วิธีประหยัดในการเรียนต่อต่างประเทศ อ่านได้ทั้งน้องๆ และคุณพ่อคุณแม่
เข้าสู่โค้งสุดท้ายสำหรับการเตรียมตัวไปเรียนต่อต่างประเทศแล้ว เชื่อว่าน้องๆ ที่ได้รับจดหมายตอบรับการเข้าเรียนหรือ Offer letter จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วโลกคงกำลังเตรียมตัวที่จะไปใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยที่ใฝ่ฝันไว้แบบ “ตัวเป็นๆ”
หลังจากที่สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมาที่หลายประเทศได้ผ่อนคลายมากขึ้น ส่งผลให้การเรียนกลับเข้าสู่ห้องเรียนแทนที่จะเป็นการเรียนออนไลน์อย่างเดียว
จากข้อมูลของผู้ใช้งาน YouTrip ผู้ให้บริการดิจิทัลวอลเล็ตรองรับหลายสกุล ในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา พบว่าการจ่ายค่าเรียนต่อต่างประเทศและค่าที่พักในสหราชอาณาจักรสำหรับปีการศึกษา 2022/ 2023 คึกคักกว่าไตรมาส 2 ของปีที่แล้ว ที่ยังมีกฎเกณฑ์การเข้าประเทศสำหรับนักเรียน นักศึกษาจากประเทศไทยที่เดินทางเข้าสหราชอาณาจักร
โดยพบการใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น 5 เท่า สะท้อนการคลายความกังวลในการไปใช้ชีวิตเรียนต่อที่ต่างประเทศ ไม่ต่างจากการท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่นักท่องเที่ยวชาวไทยเริ่มกลับมาท่องเที่ยวอีกครั้ง
วิธีประหยัดในการไปเรียนต่อต่างประเทศง่ายๆ ทำได้จริง
1. เลือกจ่ายค่าเรียนและค่าที่พักด้วย Travel Card หรือ ดิจิทัลวอลเล็ตรองรับหลายสกุล เช่น YouTrip ค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ในการไปเรียนต่อต่างประเทศคงหนีไม่พ้นค่าเรียนและค่าที่พัก ที่อาจทำให้ใครหลายคนรู้สึกกังวลเวลาต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยรวมถึงผู้ให้บริการที่พักต่างๆ
ส่วนมากล้วนมีทางเลือกในการชำระเงินหลายรูปแบบนอกเหนือจากการโอนเงินระหว่างประเทศผ่านระบบ SWIFT ที่นอกจากต้องเสียค่าบริการการโอนเงินออกจากบัญชีต้นทางและยังมีค่าธรรมเนียมการรับเงินที่บัญชีปลายทางที่ต่างประเทศ ยังมีอัตราแลกเปลี่ยนที่แพงกว่า
ดังนั้นการจ่ายค่าเรียนและค่าที่พักด้วย Travel Card หรือ ดิจิทัลวอลเล็ตรองรับหลายสกุล เช่น YouTrip ถือเป็นทางเลือกในการจ่ายเงินที่ประหยัดได้มากขึ้น นอกจากจะสามารถล็อกเรทแลกเงินล่วงหน้าง่ายภายในแอปตลอด 24 ชั่วโมงแล้ว ยังไม่ต้องเสียค่าโอนเงินระหว่างประเทศเวลาจ่ายค่าเรียน และไม่มีค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงินต่างประเทศที่ผู้ให้บริการเรียกเก็บเวลาใช้บัตรเครดิตที่ 2.0% - 2.5% อีกด้วย
2. เลือกใช้เงินสกุลท้องถิ่นเวลาใช้จ่ายที่ต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นค่ากาแฟตอนเช้า ค่าข้าวตอนเที่ยง ค่าซื้อของจากซูเปอร์มาร์เก็ตมาทำอาหารกินที่บ้าน ค่าช้อปปิ้งออนไลน์ ค่าเดินทางประจำวัน ค่าโทรศัพท์รายเดือน หรือแม้แต่ค่าสังสรร8กับเพื่อนๆ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ถ้าเราเผลอไปจ่ายเป็นเงินบาทด้วยบัตรเครดิตผ่านบริการ DCC ที่อาจมีอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงถึง 6-8% รวมๆ กันใน 1 เดือนก็เป็นยอดที่ใหญ่ไม่แพ้ค่าที่พักเลย
ดังนั้นการเลือกใช้สกุลเงินท้องถิ่นเวลาใช้จ่ายที่ต่างประเทศสามารถช่วยให้เราประหยัดได้ไม่น้อยทีเดียว YouTrip พบว่าในปัจจุบันการใช้ ดิจิทัลวอลเล็ตรองรับหลายสกุล เช่น YouTrip ในชีวิตประจำวันระหว่างการเรียนต่อที่ต่างประเทศเริ่มมาแทนที่เงินสดหรือการเปิดบัญชีธนาคารกับธนาคารท้องถิ่นมากขึ้น
โดยในสหราชอาณาจักรพบการใช้จ่ายในหลายประเภทร้านค้า เช่น ห้างสรรพสินค้า เช่น Harrods, Selfrideges, และ Marks & Spencer, ร้านสะดวกซื้อ/ซูเปอร์มาร์เก็ต เช่น Sainsbury’s, Tesco, และ Waitrose แอปสั่งอาหาร เช่น Deliveroo และ แอปเรียกรถ เช่น Uber นอกจากจะใช้ง่ายและสะดวกสบายกว่าเงินสดแล้ว ยังมีการเตือนการใช้จ่ายแบบเรียลไทม์ช่วยในการบริหารค่าใช้จ่ายในแต่ละวันได้ง่าย ไม่ซับซ้อน และหากต้องการเงินสด สามารถถอนจากตู้ ATM ได้
จากข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้บริการ YouTrip พบว่า มีการถอนเงินสดโดยเฉลี่ยประมาณ 20,000 บาทต่อคนต่อเดือน ซึ่งก็เพียงพอต่อการใช้ชีวิตที่สหราชอาณาจักร ที่แทบจะเป็นสังคมไร้เงินสดไปแล้ว
การศึกษาคือการลงทุนเพื่ออนาคตก็จริง หากเราสามารถช่วยประหยัดเงินในการไปเรียนต่อต่างประเทศได้จะมีส่วนช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัวในยุคที่เงินเฟ้อในหลายประเทศแตะระดับสูงสุดในรอบหลายสิบปี และราคาสินค้าต่างๆ ล้วนปรับตัวสูงขึ้น