แนวคิดการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจเพื่อระบบสาธารณสุข
แนวคิดการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจเพื่อระบบสาธารณสุขในระหว่างการเกิดภัยพิบัติ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดงานสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ
“แนวคิดการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจเพื่อระบบสาธารณสุขในระหว่างการเกิดภัยพิบัติ (BCM Concept towards Public Healthcare System during the Disaster)” โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Jomo Kenyatta University of Agriculture and Technology (JKUAT) โดยงานสัมมนาออนไลน์นี้จัดขึ้นโดยการสนับสนุนจาก JICA เพื่อโปรแกรม “ระบบสาธารณสุขที่ยั่งยืนด้วยการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ” ภายใต้โครงการ AUN/SEED-Net จากการจัดงานครั้งนี้นั้นไม่ใช่เพียงแสดงถึงความเข้มเข็งของความร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัย แต่ยังแสดงถึงศักยภาพของการร่วมงานกันของหน่วยงานภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยเช่นเดียวกัน ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และหลักสูตรสหสาขาวิชาการจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติ บัณฑิตวิทยาลัย
ในช่วงเริ่มต้น อาจารย์ ดร. Jing Tang (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้ให้ทรรศนะเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนในช่วงการระบาดของ COVID-19 และผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยตรงที่เกิดกับระบบสาธารณสุขโดยการจัดงานสัมมนาครั้งนี้นั้นยังเป็นส่วนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ ในข้อที่ 3 ข้อที่ 8 และข้อที่ 11 อีกด้วย
ความสำคัญของ Local Supply Chain Resilience ในการพัฒนาระบบสาธารณสุขให้มีความยั่งยืนในภาวะภัยพิบัติ
ศาสตราจารย์ ดร. Watanabe Kenji (Nagoya Institute of Technology) ได้นำเสนอถึงความสำคัญของระบบสาธารณสุขที่อยู่ภายใต้การอธิบายถึง‘ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญ’(Critical Infrastructure;CI)ถึงแม้ว่าในการทำงานระดับนโยบายนั้น CI จะถูกนิยามและกำหนดให้มีความแตกต่างกันไปตามแต่รัฐบาล แต่ในบริบทสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นนั้น ระบบโครงสร้างพื้นฐานนั้นไม่สามารถทำงานได้โดยระบบเดียว รวมถึงระบบสาธารณสุขที่เป็นส่วนหนึ่งของ CI ด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นส่วนที่แตกต่างออกไปของ CI นั้นคือการที่ระบบล้วนมีความเชื่อมโยงกัน และมีการสนับสนุนซึ่งกันและกันเพื่อทำให้ระบบห่วงโซ่อุปทานและกิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้นสามารถดำเนินไปได้อย่างยั่งยืน
การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ และการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจในระดับพื้นที่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้อธิบายถึงแนวคิดของการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจและความสามารถในการดำเนินการเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับการดำเนินงานที่เกิดจากภัยพิบัติ และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินการอย่างต่อเนื่องขององค์กรการบรรยายยังสร้างความเข้าใจถึงการดำเนินการ ‘BCM flow’ โดยเริ่มจากขั้นตอนการจัดตั้งนโยบาย การวิเคราะห์ การกำหนดกลยุทธ และท้ายที่สุดคือการกำหนดแผนทั้งหมด หลังจากมีการกำหนดแผนแล้ว ในขั้นตอนต่อมานั้นได้แก่ การกำหนดการประเมินผล การนำไปใช้ และการตรวจสอบซึ่งจะนำไปสู่คำตอบที่ว่าแผนเหล่านี้นั้นจะได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นได้อย่างไรในอนาคต นอกจากนั้นยังได้มีการกล่าวถึงแนวคิดของ Area-BCM ที่ได้เริ่มต้นจากประเทศญี่ปุ่น โดยที่มานั้นเกิดจากการที่ต้องการกำหนดขอบเขตศึกษาที่กว้างขึ้นแทนที่จะศึกษาเพียงแต่ละองค์กรหรือบริษัทเท่านั้น
การบริหารธุรกิจในประเทศเคนยาในสถานการณ์ภัยพิบัติ
อาจารย์ Anne Omamo (JKUAT) ได้เริ่มต้นการบรรยายโดยกล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานของภัยพิบัติในประเทศเคนยา ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์ภัยพิบัติในภาคธุรกิจและความเสียหายที่เกิดกับสิ่งปลูกสร้างและสินทรัพย์ สาธารณสุข และการบริการต่าง ๆ
ระบบสาธารณสุขของประเทศไทย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร.ต.ต.หญิง ดร.ปชาณัฎฐ์ นันไทยทวีกุล (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการบูรณาการระหว่างแนวคิดด้านการจัดการภัยพิบัติกับระบบสาธารณสุขในขั้นตอนของการเตรียมความพร้อม (Preparedness) ในวงจรของการจัดการภัยพิบัติ โดยในประเทศไทยนั้น องค์ความรู้เกี่ยวกับแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ(BCP)ในระบบสาธารณสุขนั้นมาจากการจัดตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ที่ได้มีการวางแผนการทำงานหลังจากภาวะวิกฤติในระดับภูมิภาค และการดำเนินการเพื่อยังป้องกันการให้บริการของโรงพยาบาลในภาวะวิกฤติผ่านการใช้งานระบบสื่อสังคมออนไลน์นอกจากนี้ยังได้มีการกล่าวถึงเครื่องมือและข้อแนะนำเพื่อยังคงการทำงานของระบบการปฏิบัติการในภาวะที่ไม่แน่นอนอย่างการระบาดของ COVID-19
ผลกระทบของ COVID-19 ต่อระบบสาธารณสุขของประเทศเคนยา
ดร. Caroline Ngugi (JKUAT) ได้กล่าวถึงข้อสรุปและความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศเคนยา และแนวโน้มของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2563 ที่ได้มีการพบผู้ติดเชื้อภายในประเทศเป็นรายแรก ระบบสาธารณสุขของประเทศเคนยานั้นได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อย่างมาก และผู้บรรยายยังได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการที่การระบาดของโรคนั้นทำให้เห็นถึงช่องว่างของการปฏิบัติงาน และการให้บริการนั้นต้องหยุดชะงักลง ตัวอย่างเช่นการที่ขาดข้อมูลที่จำเป็นทำให้ไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจ อีกทั้งปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ และทรัพยากรอื่น ๆ โดยทั้งประเทศเคนยา และประเทศไทยนั้นมีประชากรจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตชนบท อันเป็นกลุ่มประชากรที่ต้องพึ่งพิงระบบสาธารณสุขในระดับพื้นฐาน และอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนคล้ายคลึงกันทั้งสองประเทศ แต่ทางด้านของประเทศเคนยานั้นมีประชากรที่อยู่ในพื้นที่ชนบทมากกว่า 70% ของประชากรทั้งประเทศ จึงทำให้ยังมีความต่างในการดำเนินการอยู่