"ดาต้า เซ็นเตอร์" ผู้อยู่เบื้องหลังการเติบโตของโลกคริปโตฯ
"ดาต้า เซ็นเตอร์" ไม่เพียงแต่เป็นพื้นที่เก็บข้อมูล แต่ยังก้าวไปสู่การทำธุรกิจเชิงข้อมูลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อรองรับการทำงาน และกิจกรรมด้านสกุลเงินดิจิทัล ท่ามกลางความท้าทายในวงการคริปโตฯ
นับตั้งแต่เอกสาร Whitepaper อันเลื่องชื่อของ Satoshi Nakamoto ได้ออกสู่สายตาสาธารณชนเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว สกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrencies) ก็ได้เข้ามามีอิทธิพลในกระแสโลกอย่างท่วมท้น ปัจจุบันมีสกุลเงินดิจิทัลมากกว่า 18,000 สกุลทั่วโลก โดยแต่ละสกุลใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทั้งยังทำงานบนอัลกอริธึมฉันทามติ (Consensus Algorithm) ที่แตกต่างกันอีกด้วย
ผลกระทบที่สะสมมาเรื่อยๆ นี้ได้ส่งผลต่อโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและทำให้ต้องใช้พลังงานสูงขึ้น มากกว่านั้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การใช้พลังงานสูงเช่นนี้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย และถือเป็นประเทศแนวหน้าของโลกที่ใช้คริปโตฯ ซึ่งมีประชากรในประเทศ 20% ลงทุนใน สินทรัพย์ดิจิทัล
Bitcoin ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในโลกตามมูลค่าหลักทรัพย์ตามตลาดนั้น ใช้พลังงานไฟถึง 138 Terrawatt ต่อชั่วโมงต่อปี โดยอิงจากดัชนีการใช้ไฟฟ้า Bitcoin ของมหาวิทยาลัย Cambridge ซึ่งนับเป็นปริมาณมากกว่าครึ่งหนึ่งของการใช้พลังงานทั้งหมดในประเทศไทยในปี 2563 มากกว่านั้นเมื่อมีการออกกฎระเบียบ อัตราการใช้สกุลเงินดิจิทัลก็เพิ่มสูงขึ้น และรัฐบาลต่าง ๆ ได้ร่วมกันเปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) จึงคาดการณ์กันว่าจะมีความต้องการใช้สกุลเงินดิจิทัลและ Decentralised Finance หรือ DeFi กันอย่างล้นหลาม ก่อให้เกิดผลกระทบในการใช้พลังงานอย่างมหาศาล ทั้งยังทำให้เกิดอุปสรรคในการพัฒนาให้ดาต้า เซ็นเตอร์เกิดความยั่งยืนอีกด้วย
มีการคาดการณ์ว่า กลุ่มคนจำนวนมากในไทยจะหันมาใช้ คริปโตฯ เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน โดยหลายภาคส่วนได้ดำเนินการพัฒนาในหลากมิติเพื่อให้ใช้สกุลเงินดิจิทัลได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น โดยกระทรวงการคลังได้ประกาศยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากการซื้อขายคริปโตฯ ในบริษัทแลกเปลี่ยนสกุลเงินที่ได้รับอนุญาต รวมถึงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้เริ่มแผนงานที่จะเปลี่ยนให้ประเทศเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับการท่องเที่ยวที่ใช้คริปโตฯ ได้
ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องไม่ใช้คำว่า 'ถ้า' อีกต่อไป แต่ต้องใช้คำว่า 'เมื่อไหร่' จะเกิดการใช้สกุลเงินในวงกว้าง และ ดาต้า เซ็นเตอร์ ควรจะเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานไปเป็นในรูปแบบใดเพื่อรองรับกิจกรรมด้านสกุลเงินดิจิทัลในขณะที่ยังคงสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นควบคู่กันไปได้ด้วย
ดาต้า เซ็นเตอร์ที่รองรับความหนาแน่นสูง (High Density Data Centres)
โดยปกติแล้ว เราสามารถเพิ่มชั้น (floor) เข้าไปในดาต้า เซ็นเตอร์ได้เลยเพื่อให้ใส่แร็คและเซิร์ฟเวอร์ได้จำนวนมากขึ้นเพื่อรองรับปริมาณงานไอทีที่มากขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีกว่าเดิม แม้แต่ High Density Computing และ High Performance Computing (HPC) ซึ่งเมื่อก่อนจะใช้กับบริษัทยักษ์ใหญ่เท่านั้น ก็ได้ลองนำมาใช้ในการแก้ปัญหาความต้องการด้านพลังงานและการคำนวณอันน่าท้าทายในวงการคริปโตอีกด้วย
ระบบคอมพิวติ้งทั้งแบบ Modular รวมถึง High density และ High performance รุ่นปัจจุบันช่วยให้ดาต้า เซ็นเตอร์เพิ่มความหนาแน่นของกำลังไฟฟ้าและกำลังคอมพิวติ้งต่อตารางฟุตได้มากขึ้น จึงเหลือพื้นที่ให้ใช้งานเพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องปรับ ขยาย หรือรื้อถอนโครงสร้างพื้นฐาน ด้วยเหตุนี้ ดาต้า เซ็นเตอร์ จึงใช้พื้นที่ได้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม โดยมีพื้นที่เหลือสำหรับวางอุปกรณ์อื่นๆ หรือมีพื้นที่สำหรับการขยับขยายในอนาคต พร้อมทั้งเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้อีกด้วย
ก้าวสู่ยุคใหม่ของระบบระบายความร้อน
เมื่อพูดถึงการยกระดับการดำเนินการเพื่อรองรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคริปโต เช่น การทำเหมืองคริปโต (Cryptomining) เป็นต้น ระบบเก่าที่ใช้ระบบระบายความร้อนทั้งแบบ Rear Door Heat Exchangers (RDHx) และ Liquid to Chip (LTC) จะกระจายความร้อนได้ไม่เพียงพอและไม่มีประสิทธิภาพอีกต่อไป การเปลี่ยนแร็คเก่าให้กับโมเดลแบบ Modular จะช่วยจัดการความร้อนที่เกิดจากพลังงานที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดในพื้นที่นั้น
ทุกวันนี้ การระบายความร้อนแบบแช่ ได้ประสบความสำเร็จในการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการกระจายความร้อนอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในสถาปัตยกรรมทั้งแบบเปิดและแบบปิด โดยใช้เทคโนโลยีสารทำความเย็นเหลวแบบไดอิเล็กตริกเพื่อควบคุมความร้อนออกจากดาต้า เซ็นเตอร์
การระบายความร้อนแบบแช่ (Immersion Cooling) ได้พลิกโฉมวงการดาต้า เซ็นเตอร์ โดยเฉพาะในกิจกรรมที่เกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัล เป็นต้น เทคโนโลยีการแช่นั้นสะอาด เงียบ และเย็น ช่วยให้ไม่ต้องซ่อมบำรุงฮาร์ดแวร์บ่อยครั้ง โดยมีรายงานว่า สารหล่อเย็นมีอายุการใช้งานยาวนานไม่ต่ำกว่าสิบปี การบำรุงรักษาเพียงอย่างเดียวที่ต้องทำคือการเปลี่ยนไส้กรองเล็กๆ น้อยๆ เป็นประจำทุกปี
นอกจากนี้ เทคโนโลยีการระบายความร้อนแบบแช่ยังช่วยให้ดาต้า เซ็นเตอร์สามารถปรับเปลี่ยนขนาดได้เร็วและง่ายกว่าเดิม เพราะใช้งานร่วมกับฮาร์ดแวร์ทุกประเภทได้ ศักยภาพแห่งเครื่องระบายความร้อนแบบแช่อันครบครันเช่นนี้เป็นสิ่งที่คุณควรคิดถึงเป็นอย่างแรก
ด้วยเหตุนี้ เทคโนโลยีการทำความเย็นแบบแช่ จึงกลายเป็นสิ่งแรกที่คุณควรคำนึงถึงเมื่อต้องการใช้กับดาต้า เซ็นเตอร์ เพื่อพลิกโฉมให้เป็นธุรกิจที่มีความยั่งยืน อีกทั้งยังประหยัดต้นทุน ประหยัดพื้นที่ และเย็นขึ้นกว่าเดิม
แนวทางที่ยั่งยืนเพื่ออนาคตของทุกคน
วงการดาต้า เซ็นเตอร์กำลังปรับตัวไปตามแนวทางที่เป็นมิตรต่อสภาพอากาศมากขึ้น โดยในปี 2565 เราได้เห็นผู้ให้บริการหันมาใช้แนวทางดังกล่าวมากกว่าเดิม ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าพลังงานในประเทศไทยเพียง 2% เท่านั้นที่มาจากแหล่งพลังงานที่ยั่งยืน อีกทั้งอาจต้องใช้ความพยายามมากขึ้นอีกกว่าที่กลุ่มองค์กรจะยอมรับและเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนทั้งหมดได้อย่างแท้จริง ในขณะที่อุตสาหกรรมกำลังรอให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดาต้า เซ็นเตอร์สามารถสร้างข้อได้เปรียบด้วยระบบพลังงานที่กระจายตัวแบบไฮบริด (hybrid distributed energy system) ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้
เซลล์เชื้อเพลิง สินทรัพย์หมุนเวียน และระบบกักเก็บพลังงานระยะยาว เช่น ระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ (BESS) ล้วนมีบทบาทที่เอื้อให้เกิดความยั่งยืน ความยืดหยุ่น และความน่าเชื่อถือได้ บางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เริ่มรีไซเคิลลิเธียมไอออนแล้ว เพราะคาดว่าจะมีแนวโน้มการใช้พลังงานไฮบริดและยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งยังเป็นการสนับสนุนแนวทางการรีไซเคิลอย่างยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีโลหะวิทยาสารละลายที่ล้ำสมัย ตอนนี้เราก็ได้แค่เพียงรอเวลาให้ประเทศไทยหันมาใช้แนวทางดังกล่าว
สรุป
โซลูชันที่มีความหนาแน่นสูง (High density) และใช้พลังงานต่ำ (PUE) เช่น Liebert VIC จะช่วยให้ ดาต้า เซ็นเตอร์ มีความสามารถไม่เพียงแต่รองรับไคลเอนต์ที่ต้องใช้คอมพิวติ้งมากที่สุดได้เท่านั้น แต่ยังช่วยให้ธุรกิจขับเคลื่อนไปถึงเป้าหมายด้วยความยั่งยืนและสร้างผลกำไรได้มากขึ้น และเมื่อเศรษฐกิจโลกกำลังใช้ดิจิทัลมากขึ้นทุกวัน เราจึงพูดได้อย่างมั่นใจว่าคริปโตฯ จะเป็นแกนหลักในอุตสาหกรรมดาต้า เซ็นเตอร์ โดยคริปโตอาจก่อให้เกิดผลดีหรือผลร้ายต่อดาต้า เซ็นเตอร์ก็เป็นได้ ดังนั้นเราจำเป็นต้องใช้แนวทางที่เหมาะสมเพื่อหาประโยชน์จากโอกาสที่อยู่ตรงหน้าและเปลี่ยนเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยให้เราชนะทุกสนามแข่ง
เขียนโดย พิเชฏฐ เกตุรวม Country Manager เวอร์ทีฟ ประจำประเทศไทย