โรงงานรีไซเคิลยางแห่งแรกในโลก ของ 'มิชลิน'

โรงงานรีไซเคิลยางแห่งแรกในโลก ของ 'มิชลิน'

ระบุ 90% สามาระถนำกลับมาใช้ใหม่ ทั้งผลิตยาง สายพานลำเลียง ฯลฯ

มิชลิน ผู้ผลิตยางรยถนต์รายใหญ่ของโลก เริ่มต้นก่อสร้างโรงงานรีไซเคิลยางล้อที่ทันสมัย เป็นแห่งแรกของโลก ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศชิลี เบื้องต้นจะรองรับการรีไซเคิลยางจากรถเหมืองในประเทศ

มีกำหนดจะแล้วเสร็จพร้อมเริ่มเดินสายพานการผลิตในปี 2566 โดยใช้งบลงทุนมากกว่า 30 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 900 ล้านบาท

เบื้องต้น สามารถรีไซเคิลได้ 30,000 ตัน/ปี หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 60% ของยางรถเหมืองจากทั่วประเทศที่ถูกนำมาบดให้เป็นเศษยางในแต่ละปี

มิชลินระบุว่า โซลูชั่นในการรีไซเคิลครบวงจรซึ่งจะแปรรูปทุกส่วนของยางล้อเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยเศษยางจะถูกเก็บรวบรวมจากพื้นที่ประกอบกิจการของลูกค้าโดยตรง จากนั้นจะถูกขนส่งไปยังโรงงานเพื่อตัดเป็นชิ้นเล็กๆ และนำไปรีไซเคิล

ตามแผนงาน ปัจจุบัน 90% ของวัสดุที่ได้จากการรีไซเคิลจะถูกนำกลับมาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์จากยาง หลายประเภท เช่น ยางล้อ, สายพานลำเลียง และผลิตภัณฑ์กันสั่นสะเทือนต่างๆ ส่วนอีกร้อยละ 10 ที่เหลือโรงงานจะนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าและความร้อนเพื่อใช้ภายในโรงงานเอง

แซนเดอร์ เวอร์มิวเลน รองประธานฝ่ายพัฒนาธุรกิจและการตลาด กลยุทธ์ และธุรกิจใหม่ด้านวัสดุไฮเทค กล่าววการร่วมทุนกับเอ็นไว เป็นอีกก้าวแห่งความสำเร็จที่สำคัญยิ่งซึ่งจะช่วยให้เราสามารถนำเสนอโซลูชั่นด้านการรีไซเคิลที่ทันสมัยล่าสุดให้กับลูกค้า ควบคู่ไปกับการพัฒนาธุรกิจใหม่ ๆ ให้กับกลุ่มมิชลิน ขณะนี้เรากำลังอยู่ระหว่างเจรจากับลูกค้ากลุ่มธุรกิจเหมืองสัญชาติชิลี 2-3 ราย เพื่อทำสัญญาระยะยาวร่วมกัน การนำเทคโนโลยีของเอ็นไวโรมาใช้ในสเกลขนาดใหญ่เช่นนี้เท่ากับเป็นการสนับสนุนเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมของเอ็นไวโรและส่งเสริมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

โรงงานนี้ เป็นความร่วมมือกับ “เอ็นไวโร”  บริษัทสัญชาติสวีเดนซึ่งเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีที่ได้รับสิทธิบัตรในการนำคาร์บอนแบล็ค น้ำมัน เหล็กกล้า และก๊าซ จากยางที่สิ้นอายุใช้งานแล้วกลับมาใช้ใหม่

161397964597

โรงงานรีไซเคิลยางล้อแห่งนี้สอดคล้องกับพันธกิจของกลุ่มมิชลินที่ต้องการผลิตยางโดยใช้วัสดุที่มีความยั่งยืนในสัดส่วนมากขึ้นภายใต้แนวคิด VISION กลุ่มมิชลินจึงวางจุดยืนในฐานะ “พลังแห่งความเป็นหนึ่ง” โดยมุ่งพัฒนาความร่วมมือรูปแบบใหม่ที่เกิดจากการผนึกกำลังกับหน่วยงานด้านเทคโนโลยีต่างๆ ในหลากหลายสาขา

การร่วมพันธมิตรกับเอ็นไวโรเกิดขึ้นหลังจากที่มิชลินได้ดำเนินโครงการริเริ่มอื่นๆ และร่วมพันธมิตรกับผู้บุกเบิกด้านวัสดุรีไซเคิลและวัสดุที่มีความยั่งยืนหลายราย โดยเป้าหมายของโครงการริเริ่มและการร่วมพันธมิตรส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อสร้างและพัฒนาระบบรีไซเคิลสำหรับยางล้อที่สิ้นอายุใช้งานแล้วและขยะพลาสติก