มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของ ธปท. เหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยปัจจุบันหรือไม่? (2)
สถาบันการเงินทุกแห่งมีประสบการณ์ในการแก้ไขหนี้ และอยากจะช่วยเหลือลูกหนี้ทุกราย ยิ่งมี NPL มากธนาคารจะต้องตั้งผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบไปถึง Balance Sheet ของธนาคาร
รายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 สิงหาคม 2567 ระบุเอสเอ็มอีรายเล็กอ่วมหนี้พุ่ง 7 หมื่นธุรกิจ “เครดิตบูโร” ชี้เอสเอ็มอีรายเล็กส่อไม่รอด 7 หมื่นธุรกิจ ดันหนี้เสียพุ่ง เอสเอ็มอีนิติบุคคลไตรมาส 2 พบปล่อยกู้ติดลบ 8.5% เหตุแบงก์เข้มปล่อยกู้ธุรกิจเข้าไม่ถึงสินเชื่อเชื่อเพียบ
ธุรกิจเอ็สเอ็มอีเป็นหนี้เสีย 3.1 หมื่นราย วงเงินหนี้รวม 3 แสนล้านบาท คิดเป็น 10.8% จากสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อทั้งหมด 2.83 แสนราย จากยอดสินเชื่อคงค้างที่ 3.7 ล้านล้านบาท
นิติบุคคลที่มีปัญหาจากยอดเศรษฐกิจทรุด ยอดขายต่ำในกลุ่ม SM ที่กำลังจะกลายเป็น NPL อีก 3.4 หมื่นธุรกิจ รวมลูกหนี้ NPL และ กลุ่ม SM เกือบ 7 หมื่นธุรกิจ ที่ส่ออาการไปไม่รอด ยอดปิดโรงงาน 111 แห่งต่อเดือน ยอดปิดโรงงานในครึ่งปีแรก 667 แห่ง
หนี้บัตรเครดิตค้างชำระหนี้พุ่ง ปัจจุบันมีบัตรเครดิตเปิดใช้งานอยู่ที่ 24.1 ล้านใบ เป็นหนี้เสียแล้ว 1.08 ล้านใบเติบโตขึ้น 15% หากเทียบกับปีที่ผ่านมา
ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้ไม่เฉพาะภาคครัวเรือนเท่านั้นที่มีปัญหาในการชำระหนี้ ภาคธุรกิจที่เป็นภาคส่วนสำคัญเศรษฐกิจไทยและมีการจ้างงานสูงเป็นภาคส่วนที่น่าเป็นห่วงอย่างมากเช่นเดียวกัน ในขณะที่ตลาดทุนก็ประสบปัญหาสภาพคล่องมากขึ้น บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้มากขึ้น จากการเปิดเผยข้อมูลของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) พบว่าไตรมาสแรกที่ผ่านมา มีธุรกิจเอกชนออกหุ้นกู้ 2 แสนล้านบาท ลดลง 24% แต่มีหุ้นกู้ที่ผิดนัดชำระหนี้มากขึ้น อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ถึง 4.8 หมื่นล้านบาท (ไม่รวมกลุ่มที่อยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการ)
ในแง่สินเชื่อบุคคล (Personal Loan) ที่เป็นหนี้เสีย 5.07 ล้านบัญชี ลูกหนี้จำนวนมากต้องเข้าโครงการคลีนิกแก้หนี้ 1.32 แสนบัญชี
สะท้อนให้เห็นถึงภาพรวมทั้งระบบภายใต้ข้อมูลเครดิตบูโรที่กลับมาอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติ การณ์ที่ 1.16 ล้านล้านบาท คิดเป็นหนี้เสีย 8.5% หนี้ในกลุ่ม SM 5 แสนล้านบาท หรือ 3.7% ถ้ารวมทั้งสองกลุ่มเป็นหนี้เสีย และค้างชำระถึง 12.2%
ย้อนหลังไปในปี 2540 ที่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ประเทศไทยเคยเผชิญวิกฤติ มีลูกหนี้ NPL เป็นจำวนมาก แต่เป็นลูกหนี้ในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ รัฐบาลต้องตั้งกองทุนฟื้นฟูสถาบันการเงินในการกอบกู้วิกฤติ สถาบันการเงินทุกแห่งปรับโครงสร้างองค์กรมีหน่วยงานรับผิดชอบในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่เรียกว่า AMD จนผ่านพ้นวิกฤติมาได้
วิกฤติหนี้เสียในปี 2567 เป็หนี้เสียในกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี บุคคลธรรมดาที่หาเช้ากินค่ำ ที่มีจำนวนหนี้เป็นจำนวนมาก เป็นกลุ่มเปราะบางที่บอบช้ำจากการทำมาหากินในยุคที่ประเทศไม่เป็นประชาธิปไตยมานานหลายปี ต้องเผชิญกับสงครามการค้าโลก สงครามในภูมิภาคต่าง ๆ และสงครามที่สร้างความบอบช้ำมากที่สุดคือสงครามไวรัสโควิดที่โจมตีอยู่นานหลายปี จนหนี้เสียท่วมแผ่นดิน
ผมเชื่อว่าสถาบันการเงินทุกแห่งมีประสบการณ์ในการแก้ไขหนี้ และอยากจะช่วยเหลือลูกหนี้ทุกราย
ยิ่งมี NPL มากธนาคารจะต้องตั้งผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss : ECL) ตามหลักการ TFRS 9/IFRS 9 ซึ่งจะส่งผลกระทบไปถึง Balance Sheet ของธนาคาร มีธนาคารหลายแห่งได้แก้ไขหนี้มากกว่ามาตรการที่ ธปท.ออกมา ซึ่งไม่สอดคล้องกับวิกฤตเศรษฐกิจที่ชาวบ้านกำลังเผชิญอยู่…