เตรียมรับมือกับภาวะว่างงานสูง เมื่อเงินเฟ้อส่งผลต่อการเลิกจ้างงาน

เตรียมรับมือกับภาวะว่างงานสูง เมื่อเงินเฟ้อส่งผลต่อการเลิกจ้างงาน

จากสถานการณ์ล่าสุดที่ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ (CPI) พุ่งสูงถึง 8.3% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ระดับ 8.1% ซึ่งนับว่าเป็นระดับที่สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2524 หรือสูงสุดในรอบ 40 ปี ทำให้นักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าธนาคารกลาง หรือ FED อาจต้องขึ้นดอกเบี้ยขึ้นเร็วขึ้น

ในขณะที่สินทรัพย์ต่าง ๆ เสี่ยงโดนเทขายหนักและการชะลอการลงทุนของนักลงทุนแล้ว สิ่งที่น่ากังวลใจไม่แพ้กันคือ อัตราการเลิกจ้างงานนับจากนี้ที่มีแนวโน้มน่าเป็นห่วงไม่แพ้กัน

หากดูที่ตัวเลขอัตราการว่างงานของสหรัฐที่คงตัวอยู่ที่ 3.6% เป็นตัวเลขที่คงที่มานานกว่า 4 เดือนติดต่อกันแล้ว ก็สะท้อนให้เห็นว่าหลายบริษัทก็มีการชะลอการจ้างงานด้วยเช่นกัน บริษัทเทคโนโลยีจำนวนมากในสหรัฐกำลังปรับลดพนักงาน ทั้งชะลอจ้างงานใหม่ รวมถึงการเลิกจ้างงาน โดยช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ พนักงานในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสหรัฐถูกเลิกจ้างไปแล้วไม่ต่ำกว่า 22,000 คน

หากดูที่ตัวเลขอัตราการว่างงานของสหรัฐ ที่คงตัวอยู่ที่ 3.6% เป็นตัวเลขที่คงที่มานานกว่า 4 เดือนติดต่อกันแล้ว ก็สะท้อนให้เห็นว่าหลายบริษัทก็มีการชะลอการจ้างงานด้วยเช่นกัน บริษัทเทคโนโลยีจำนวนมากในสหรัฐกำลังปรับลดพนักงาน ทั้งชะลอจ้างงานใหม่ รวมถึงการเลิกจ้างงาน โดยช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ พนักงานในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสหรัฐถูกเลิกจ้างไปแล้วไม่ต่ำกว่า 22,000 คน 

รวมถึง Netflix สตรีมมิงรายใหญ่ก็เลิกจ้างพนักงานไปแล้ว 2 ครั้งในช่วงครึ่งปีราว 450 ตำแหน่ง เนื่องจากรายได้ที่หดตัวจากจำนวนผู้ใช้บริการที่ลดลง และ Tesla ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ก็เตรียมปิดสำนักงานในรัฐแคลิฟอร์เนีย พร้อมเลิกจ้าง 200 คน ทำให้ การลดจำนวนพนักงานกลายเป็นนโยบายของบริษัทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง META (Facebook) ที่มีแผนหยุดจ้างงานใหม่ไปจนถึงสิ้นปีนี้ ในขณะที่ Amazon ก็มีแผนชะลอการจ้างงานเช่นเดียวกัน

แม้แต่ในภาคอสังหาก็ได้รับผลกระทบหนักไม่แพ้กัน ล่าสุดธนาคาร JPMorgan Chase & Co ที่มีพนักงาน 273,948 คนทั่วโลก กล่าวว่า บริษัทได้เริ่มเลิกจ้างพนักงานในธุรกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัย เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและอัตราการจำนองที่เพิ่มขึ้นชะลอการเติบโตของที่อยู่อาศัยในสหรัฐ โดยพนักงานมากกว่า 1,000 คนจะได้รับผลกระทบ และประมาณครึ่งหนึ่งจะถูกย้ายไปยังแผนกต่าง ๆ ภายในธนาคารแทน

สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากรายงานเตือนภัยด้านแรงงานฉบับประจำเดือนมิ.ย. 2565 พบว่าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 มีผู้ว่างงานในระบบประกันสังคมจำนวน 242,916 คน และมีผู้ถูกเลิกจ้างในระบบประกันสังคมจำนวน 31,948 คน โดยมีสัญญาณเตือนภัยด้านแรงงาน ในระดับ 0.13 และอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง (สีเหลือง) ต่อเนื่อง ซึ่งหากเทียบกับสถานการณ์ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อเช่นนี้ ทำให้ในอนาคตประเทศไทยอาจมีแนวโน้มกลายเป็นเกณฑ์วิกฤต (สีแดง) ได้ในไม่ช้า

แนวทางการรับมือกับภาวะว่างงานสูง

1. แรงงานต้องเร่งพัฒนาทักษะให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เมื่อทักษะเดิม ๆ ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด การเพิ่มทักษะใหม่ ๆ จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการยกระดับความรู้ความสามารถให้พร้อมรับสถานการณ์และตอบโจทย์ความต้องการของตลาดมากขึ้น ดังนั้นแรงงานต้องมีการ Upskill และ Reskill เพื่อปรับการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และเตรียมรับมือกับความท้าทายใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

2. องค์กรต้องปรับตัวให้เข้ากับการทำงานในยุคดิจิทัล โดยการนำแพลตฟอร์มและ Data มาใช้ให้เป็นประโยชน์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ ลดต้นทุนโดยการใช้เทคโนโลยี​ในการติดตามและควบคุมงาน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวทางสำคัญเพื่อพลิกฟื้นและรับมือกับความผกผันของเศรษฐกิจในยุคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. บริษัทต้องปรับโครงสร้างธุรกิจอย่างระมัดระวัง ซึ่งต้องมีการหารือกับทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันกำหนดทางเลือกก่อนที่จะดำเนินการปรับโครงสร้างในบริษัท เพื่อหลีกเลี่ยงการเลิกจ้างลดผลกระทบที่จะตามมาให้ได้มากที่สุด ซึ่งการเลิกจ้างนอกจะทำลายขวัญกำลังใจและความไว้วางใจจากแรงงานแล้ว ยังทำให้บริษัทสูญเสียแรงงานที่มีทักษะ ประสบการณ์ความรู้ในเชิงปฏิบัติการที่สำคัญอีกด้วย

4. รัฐต้องปรับค่าครองชีพและค่าแรงให้สอดคล้องกัน โดยไม่เพียงแต่ออกโครงการลดค่าครองชีพแบบแจกเงินในยามที่ค่าครองชีพขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องหันไปมองทั้งระบบ เพื่อแก้ปัญหาจากโครงสร้างที่เป็นแก่นแท้ของปัญหา หากมีค่าครองชีพที่สูง ก็ควรที่จะมีการปรับอัตราค่าแรงให้มีความสอดคล้องกับค่าครองชีพ และไม่ให้กระทบภาวะเงินเฟ้อ

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลให้บริษัทด้านเทคโนโลยี เติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะกลุ่ม E-commerce และบริษัทที่สร้างโซลูชันสำหรับการ Work from home แต่เมื่อสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย ทำให้การใช้งานผ่านเทคโนโลยีดังกล่าวลดลงบางส่วน บวกกับความผันผวนของสถานการณ์โลกก็ส่งผลกระทบกับราคาหุ้น รวมถึงเม็ดเงินร่วมลงทุนและการระดมทุนที่ล่าช้า ซึ่งนอกจากที่นักลงทุนและประชาชนจะต้องมีการปรับตัวด้วยแล้ว รัฐบาลเองก็มีบทบาทที่สำคัญต้องปรับกลยุทธ์และนโยบายเพื่อหาทางรอดได้ทันท่วงทีในภาวะเศรษฐกิจขาลงนี้เช่นกันครับ