เตรียมรับสถานการณ์ เอลนีโญ ในประเทศไทย
เหตุการณ์ภัยแล้งที่มาแบบไม่ธรรมดา มาไม่ตรงตามฤดูกาล มีความผิดแผกแตกต่างจากภัยแล้งในช่วงปรกติ
ที่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนเมษายน แต่ภัยแล้งที่จะพูดถึงนี้คือ "ปรากฏการณ์เอลนีโญ" ซึ่งจะเกิดขึ้นในห้วงช่วงเดือนสิงหาคม กันยายน หรือบางทีก็ยาวนานไปถึงเดือนตุลาคม เหมือนในปี 2547-2548 ที่ก่อนจะเจอภัยแล้งเอลนีโญ ก็จะมีพายุฝนถล่มในหลายพื้นที่ก่อน โดยเฉพาะทางภาคเหนือและอีสาน ช่างเหมือนปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้มาก จนน่ากลัว เพราะปรากฏการณ์เอลณิโญจะเกิดขึ้นทุก 4-5 ปี ซึ่งเมื่อปี 2547 นั้น ก็ได้รับผลกระทบในช่วงย่างเข้าเดือนตุลาคม พอดี
จากภาวะปรกติ ลมสินค้าตะวันออก (Eastery trade winds) จะพัดจากประเทศเปรู (ชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้) ไปทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก แล้วยกตัวขึ้นบริเวณเหนือประเทศอินโดนีเซีย ทำให้มีฝนตกมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ ทำให้ป่าไม้ทุ่งหญ้า พืชไร่ไม้ผลมีความอุดมสมบูรณ์ จนกล่าวขานกันว่าดินแดนทางใต้ของเรานั้นมีฝนแปดแดดสี่ และเมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไป ลมพัดหวนย้อนกลับกระแสน้ำอุ่นค่อยๆถูกพัดพาคืนย้อนไปทางฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ไปกดทับกระแสน้ำเย็นที่เคยลอยตัวขึ้นพัดพาเอาแร่ธาตุอาหารที่ส่วนใหญ่เป็นตะกอนแร่ธาตุ เถ้าภูเขาไฟใต้ท้องทะเล ลอยขึ้นมาสู่ปากอ่าวของชิลี และเปรู ทำให้มีแพลงก์ตอนพืช และสัตว์ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตต่างๆทั้งกุ้ง หอย ปู ปลาและนกชนิดต่างๆ ก่อให้เกิดรายได้ส่งออกปลาไส้ตัน ปลากระตัก ปลาชิงชัง อย่างมหาศาลให้แก่ประเทศชิลี และเปรู
ปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้ฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ แต่ยังก่อให้เกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียตอนเหนือ เพราะปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้กระแสลมสินค้าตะวันออกอ่อนกำลังลง กระแสลมพื้นผิวเปลี่ยนทิศทาง พัดจากประเทศอินโดนีเซีย และออสเตรเลียตอนเหนือไปทางตะวันออก แล้วยกตัวขึ้นเหนือชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ ก่อให้เกิดฝนตกหนักและแผ่นดินถล่มในประเทศเปรูและเอกวาดอร์ กระแสลมพัดกระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู ทำให้กระแสน้ำอุ่นใต้มหาสมุทรไม่สามารถลอยตัวขึ้นมาได้ ส่งผลกระทบให้บริเวณชายฝั่งขาดธาตุอาหารสำหรับปลาและนกทะเล ชาวประมงจึงขาดรายได้
ผลกระทบจากปรากฏการณ์ เอลนีโญ ทำให้ความอุดมสมบูรณ์จากทั้งสองฝั่งของมหาสมุทรแปซิฟิกหายไป พืชและสัตว์ล้มตายจากการขาดแหล่งอาหารและทุ่งหญ้าในการดำรงชีพ ส่งผลให้เกิดไฟป่าและควันไฟ จากเหตุการณ์ในปี 2541ควันไฟป่าจากอินโดนีเซีย ลุกลามมาถึงภาคใต้ของไทย จนเกิดความเสียหายต่อพืชผลทางเกษตร เช่น ปาล์ม ยางพารา และผลไม้อย่าง เงาะ ลองกอง ทุเรียน จากความเครียดของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หลั่งสารเอทธิลีนออกมา ทำให้ต้นโทรม ผลสุกและแก่เร็วขึ้น
ในประเทศไทย ความเสียหายของพืชผลทางการเกษตรจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ขึ้นอยู่กับความหนักเบาในแต่ละปี ซึ่งเหตุการณ์ เอลนีโญ ในอดีตที่รุนแรงที่สุด คือในช่วงปี 2540-2542และในปีนี้องค์การนาซ่าได้คาดการณ์ว่าจะรุนแรงพอๆกัน หรืออาจมากกว่า เพราะปริมาณน้ำในเขื่อนที่สำรองต่ำกว่าเกณฑ์มากเมื่อเทียบกับปีก่อนๆ สำหรับในช่วงนี้ขอให้ฝนตกเหนือเขื่อนทุกเขื่อนในประเทศไทยให้มากๆ เพื่อที่พี่น้องเกษตรกรจะได้ไม่เดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้ง หรือไม่ก็ต้องเตรียมรับมือกับวิกฤติภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นหลังจากหมดหน้าฝน หรือเตรียมรับมือด้วยการทำสระน้ำประจำไร่นา ตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะสามารถช่วยให้เกษตรกรทั่วประเทศ มีแหล่งน้ำสำหรับทำการเกษตรได้อย่างไม่ขาดแคลน โดยเฉพาะการขุดสระน้ำถือว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสำรวจอุดรอยรั่วซึมของน้ำ เพื่อการเก็บกักน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ หรือใช้สารอุดบ่อ อุดสระ ร่วมกับ เบนโธไนท์ หรือ สเม็คไทต์ ในการแก้ปัญหาเพื่อป้องกันการรั่วซึม รวมถึงการใช้สารอุ้มน้ำ โพลิเมอร์ มาประยุกต์ใช้ในการปลูกพืชผัก เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง และลดการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์นี้