“Smart handy” อุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี UVC นวัตกรรมฝีมือคนไทย

“Smart handy” อุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี UVC นวัตกรรมฝีมือคนไทย

“Smart handy” อุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคอัตโนมัติ นวัตกรรมฝีมือคนไทยจาก เอชเค แมเนจเมนท์ แอนด์ เซอร์วิส กรุ๊ป ผนึกกำลัง ม.ธรรมศาสตร์ รับมือชีวิตวิถีใหม่ ปักธงตีตลาดโลกหนุนไทยสู่ประเทศนวัตกรรมก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง

Smart Handy มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย ได้ถึง 99 % ในระยะเวลา 18 วินาที ลดความเสี่ยงการเกิดโรคระบาด และโรคอุบัติใหม่ในอนาคต ช่วยให้ประชาชนออกมาใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจ และปลอดภัย ขับเคลื่อนการฟื้นตัวของประเทศให้เร็วยิ่งขึ้น 

นำร่องผุดโมเดลจับตลาดเชิงพาณิชย์ องค์กรขนาดใหญ่ ท่าอากาศยาน หน่วยงานราชการ โรงแรม ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล โรงเรียนและสถาบันการศึกษา ฯลฯ และเตรียมพัฒนาเพิ่มอีกหลายโมเดลครอบคลุม ธุรกิจองค์กรขาดเล็ก บ้านที่พักอาศัย 

ตั้งเป้าผลักดันนวัตกรรมไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมเตรียมแผนออกปักธงตลาดโลกภายใน 2  ปี หวังโกยรายได้ 250 ล้านบาท ภายในปี 2566  หวังเป็นจิ๊กซอว์ผลักดันประเทศก้าวสู่ประเทศแห่งนวัตกรรมก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง สู่ประเทศมีรายได้สูง

น.ส.จิรัฏฐ์ณิชชา กิติยาณัณท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอชเค แมเนจเมนท์ แอนด์ เซอร์วิส กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า การผลักดันประเทศไทยให้เป็นประเทศแห่งนวัตกรรม ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาและข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมไปถึงการสร้างนวัตกรรมจะช่วยเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ นำไปสู่การก้าวข้ามการเป็นประเทศรายได้ปานกลาง ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศกำลังพัฒนา

“Smart handy” อุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี UVC นวัตกรรมฝีมือคนไทย  

ประกอบกับสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดจากโรคโควิด-19 ที่ยังคงแพร่ระบาดและมีการขยายสายพันธุ์ ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก ทำให้มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม รวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนในประเทศ “Smart handy”  อุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคอัตโนมัติ จึงเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่ช่วยผลักดันขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ และสังคมให้ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว พร้อมรับมือชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ด้วยความมั่นใจ

เอชเค แมเนจเมนท์ แอนด์ เซอร์วิส กรุ๊ป ตระหนักถึงความสำคัญของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และเล็งเห็นถึงโอกาสในการพัฒนานวัตกรรม จึงได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) กับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบนวัตกรรมและเทคโนโลยี และคณะสหเวชศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยา ในการพัฒนานวัตกรรม Smart handy อุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคอัตโนมัติ  ด้วยรังสี UVC สามารถฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้สูงถึง 99 % 

“Smart handy” อุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี UVC นวัตกรรมฝีมือคนไทย

ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการคัดกรองเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดความวิตกกังวล และเพิ่มความมั่นใจ ให้กับประชาชนในการออกมาใช้ชีวิตประจำวัน ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจและสังคมได้อย่างต่อเนื่อง สามารถฟื้นตัวด้านเศรษฐกิจและสังคมในเชิงมหภาพได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะภาคการศึกษา เยาวชนสามารถเข้าสู่ระบบการศึกษาปกติ ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิชาการ ไม่เป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการของเยาวชน ที่ต้องการการเรียนรู้และการปฏิสัมพันธ์จากสังคม ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทุนมนุษย์

 “Smart handy” อุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคอัตโนมัติ พร้อมนำร่องจัดจำหน่ายในเชิงพาณิชย์สำหรับองค์กรขนาดใหญ่  โดยบริการให้คำปรึกษา ติดตั้งและวางระบบ ตลอดจนบริการหลังการขาย โดยกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ท่าอากาศยาน หน่วยงานราชการ โรงแรม ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล โรงเรียนและสถาบันการศึกษา ฯลฯ ที่ต้องการระบบคัดกรองที่มีประสิทธิภาพเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้มาใช้บริการ 

ปัจจุบันทำการติดตั้งเพื่อทดลองใช้งาน ณ อาคารสำนักงานท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริษัท ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT และในอนาคต เอชเค แมเนจเมนท์ฯ ตั้งเป้าพัฒนา ”Smart handy”  อุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคอัตโนมัติ โมเดลสำหรับที่อยู่อาศัย เจาะกลุ่มลูกค้าทั่วไป 

ทั้งนี้บริษัทตั้งเป้ารายได้ 250 ล้านบาทภายใน 2 ปี และตั้งเป้าจัดจำหน่าย Smart handy อุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคอัตโนมัติ  ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งถือเป็นโอกาสจากความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการคัดกรองเชื้อโรค ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคระบาด และโรคอุบัติใหม่ในอนาคต

“Smart handy” อุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี UVC นวัตกรรมฝีมือคนไทย  
ผศ.ดร. ปรัชญา เปรมปราณีรัชต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของนวัตกรรมไทยภายใต้ความร่วมมือของภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา ภายใต้แนวคิด “คนไทยคิด คนไทยทำ เพื่อสุขภาพคนไทย” เป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองที่สำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพจุดคัดกรองให้มีความสะอาดปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิต 

ทีมวิจัยทดลองใช้รังสี UVC ความยาวคลื่น 253.7 นาโนเมตร พบว่า รังสี UVC สามารถเข้าไปทำลาย DNA และ RNA ของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ทำให้ไม่สามารถแพร่พันธุ์ และก่อให้เกิดโรคได้อีก ซึ่งเท่ากับมีศักยภาพสูงในการทำลาย DNA และ RNA ของเชื้อโรคและฆ่าเชื้อโรคได้ 

ที่สำคัญความเข้มข้นของรังสียูวีซี สามารถฆ่าเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียได้อีกด้วย จากนั้นได้คัดเลือกอุปกรณ์คุณภาพสูงจากบริษัทผู้ผลิตชั้นนำ ที่ไม่ก่อให้เกิดสารที่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนของโลก ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์โลกร้อน

Smart handy อุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคอัตโนมัติ ได้ขึ้นทะเบียนจดสิทธิบัตร จากกรมทรัพย์สินทางปัญญาเรียบร้อยแล้ว โดยเน้นการออกแบบดีไซน์ตัวเครื่องให้มีรูปลักษณ์ที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มมูลค่าให้นวัตกรรมและสร้างจุดขายที่สำคัญ ทำให้นวัตกรรมไทยเติบโตและเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมไม่แพ้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก 

ที่ผ่านมา นวัตกรรมไทยประสบปัญหาหลักที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ การออกแบบดีไซน์ให้มีความทันสมัย และการร่วมมือกับภาคเอกชนที่มีความสามารถในการผลักดันนวัตกรรมออกสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม เป็นหนึ่งจิ๊กซอว์สำคัญในการผลักดันประเทศก้าวสู่ประเทศแห่งนวัตกรรม

“Smart handy” อุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี UVC นวัตกรรมฝีมือคนไทย
 
รศ.ดร.วรดา สโมสรสุข คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยา เปิดเผยว่า จากการวิจัยและทดสอบผลร่วมกันกับผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ พบว่าสามารถฆ่าเชื้อ บาซิลลัส อะโทรเฟียส (Bacillus atrophaeus) เป็นเชื้อที่สร้างสปอร์ได้ นั่นหมายถึงสามารถใช้ฆ่าเชื้อไวรัส และแบคทีเรียได้เช่นกัน และมีประสิทธิภาพในการหยุดเชื้อได้ถึง 10,000 เซลล์ 

ทีมงานยังทำการทดสอบด้วยการหยอดเชื้อบาซิลลัส อะโทรเฟียส ลงบนพื้นผิวหลายชนิด เช่น กระเป๋าหนัง กระเป๋าเดินทาง วัสดุที่เป็นพลาสติก กล่องพัสดุไปรษณีย์ ฯลฯ และนำไปผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อโรคด้วย Smart handy อุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคอัตโนมัติ พบว่าภายในระยะเวลา 15 วินาที สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ถึง 95% หากเพิ่มเวลาในกระบวนการฆ่าเชื้อโรคเป็น 18 วินาที พบว่าสามารถฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับวัตถุได้สูงถึง 99 % 

นวัตกรรมนี้นับเป็นความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการคัดกรองเชื้อโรค ช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย ปกป้องสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คนให้มั่นใจในการออกไปใช้ชีวิตในยุคที่เชื้อโรคต่างๆ มีการพัฒนาสายพันธุ์อย่างรวดเร็วทั้งของเชื้อโรคต่างรวมไปถึงโรคอุบัติใหม่.