บทเรียนจากวิกฤตคริปโทฯ สอนอะไรเราบ้าง?
ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาและลากยาวมาจนถึงเดือนสิงหานี้ ต้องบอกว่าตลาดคริปโทเคอร์เรนซีผ่านทั้งการเติบโต ข่าวดีและข่าวร้ายหลากหลาย ตั้งแต่วิกฤตเหรียญ LUNA ตลาดหมีที่ราคาลดลงไปกว่า 70% และเหตุการณ์ล่าสุดที่บริษัทกองทุนคริปโทฯ และบริษัทด้านการให้กู้ยืมคริปโทฯ ยื่นล้มละลายเพราะไม่สามารถประคับประคองการขาดสภาพคล่องมาหมุนเวียนได้นั้น
นักยุทธศาสตร์ด้านคริปโทฯ และสินทรัพย์ดิจิทัลระดับโลกของ Bank of America กล่าวว่าได้มีการคาดการณ์ว่า สภาพคล่อง (liquidity) 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ จะถูกนำออกจากตลาดทั่วโลกโดยธนาคารกลางในช่วง 18 เดือนข้างหน้า ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลต่อตลาดทุนและสินทรัพย์เสี่ยงอย่างคริปโทฯแน่นอน
มีข้อสังเกตที่เชื่อมโยงกันและประเด็นที่น่าสนใจอยู่ คือเรื่องของ CeFi & DeFi ซึ่งต่างกันในระบบการทำงาน DeFi นั้นทำงานอยู่บน Blockchain ซึ่งคนทั่วโลกสามารถอ่าน Code ได้ และก็สามารถถูกโจมตีหรือดูดเงินได้เช่นกัน แต่จะต้องใช้ความสามารถระดับสูงกว่าทางฝั่ง CeFi
ส่วน CeFi คือระบบการเงินแบบรวมศูนย์ มีโครงสร้างที่ให้คำสั่งหรือธุรกรรมทั้งหมดถูกควบคุมโดยมีตัวกลาง ผู้ใช้ต้องมีความเชื่อถือในผู้ให้บริการ ทั้งนี้ CeFi มีความเสี่ยงในการถูกผู้ไม่หวังดี หรือแฮกเกอร์โจมตีได้เช่นกัน
นอกจากการทำงานที่ต่างกัน ยังให้ (Yield) หรือผลตอบแทนจากการฝากเงินในแพลตฟอร์มคริปโทฯ ต่างกันอีกด้วย ในขณะที่ CeFi บางโปรเจ็กต์ เช่น Celsius แพลตฟอร์มผู้ให้บริการกู้ยืมคริปโท และ Voyager โบรกเกอร์คริปโทฯ ต่างก็เสนอผลตอบแทนด้วยเปอร์เซ็นต์ตัวเลขสองหลักที่น่าจูงใจ แต่ DeFi เช่น Aave และ Compound ให้อัตราผลตอบแทนที่แตกต่างกันไปตามกลไกราคาตลาด
ผลตอบแทนรวม (APR/APY) ในโลกของ DeFi นั้นจะมาจากราคาโทเคนของ altcoins ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเกิดจากกลุ่มสภาพคล่องที่แตกต่างกัน เมื่อราคาทั้งตลาดร่วงลงมากกว่า 70% ตั้งแต่เดือนพ.ย. ปี 64
และผลตอบแทนของ DeFi นั้นต่ำกว่าของ CeFi เช่น Celsius และ Voyager ที่มองให้เห็นภาพชัดก็เหมือนกับบริษัทเหล่านี้ทำการให้กู้ยืมคริปโตที่ต้องอาศัยการจัดการความเสี่ยงระดับสูงและสินทรัพย์ค้ำประกันในการให้สินเชื่อสนับสนุน
และประเด็นสุดท้ายวิกฤตสภาพคล่อง (Liquidity) แม้ว่า Celsius จะเป็นผู้ให้กู้ CeFi แต่ก็ยังกระจายการถือครองในระบบนิเวศของ DeFi โดยการฝาก Crypto Cash บางส่วนในแพลตฟอร์ม DeFi ซึ่งไม่กี่วันก่อนที่จะประกาศล้มละลาย Celsius เริ่มจ่ายเงินคืนให้กับผู้ให้กู้ DeFi เช่น Maker และ Aave เพื่อปลดล็อกสินทรัพย์ค้ำประกันแต่ก็ไม่สามารถสู้กับปัญหาสภาพคล่องและสินทรัพย์ที่ค้ำประกันสำรองได้
ในขณะที่ DeFi มี สินทรัพย์ค้ำประกันในการให้สินเชื่อสนับสนุนในการยื่นฟ้องล้มละลายของ Celsius (ซึ่งเป็น CEFI) แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีเจ้าหนี้มากกว่า 100,000 ราย ซึ่งบางรายให้ยืมเงินสดจากแพลตฟอร์มโดยไม่ได้รับสิทธิ์ในหลักประกันใด ๆ ในการสำรองข้อตกลงดังกล่าว
เหตุการณ์ Crypto Crisis May 2022 นั้นส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นหรือสร้างความสั่นคลอนในอุตสาหกรรม คริปโตเคอร์เรนซีในไทยพอสมควร
“ผมมองว่าปัจจุบันตลาดคริปโทเคอร์เรนซี่มีความสัมพันธ์ (correlation) กับตลาดทุน และเศรษฐกิจมหภาคอย่างมาก เมื่อสภาพคล่องหายจากระบบทั้งโลก การหาเงินลงทุนจะไม่เหมือนยุค 10 กว่าปีที่ผ่านมา นั่นหมายถึงนักลงทุนควรได้เรียนรู้และตัดสินใจอย่างรอบคอบมากขึ้น อย่างที่กล่าวข้างต้นว่ามีแง่ลบก็ต้องมองวิกฤตให้เป็นโอกาส หาจุดเริ่มต้นและศึกษาจากเหตุการณ์ดังกล่าวให้ได้ เพื่อที่จะระวังและรู้เท่าทันไม่ให้พบเหตุนั้นอีกหรือที่เรียกกันว่าประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ขณะเดียวกันนักพัฒนาและเจ้าของโปรเจ็กท์คริปโทฯต่าง ๆ ก็จะต้องคิดอุดรูรั่ว และมีการทดสอบให้มากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันการสูญเสียของผู้ลงทุนจากการล่มสลายของโปรเจ็กท์”