3 ขั้นตอน พรรคการเมือง เฟ้นหาผู้ลงสมัคร ส.ส.

3 ขั้นตอน พรรคการเมือง เฟ้นหาผู้ลงสมัคร ส.ส.

 

3 ขั้นตอน พรรคการเมือง เฟ้นหาผู้ลงสมัคร .. โดย 11 คณะกรรมการสรรหา

เริ่มนับถอยหลังกันแล้ว สำหรับศึกเข้าคูหากาบัตรใบเดียว ในช่วงต้นปี 2562 แต่ก่อนจะไปถึงวันนั้น#กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ขอเชิญชวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง กว่า 52 ล้านคนทุกท่าน มาทำความรู้จัก วิธีเฟ้นหาผู้ลงสมัครส.ส. ทั้งแบบแบ่งเขต 350 คน และแบบบัญชี 150 คน ของพรรคการเมือง ตามคำสั่งคสช.ที่ 13/2561 กันก่อน มี 3 ขั้นตอนง่ายๆดังนี้ 

  1. พรรคการเมือง ต้องมี #คณะกรรมการสรรหาผู้ลงสมัครส.ส.จำนวน 11 คน แบ่งเป็นมาจาก กรรมการบริหารพรรค จำนวน 4 คน และตัวแทนสมาชิกพรรค จำนวน 7 คน 
  2. คณะกรรมการสรรหา จะทำการสรรหา สมาชิกพรรคที่จะลงสมัคร ส.ส.ทั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และแบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งจะต้องคำนึงถึง ความเท่าเทียมระหว่างชาย-หญิง และสัดส่วนของแต่ละภูมิภาค พร้อมทั้งต้องรับฟังความเห็นจาก หัวหน้าสาขา ตัวแทนสมาชิกพรรคประจำจังหวัด และสมาชิกพรรคที่เกี่ยวข้อง 
  3. คณะกรรมการสรรหา ก็จะเสนอรายชื่อ สมาชิกที่ผ่านการสรรหา ให้คณะกรรมการบริหารพรรคพิจารณาว่า จะเห็นชอบหรือไม่ ถ้าเห็นชอบ ก็ให้ประกาศรายชื่อ ผู้สมัครส.ส.ภายใน 7 วัน

ถ้าไม่เห็นชอบ ก็ให้คณะกรรมการสรรหาไปพิจารณาสรรหาใหม่ หากยืนยันบุคคลเดิม ให้คณะกรรมการสรรหา และคณะกรรมการบริหารพรรคประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณา แล้วให้ดำเนินการตามมติที่ประชุมต่อไป อาจจะส่งบุคคลเดิมหรือสรรหาบุคคลใหม่ หรือไม่ส่งผู้สมัครก็ได้ 

ปล. การส่งผู้สมัครส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยไม่ผ่านกระบวนการสรรหาเกิดขึ้นได้ 3 กรณี คือ 1.ผู้สมัครตายก่อนการปิดการรับสมัคร 2.การเลือกตั้งแทนการเลือกตั้งที่เป็นโมฆะ 3.การเลือกตั้งใหม่กรณีที่ไม่มีผู้สมัครใดได้คะแนนเสียงมากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใด

3 ขั้นตอน พรรคการเมือง เฟ้นหาผู้ลงสมัคร ส.ส.