เกรท วอลล์ เดินเครื่อง เปิดโรงงาน ระยอง
โรงงานเต็มรูปแบบแห่งที่ 12 ของเกรท วอลล์ และแห่งที่ 2 นอกประเทศจีน ชูเทคโนโลยีการผลิต ทั้ง AI หุ่นยนต์ 53 ตัว
เกรท วอลล์ มอเตอร์ เปิดโรงงานเต็มรูปแบบแห่งที่ 12 และเป็นแห่งที่ 2 นอกประเทศจีน ที่ระยอง ประเทศไทย อย่างเป็นทางการวันที่ 9 มิถุนายน 2564 โดยมี หวัง ลี่ผิง อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจและพาณิชย์ ประจำสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เข้าร่วมพิธี
พร้อมกับการเผยโฉมรถคันแรกที่ออกจากสายการผลิตคือ ฮาวาล เอช6 ไฮบริด ที่กำหนดเปิดตัวอย่างเป็นทางการวันที่ 28 มิถุนายน แต่เปิดให้จองสิทธิ์ลงทะเบียนซื้อตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน
โรงงานแห่งนี้มีกำลังการผลิตสูงสุด 80,000 คัน/ปี และการผลิตจริง 40% จะส่งออกไปยังตลาดประเทศที่ใช้รถพวงมาลัยขวาเช่นเดียวกับไทย
โรงงาน เกรท วอลล์ มอเตอร์ มอเตอร์ จังหวัดระยอง ประกอบไปด้วย 4 ส่วนหลัก อันได้แก่
- Press Shop
- Body Shop
- Paint Shop
- General Assembly (GA) Shop
โดยแต่ละส่วนจะนำและเทคโนโลยีระบบการผลิตเข้ามาใช้ ทั้งระบบ Artificial Intelligence (AI) การใช้หุ่นยนต์และระบบควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ซึ่งได้รับการคิดค้นและพัฒนาจากศูนย์วิจัยและพัฒนาของเกรท วอลล์ มอเตอร์ ซึ่งมีกว่า 10 แห่ง ใน 7 ประเทศทั่วโลก
โรงงานระยอง มีพื้นที่กว่า 30,000 ตารางเมตร ติดตั้งหุ่นยนต์ในสายการผลิต 53 ตัว โดยแบ่งเป็นหุ่นยนต์ FANUC จำนวน 47 ตัว ที่ทำหน้าที่เป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมตัวถังรถยนต์ ทำงานร่วมกับหุ่นยนต์อีก 6 ตัว ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งต่อชิ้นส่วนในการผลิตในแต่ละสถานี
ส่วนระบบที่นำเข้ามาใช้ในโรงงานแห่งนี้ เช่น
- ระบบประมวลผลภาพ MES Process Visualization เป็นการแสดงข้อมูลการประกอบชิ้นส่วน และการสร้างตัวถัง ในรูปแบบดิจิทัลแทนที่การใช้กระดาษ ซึ่งแผนการผลิตจะถูกส่งผ่านระบบ MES โดยอัตโนมัติ เพื่อป้องกันความผิดพลาดต่าง ๆ เช่น การประกอบชิ้นส่วนไม่ถูกต้อง หรือมีการติดตั้งออปชั่นที่ไม่ถูกต้อง โดยระบบจะแสดงข้อมูลชิ้นส่วนยานยนต์ที่กำลังอยู่ในกระบวนการผลิตปัจจุบันเป็นรูปภาพบนหน้าจออุปกรณ์พกพา (PDA) เพื่อความถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น
- ระบบ VIN number เป็นการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ AI มาใช้เพื่อเพื่อบอกตำแหน่ง ความลึก ความยาว และข้อมูลต่างๆ อัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นการจับภาพเพื่อบ่งบอกอัตลักษณ์ของชิ้นส่วนต่างๆ การวิเคราะห์และการเปรียบเทียบชิ้นส่วน ซึ่งสามารถวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลได้จากกาประทับเลข VIN Number การบันทึกแผนการผลิตลงในระบบ MES หรือการประทับบาร์โค้ด
- Automatic Model Switching เทคโนโลยีการสลับรุ่นแบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีอัจฉริยะเฉพาะของเกรท วอลล์ มอเตอร์ โดยเป็นอุปกรณ์หยิบและยึดจับหลากหลายรูปแบบที่ทำให้สามารถทำงานได้อย่างยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น สามารถผลิตรถยนต์ได้หลากหลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์เอสยูวีหรือรถกระบะร่วมกันได้ภายในสถานีเดียวกัน
- การเคลือบสีด้วยไฟฟ้า แบบ The 8th Generation Ultra-high Penetration Electrophoretic Paint
- เทคโนโลยี Regenerative Thermal Oxidation อุปกรณ์ออกซิเดชั่นความร้อนที่เกิดใหม่ขั้นสูง ที่นำเข้ามาจากประเทศเยอรมนี ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดก๊าซเสียได้มากกว่า 99%
- ระบบการพ่นสีแบบ 24-Color Robot Automatic Spraying ควบคุมด้วยระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สามารถเลือกเปลี่ยนสีรถยนต์แต่ละคันได้ตามที่กำหนด และใช้งานได้ถึง 24 สี
- PDA Smart Scan & QA System ระบบสแกน ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันและลดความผิดพลาดในการประกอบรถ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ระบบจะรวมรวมข้อมูลอะไหล่ทั้งหมด 99 ชนิด โดยจะมีการสแกนข้อมูลชิ้นส่วนเพื่อบันทึกลงในระบบก่อนการเริ่มประกอบรถยนต์ผ่านแทนที่จะเป็นการบันทึกด้วยมือเพื่อป้องกันความผิดพลาด 4 ประเภทในระหว่างการผลิต ไม่ว่าจะเป็นจากการลืมสแกน การประกอบผิดพลาด การลืมประกอบ หรือการประกอบซ้ำ เป็นการลดปัญหาเรื่องความผิดพลาดในการประกอบชิ้นส่วนหลักหรือชิ้นส่วนที่คล้ายคลึงกันให้กลายเป็นศูนย์ และมีประสิทธิภาพในการติดตามชิ้นส่วนต่างๆ
- Intelligent Chassis Line มีเสาสำหรับแขวนโครงรูปตัว L เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย โดยโครงแขวนนี้สามารถรองรับรูปแบบแผนการผลิตที่หลากหลาย
- Dual-Life AGV ระบบเคลื่อนย้ายอัตโนมัติเต็มรูปแบบ เพื่อการประกอบตัวถังที่รวดเร็ว
- Assembly Manipulator การใช้หุ่นยนต์ที่ มาช่วยในการประกอบรถยนต์ โดยเฉพาะในส่วนที่มีความซับซ้อน เช่น การประกอบ Panoramic Sunroof เป็นต้น