'ข้อจำกัด' เข้าถึง 'ยาไทย' กับ 'หน่วยงานรัฐ'

'ข้อจำกัด' เข้าถึง 'ยาไทย' กับ 'หน่วยงานรัฐ'

หลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC “แพทย์ไทย” ถือเป็นหนึ่ง

ในหลากหลายวิชาชีพที่ประเทศเพื่อนบ้านให้ “ความไว้เนื้อเชื่อใจ” เห็นได้จากการการที่คนไข้ต่างชาติ นิยมมารักษาตัวตามโรงพยาบาลเอกชนในเมืองไทย ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี

ทว่า ไม่ได้มีเพียงแพทย์ไทยเท่านั้นที่ประเทศเพื่อนบ้านชื่นชอบ แต่ “ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามจากธรรมชาติของไทย ก็ได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน 

โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ “สร้างสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน

สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นความต้องการของคนไข้ ที่อาศัยอยู่ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ อาทิ โรคมะเร็ง โรคข้อเข่าเสื่อม โรคเอสแอลอี SLE (โรคแพ้ภูมิตัวเอง) และโรคเอดส์ เห็นได้จากการที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ไทยยังคงเดินหน้าคิดค้นวิวัฒนาการใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ

แม้ผลิตภัณฑ์หลายๆ ประเภทจะได้รับการตอบรับที่ดี จากผู้ป่วยและอดีตคนเคยป่วย รวมถึงเหล่าแพทย์ไทย หลังทดสอบแล้วพบว่า สามารถสร้างสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันได้จริง แต่ยังมี “ข้อจำกัดในการโฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและอาหารเสริม ซึ่งถูกกำหนดโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรืออย.

ในเรื่องนี้ ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเซียน ไฟย์โตซูติคอลล์ หรือ APCO ระบุว่า ปัญหาในการโฆษณาสินค้าประเภทดังกล่าว ทำให้การเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่ดีที่มีเครื่องหมาย อย.ของประชาชนทั้งในและนอกประเทศมี “ข้อจำกัด เป็นหนึ่งในอุปสรรคในการพัฒนางานทางด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อสุขภาพของคนไทย 

ปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้เหล่าผู้ผลิตต้องปรับวิธีการโฆษณาผลิตภัณฑ์ใหม่ ด้วยการหันไปพูดถึงประสิทธิภาพในการทำงานของผลิตภัณฑ์ แทนการพูดถึงแบรนด์สินค้า

ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ไทยบางราย บอกว่า ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสมดุล ของระบบภูมิคุ้มกันหลายๆ ประเภท เป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ไทยแล้ว เห็นได้จากการที่หมอในโรงพยาบาลดังๆติดต่อเข้ามาที่บริษัท เพื่อขอซื้อผลิตภัณฑ์ไปรักษาคนไข้ หลังพบว่า คนไข้หลายรายที่มาซื้อผลิตภัณฑ์ไปกินเองก่อนแพทย์สั่งมีอาการดีขึ้น

สำหรับ “3 โรคยอดฮิต” ที่เหล่าหมอไทยนิยมสั่งผลิตภัณฑ์ไปรักษาคนไข้ คือ โรคมะเร็ง ,โรคเอสแอลอี และโรคเอดส์ 

ตามสิถิติของผู้ป่วยมะเร็งในประเทศไทย เมื่อจำแนกตามเพศจะพบว่า เพศชายเสียชีวิตจาก “มะเร็งปอด” มากที่สุด รองลง คือ “มะเร็งตับ 

ส่วนเพศหญิงมักเสียชีวิต จากมะเร็งปากมดลูก รองลงมา คือ มะเร็งเต้านม ซึ่งมะเร็งทุกชนิดมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อ ยกเว้น มะเร็งเม็ดเลือดขาว 

ทั้งนี้ หากหน่วยงานของรัฐส่งเสริมผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้ได้รับเครื่องหมาย อย. ไปพร้อมกับผู้ผลิตสินค้าดังกล่าว ต้องผลิตให้ได้มาตรฐาน อ.ย. อย่างจริงจัง แล้ว

เชื่อว่า คนไทยคงมีโอกาสเข้าถึงผลิตภัณฑ์ดีๆ ได้มากกว่าที่เป็นอยู่

......................................

[email protected]