคือ ปีล่าสุด 2565 ที่ผ่านมา ที่ยอดขายทั่วโลก ทั้ง อีวี (EV) และ ปลั๊ก-อิน ไฮบริด (PHEV) มีรวมกว่า 1.86 ล้านคัน เติบโต 3 เท่าตัว จากปี 2564

การเติบโตเป็นผลมาจากการขยายกำลังการผลิต (capacity) อย่างรวดเร็วภายใน 1 ปี โดยบีวายดียืนยันว่า เป็นการขยายตัวเร็วที่สุดของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ในรอบ 100 ปี ที่ไม่มีใครเคยทำได้มาก่อน

และหากย้อนไปดูจุดเริ่มต้นของบีวายดี ยิ่งจะเห็นถึงการเติบโตที่โดดเด่น

หลังจากก่อตั้งบริษัทในปี 2538 ด้วยพนักงาน 20 คน ผลิตแบตเตอรีสำหรับโทรศัพท์มือถึอ มีรายได้ 2 ล้านหยวน พุ่งขึ้นเป็น 4.24 แสนล้านหยวน ในปี 2565

‘บีวายดี’ ดาวรุ่งตลาด EV โลก ย้อนดูปัจจัยดันโตก้าวกระโดด

แต่ระหว่างทางที่จะมาถึงปัจจุบัน มีความเคลื่อนไหวและทิศทางที่น่าสนใจ เช่น

ปี 2539 ก็เริ่มต้นการผลิต แบตเตอรี ลิเธียม ไอออน เพราะมองเห็นทิศทางในอนาคตว่าจะเป็นที่ต้องการของตลาด และก็เริ่มถึงตลาดต่างประเทศ ดังนั้นอีก 2 ปีต่อมาจึงเริ่มต้นตลาดต่างประเทศทันที

และในปี 2543 ถือเป็นหมุดหมายสำคัญของบีวายดี เพราะเป็นครั้งแรกที่มีโรงงานของตนเอง ในเซินเจิ้น

ในอุตสาหกรรมรถยนต์ บีวายดี เริ่มต้นในปี 2547 กับเครื่องยนต์สันดาปภายในหรือ ICE ที่เปิดตัวรุ่นแรกคือ BYD F3 ด้วยยอดขายในปีแรก 1 หมื่นคัน

‘บีวายดี’ ดาวรุ่งตลาด EV โลก ย้อนดูปัจจัยดันโตก้าวกระโดด

ปี 2551 บีวายดี ถูกจับตามองจากเวทีโลก เมื่อมหาเศรษฐีโลก วอร์เรน บัฟเฟตต์ ซื้อหุ้น BYD ในสัดส่วน 10% ซึ่งก็น่าจะเป็นการเลือกซื้อที่ถูกทางเพราะครั้งนั้นบัฟเฟตต์จ่ายเงิน 8 ดอลลาร์ ฮ่องกง /หุ้น แต่ปัจจุบันพุ่งไปอยูที่ 250 ดอลลาร์ฮ่องกง

ส่วนการรุกเข้าสู่ตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอย่างจริงจังเริ่มในปี 2553 ถัดมาอีก 1 ปี ร่วมทุนกับ เดมเลอร์ เยอรมนี สัดส่วน 50:50 และเป็นการกำเนิด เดนซ่า (Denza) ซึ่งคนไทยอาจจะคุ้นหูกับชื่อนี้ เพราะ เพิ่งนำเดนซ่า ดี9 (Denzd D9) มาแสดงในงาน บางกอก อินเตอร์เนชันแนล มอเตอร์โชว์ที่ผ่านมา และมีแผนี่จะเปิดตลาดเร็วๆ นี้

ปัจจุบัน บีวายดี ถือหุ้น 90%

ทิศทางในอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของบีวายดี เด่นชัดยิ่งขึ้นในปี 2558 เมื่อบริษัทประกาศกลยุทธ์ 7+4

7 หมายถึงประเภทรถทั่วไป ขณะที่ 4 คือประเภทของรถพิเศษต่าง เช่น รถที่ใช้งานในเหมือง รถที่ใช้งานในท่าเรือเป็นต้น ซึ่งทั้งหมดเป็นสิ่งที่เชื่อว่า มีศักยภาพสำหรับพลังงานไฟฟ้า

อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้บีวายดี เติบโตได้รวดเร็ว คือ การมีศูนย์ออกแบบของตนเอง ซึ่งเริ่มต้นเป็นครั้งแรกในปี 2562 นอกจากนี้ก็ยังให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนา หรือ อาร์แอนด์ดี โดยปัจจุบันเปิดดำเนินการทั่วโลกถึง 10 มีบุคลากรที่ทำงานในส่วนนี้ 6.9 หมื่นคน หรือมากกว่า 10% ของพนักงานทั่วโลกประมาณ 6 แสนคน

สำหรับแนวทางการพัฒนา อีวี นอกจากการมีรถที่หลากหลาย ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การเปิดตัว อี-แพลทฟอร์ม (E-Platform) โดยเป็นแพลทฟอร์มรถพลังงานไฟฟ้าที่มีความยืดหยุ่น สามารถพัฒนาโครงสร้างตัวถังได้หลาหยรูปแบบ และหลายยี่ห้อ เช่น พันธมิตรทางธุรกิจที่สำคัญอย่างโตโยต้า ก็นำไปพัฒนาเป็น BZ3

‘บีวายดี’ ดาวรุ่งตลาด EV โลก ย้อนดูปัจจัยดันโตก้าวกระโดด

นอกจากนั้น ในปี 2565 บีวายดี ก็ได้พัฒนาโครงสร้างแพลทฟอร์มอีวี ที่เรียกว่า Cell to Body หรือการจัดวางเซลล์แบตเตอรีเป็นหนึ่งในโครงสร้างรถ ไม่ได้แยกจากกันเหมือนที่ผ่านมา ที่ต้องผลิตแบเตอรี จากนั้นจึงนำแพคแบตเตอรีไปติดตั้งกับรถในตำแหน่งต่างๆที่เหมาะสม เช่น ใต้ท้องรถสำหรับรถยนต์นั่งทั่วไป

‘บีวายดี’ ดาวรุ่งตลาด EV โลก ย้อนดูปัจจัยดันโตก้าวกระโดด

แต่โครงสร้างใหม่จะออกแบบการจัดเรียง จัดวางเซลล์แบตเตอรีเข้าไปกับโครงสร้างรถ ทำให้โครงสร้างตัวรถมีความแข็งแกร่งมากขึ้น และตัวแบตเตอรีเองก็ยึดแน่นกับโครงสร้างรถ ลดการเคลื่อนไหวไม่เหมือนกับการแยกผลิตแล้วนำมาติดตั้ง

นอกจากนี้ยังทำให้โครงสร้างรถมีความกะทัดรัดมากขึ้น

นั่นเป็นส่วนหนึ่งในตัวอย่างความเคลื่อนไหวของบีวายดีที่ทำให้ธุรกิจขยายตัวเร็ว เกิดจากการขับเคลื่อนตลอดเวลา ซึ่งปัจจุบัน บีวายดี ยังมีโครงการที่รออยู่อีกมากมาย 

และหากไปดูเรื่องของสิทธิบัตร จะพบว่าบีวายดีนั้นยื่นขอไป 4 หมื่นรายการ และอนุมัติการจดแล้ว 2.8 หมื่นรายการ ในจำนวนนี้เกี่ยวกับรถยนต์ 1.2 หมื่นรายการ