ไทยพลิกโฉมธุรกิจ ปลดล็อกด้วย ดาต้า เซ็นเตอร์
การแพร่ระบาดของโรคได้เร่งการเปลี่ยนโฉมด้วยดิจิทัลให้เร็วขึ้นกว่าเดิม ดาต้า เซ็นเตอร์ จึงกลายมามีบทบาทสำคัญมากขึ้นในโลกดิจิทัลทุกวันนี้
ระบบ ดาต้า เซ็นเตอร์ ในปัจจุบันมีนวัตกรรมอยู่ในระดับแนวหน้า อีกทั้ง ยังช่วยสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับภารกิจสำคัญยิ่งของธุรกิจและจำนวนข้อมูลที่สะสมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น กลุ่มธุรกิจไม่เพียงแต่ต้องพึ่งพา ดาต้า เซ็นเตอร์ สำหรับการจัดเก็บเท่านั้น แต่ยังใช้เพื่อกู้คืนข้อมูลเมื่อเกิดความเสียหาย รวมถึงการบริหารจัดการข้อมูลด้วย
ดาต้า เซ็นเตอร์ มีประสิทธิภาพและความคล่องตัวดีกว่าเดิมนั้นส่งผลให้ตลาดดาต้า เซ็นเตอร์ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากรายงานของ TechNavio บริษัทวิจัยเทคโนโลยีระดับโลกได้ระบุว่า การติดตั้งดาต้า เซ็นเตอร์ ในภูมิภาคนี้คาดว่าจะเติบโต 3.61 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) ถึง 12 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2564-2568 โดยได้รับแรงขับจากการใช้บริการบนคลาวด์ ระบบ IoT (Internet of Things) ระบบวิเคราะห์บิ๊กดาต้าที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการนำระบบการจัดการคมนาคม (Mobility) มาประยุกต์ใช้มากขึ้น การเปลี่ยนไปใช้ระบบดิจิทัลอย่างฉับไว และการให้บริการด้านดิจิทัลต่างๆ ในภูมิภาค
ทั้งนี้ มีโครงการ ดาต้า เซ็นเตอร์ อีกหลายโครงการกำลังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการและผู้ปฏิบัติการจำนวนมากก็กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไทยเป็นประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังใช้ ดาต้า เซ็นเตอร์ เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นกรุงเทพมหานคร ก็พร้อมแล้วที่จะเป็นสนามทดลองการประยุกต์ใช้งานระบบ IoT เนื่องจากเป็นเมืองที่มีส่วนขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานของไอทีทั่วโลกผ่านการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
- ดาต้า เซ็นเตอร์ และการประหยัดพลังงาน
แม้ธุรกิจต่างมุ่งใช้ประโยชน์จากข้อมูลให้ได้มากที่สุด แต่การเพิ่มพลังการประมวลผลและความจุในการจัดเก็บข้อมูลก็ส่งผล ดาต้า เซ็นเตอร์ ต้องใช้พลังงานมากขึ้น และเมื่อกลุ่มธุรกิจเริ่มตระหนักถึงเรื่องปริมาณการปล่อยคาร์บอน (Carbon Footprint) มากขึ้นด้วยนั้น ต้องเผชิญกับภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกระหว่างความยั่งยืนและความต้องการอย่างแรงกล้าในการเพิ่มประสิทธิภาพและการใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ผู้ดูแลดาต้าเซ็นเตอร์ส่วนใหญ่กำลังเริ่มออกแบบและนำนวัตกรรมโซลูชันต่างๆ มาประยุกต์ใช้ ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มากกว่านั้นบริษัทเหล่านี้ยังกำหนดเป้าหมายขององค์กรและปฏิบัติตามแผนการเพื่อให้การดำเนินงานเกิดประโยชน์ต่อทั้งธุรกิจและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน ด้วยเหตุนี้การใช้พลังงานหมุนเวียนจึงมีความสำคัญในกระบวนการนี้
ตลาด ดาต้า เซ็นเตอร์ ในภูมิภาคที่กำลังเติบโต ภาครัฐจากทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังมุ่งให้ความสำคัญด้านการติดตั้งและการใช้งานดาต้า เซ็นเตอร์ให้ประหยัดพลังงาน และในไทยเอง ก็ได้เห็นว่ามีการลงทุนในดาต้า เซ็นเตอร์เป็นจำนวนมาก
เนื่องจากไทยมีส่วนร่วมในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แผนพัฒนาพลังงานแห่งชาติของประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายที่จะบรรลุความเป็นกลางของคาร์บอน (Carbon neutrality) ภายในปี 2593 และการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero carbon) ภายในปี 2608 โดยแผนพัฒนาพลังงานได้ระบุว่า ไทยกำลังเพิ่มขีดความสามารถด้านพลังงานหมุนเวียนและส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์อีกด้วย
อุตสาหกรรม ดาต้า เซ็นเตอร์ นับว่ามีความก้าวหน้าในการปฏิบัติตามวาระแห่งชาติ เมื่อไม่นานนี้ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF และ บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL ได้จัดตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนและการผลิตโครงการพลังงานหมุนเวียนในประเทศ และตั้งเป้าไว้ว่าจะบรรลุเป้าหมายที่ 1,000mW ในอีกห้าปี
- ดาต้า เซ็นเตอร์ ที่ใช้งานได้ไปอีกยาวนาน
แม้อุตสาหกรรมดาต้า เซ็นเตอร์ของประเทศไทยมีอนาคตที่สดใส แต่ในช่วงสองปีที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนให้เป็นระบบดิจิทัลและการใช้เทคโนโลยีไอทีที่ทันสมัยนั้นเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เนื่องจากในแต่ละวันมีปริมาณข้อมูลที่สร้างและจัดเก็บเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณเรื่อยๆ ตลาดจึงต้องมีความคล่องตัวมากพอเพื่อให้เติบโตได้อย่างรวดเร็ว ผู้ให้บริการควรต้องให้ความสำคัญสูงสุดในเรื่องการเสริมความแข็งแกร่งให้กับดาต้า เซ็นเตอร์เพื่อให้ใช้งานไปได้อีกยาวนานในอนาคต
ความนิยมใช้ดาต้า เซ็นเตอร์แบบ PMDCs หรือ Prefabricated Modular Data Center มากขึ้นนับว่าเป็นการช่วยเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกให้พร้อมรับมือกับความท้าทายที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และความจำเป็นในการใช้ระบบดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างฉับไว
จากการวิจัยชิ้นใหม่ของ Vertiv และ OMDIA กลุ่มผู้บริหารที่ใช้ดาต้าเซ็นเตอร์มากกว่าครึ่ง (52 เปอร์เซ็นต์) ที่ตอบแบบสำรวจได้ประยุกต์ใช้โซลูชัน PMDC และ 34 เปอร์เซ็นต์ กำลังใช้งานโมดูลมากกว่า 10 โมดูล ในขณะที่อีก 7 เปอร์เซ็นต์ มีโซลูชัน PMDC ที่กำลังใช้งานอยู่มากกว่า 50 โซลูชัน และผู้ตอบแบบสอบถามเกือบทั้งหมด (99 เปอร์เซ็นต์) เผยว่ากำลังวางแผนที่จะใช้ดาต้า เซ็นเตอร์แบบ Modular ในปีต่อๆ ไป และ 93 เปอร์เซ็นต์ กล่าวว่าจะใช้โซลูชัน Prefabricated Modular เป็นโซลูชันเริ่มต้นในกระบวนการติดตั้ง
PMDC ยังใช้ชื่อว่า Integrated Modular Solution หรือดาต้า เซ็นเตอร์แบบ Containerized ซึ่งได้ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะด้านในแต่ละธุรกิจเพื่อให้สอดรับกับโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงปลอดภัยซึ่งผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วจะเป็นผู้บริหารจัดการ PMDC นั้นแตกต่างจากอุปกรณ์ดั้งเดิม โดย PMDC จะขจัดความซับซ้อนในด้านการตั้งค่าและบำรุงรักษาดาต้า เซ็นเตอร์ เนื่องจากสามารถเพิ่มความจุของดาต้า เซ็นเตอร์ไปพร้อมกับการขยายตัวของธุรกิจ ได้โซลูชันแบบ Modular ยังรองรับการเติบโตที่เพิ่มขึ้น และธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากความสามารถในการปรับเปลี่ยนขนาดและความยืดหยุ่นที่มากขึ้น เพราะโซลูชั่นสามารถขยับขยายได้อย่างรวดเร็วและไม่ยุ่งยาก
นอกจากนี้ โซลูชันแบบ Modular ยังเป็นทางเลือกที่ประหยัดกว่าที่จะช่วยให้โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่สำคัญแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่มากสุดสำหรับธุรกิจในปัจจุบัน
เมื่อโลกกำลังเติบโตจากการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ดาต้า เซ็นเตอร์ต้องการโซลูชันทางสถาปัตยกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และด้วยความต้องการใช้เพิ่มขึ้นแม้จะความท้าทายในการติดตั้งก็ตาม ผู้ให้บริการก็ยังจะได้รับประโยชน์จากโซลูชันที่ใช้พื้นที่เพียงเล็กน้อย สามารถปรับเปลี่ยนขนาด และประยุกต์ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว
เขียนโดย พิเชฏฐ เกตุรวม ผู้จัดการภูมิภาคอินโดจีน เวอร์ทีฟ ประจำประเทศไทย