เบรกซิท: จบแต่เจ็บ ไหม?
แม้ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เทเรซา เมย์ ชนะการโหวตไม่ไว้วางใจในสภาแบบเฉียดฉิว 325-306 ด้วยเสียงของพรรค UDP ของไอร์แลนด์ 10 เสียง
โดยเธอเรียกร้องให้สภาคุยต่อในส่วนทางเลือกอื่นๆ ต่อสำหรับ Brexit ทว่าผู้นำฝ่ายค้าน เจโรมี คอร์บิน ล่าสุดก็ยังไม่ยอมเจรจาเรื่องนี้ต่อ
โดยก่อนหน้านี้หนึ่งวัน Brexit ถูกโหวตคว่ำด้วยคะแนนเสียง 432-202 โดยนางเมย์พ่ายแบบถล่มทลายด้วยคะแนนจากพรรครัฐบาลเกิน1 18 เสียง หันมาโหวตค้าน Brexit ถือว่าเป็นการพ่ายแพ้แบบเยอะกว่าคาดที่ประมาณว่าจะแพัราว 150 เสียง และนับเป็นการพ่ายคะแนนโหวตมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ของรัฐบาลอังกฤษ
บทความนี้ จะขอตอบคำถามว่า ทำไมนางเมย์ จึงไม่ได้รับการสนับสนุนในประเด็น Brexit ถึงขนาดว่าแม้แต่พรรคของเธอเองยังโหวตค้าน และ ต่อจากนี้ Brexit กับเศรษฐกิจยุโรปและอังกฤษ จะไปต่อในทิศทางใด
ก่อนอื่นขอพูดถึง ร่างเอกสาร Brexit ของนายกรัฐมนตรี เทเรซ่า เมย์ จำนวน 585 หน้า ที่นำเข้ามาโหวตในสภาเมื่อ 2 วันก่อน มีประเด็นหลัก คือ ค่าใช้จ่ายในการแยกจากยูโรที่ 4 หมื่นล้านปอนด์ และมีช่วงเปลี่ยนผ่านหรือ transition period จนถึง 31 ธ.ค. 2020 ให้มีช่วงที่ยืดเวลาออกไปได้ช้าสุด คือ 31 ธ.ค. 2022 เป็นอย่างช้าสุด ก่อนที่การเคลื่อนย้ายของสินค้าและบริการระหว่างอังกฤษกับยุโรปจะสิ้นสุดการมีอิสระลง
/////
ถามว่าทำไม ส.ส.จากพรรครัฐบาล 118 เสียง หันมาโหวตค้าน Brexit?
คำตอบคือ สาเหตุที่แม้แต่ส.ส.พรรครัฐบาลของนางเมย์ ยังไม่โหวตให้หัวหน้าพรรคของตนเองใน Brexit เนื่องมาจาก สิ่งที่เรียกว่า “Backstop” สำหรับชายแดนของไอร์แลนด์เหนือ
โดยเจ้า Backstop นี้ จะเริ่มมีผลในทางกฎหมายเมื่อ transition period ในช่วงสิ้นปี 2020 สิ้นสุดลง หากไม่มีทางออกอื่นในการจัดการเกี่ยวกับชายแดนระหว่างอังกฤษกับไอร์แลนด์เหนือ
จากปัจจัยดังกล่าว จะทำให้ไอร์แลนด์เหนือยังคงดำรงเป็นหนึ่งเดียวกับยูโรในตลาดสินค้า ซึ่งจะทำให้อียูยังคงมีอำนาจครอบงำไอร์แลนด์เหนือ นั่นก็รวมถึงสหราชอาณาจักรทั้งหมดที่รวมอังกฤษเป็นหนึ่งในนั้นต่อยูโร
ที่ผ่านมา รัฐบาลอังกฤษ ได้พยายามที่จะให้ Brexit ในอังกฤษมีความแตกต่างกับไอร์แลนด์เหนือให้น้อยที่สุด ด้วยการประกาศว่าหาก Backstop เกิดขึ้น อังกฤษซึ่งเป็นหนึ่งเครือสหราชอาณาจักรก็จะทำตามเกณฑ์ Backstops ของไอร์แลนด์เหนือที่ใช้ระเบียบของอียูในส่วนของตลาดสินค้า ซี่งมีการออกกฎหมายใหม่มารองรับ
จุดตรงนี้ ที่ทำให้ชาวอังกฤษที่อยากออกจากยุโรป หรือ Brexiteer โจมตีว่าช่องทาง Backstop เป็นเสมือนกับดักที่ยังผูกอังกฤษไว้กับยูโร โดยทั้งนายกรัฐมนตรี เทเรซ่า เมย์กับทางอียู ได้ออกโรงปฏิเสธ ทว่าหลายคนมองว่าเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นแน่นอน เนื่องจากกว่าที่จะเข้าสู่ช่วงการเจรจาในส่วนนี้ ก็ปาเข้าไปกลางปี 2020 แล้ว
/////
แล้วต่อจากนี้ Brexit จะไปต่อในทิศทางใด และเศรษฐกิจยุโรปและอังกฤษจะเป็นเช่นไร
ผมมองว่า ถึงตรงนี้ อียูคงต้องส่งสัญญาณว่า จะยอมเลื่อน deadline เนื่องจากนางเมย์เอง คงคุยกับสภาต่อเองยากขึ้น เพราะเสียงที่โหวตชนะการอภิปรายไม่ไว้วางใจเพียง 19 เสียงเท่านั้น และที่สำคัญผมคาดว่า ทางอียูเองก็ไม่ได้เตรียมการณ์อย่างเต็มที่ในการรับมือกับสถานการณ์ที่เรียกว่า No deal หรืออังกฤษออกจากยูโร แบบกลายเป็นประเทศเกิดใหม่ โดยไม่ได้เป็นสมาชิกใดๆ ในประชาคมเศรษฐกิจในโลก ซึ่งจะทำให้การนำเข้าและส่งออกสินค้าในท่าเรือโดเวอร์ ในลอนดอน ต้องเสียเวลาในการตรวจตราเอกสาร ส่งผลให้เกิดความล่าช้าต่อการขนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศในยุโรป ทั้งนี้ ธนาคารกลางอังกฤษ ประเมินว่าปัจจัยนี้ จะส่งผลต่อจีดีพีของอังกฤษในระยะสั้น โดยจะทำให้ลดลงจากปัจจัยนี้ถึงกว่า 2.5%
นอกจากนี้ หากจะให้ประเมินว่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจในส่วนของภาคอุตสาหกรรมมากน้อยแค่ไหน ผมประเมินว่าน่าจะไม่เกิน 4% ดังรูป ที่เคยเกิดขึ้นช่วงวิกฤตยุโรปปี 2011 โดยสาเหตุหลักมาจากการที่ค่าเงินปอนด์ที่จะอ่อนค่าลง จนยุโรปในช่วงแรกต้องเสียเปรียบในความสามารถทางการแข่งขันในเซกเตอร์นี้
ในมุมของบทสุดท้ายของ Brexit ยังมองว่าความเป็นไปได้ ที่ Brexit จะจบลง มีดังนี้
หนึ่ง โอกาสจะจบลงเป็น ‘European Economic Agreement’ (EEA) คล้ายๆ กับนอร์เวย์ที่ทำอยู่กับยุโรป น่าจะสูงสุด โอกาสที่ราว 70% ซึ่งถือว่ายังสามารถค้าขายกับยูโรได้อย่างค่อนข้างเสรีและเกือบทุกฝ่ายพึงพอใจ ยกเว้นกลุ่ม Brexiteer ที่ชาตินิยม โดยนักวิชาการส่วนใหญ่จะชื่อชอบทางเลือกนี้ เนื่องจากยังสามารถค้าขายกับประเทศในยุโรปได้อย่างค่อนข้างเสรี ประเมินกันว่าจีดีพีอังกฤษ จะลดลง 2% ในระยะยาว
สอง มีโอกาสราว 30% ว่า จะเกิด ‘ไม่มีข้อตกลง Brexit ใดๆ เกิดขึ้น’หรือ No Deal ที่เรียกกันว่า Loss of the passport เกิดการแบ่งแยกเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่ ตลาดEU 27 ประเทศ กับอีกฝั่งที่มีอังกฤษและอาจจะรวมถึงสวิสเซอร์แลนด์และ เชื่อว่ากระแส Second referendum แม้จะมีสูงขึ้น ทว่าจะไม่เกิดขึ้นในท้ายที่สุด
ท้ายสุด เราคงเห็นการเลือกตั้งใหญ่ในอังกฤษภายในปีนี้ เพราะดูแล้วนางเมย์คงจะไปต่อยากมาก แม้ว่าเธอเองอยากจะไปต่อก็ตามครับ
หมายเหตุ : ท่านที่สนใจงานสัมมนาคอร์ส “เจาะลึก Next Crisis? วิกฤตหนี้โลก: โอกาสในความเสี่ยงของนักลงทุน” พร้อมมุมมองการลงทุนปี 2019 ในวันเสาร์ที่ 19 และ 26 ม.ค.2562 สามารถติดตามรายละเอียดได้ทาง facebook.com/MacroView