ความจริงเรื่องเอกราชและอธิปไตยไซเบอร์ของประเทศไทย (จบ)
ปัญหาอธิปไตยไซเบอร์ กับคำว่า “อธิปไตยไซเบอร์” ในมุมหนึ่งหมายถึงการที่รัฐบาลของแต่ละประเทศ
มีสิทธิ์เสรีภาพในการบริหารจัดการระบบอินเทอร์เน็ตและการบริการต่างๆ ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตในประเทศของตน แต่อีกความหมายหนึ่ง คือ เรื่องการที่เราถูกครอบงำทางเทคโนโลยี โดยเจ้าของแพลตฟอร์มที่เรานิยมใช้โดยไม่รู้ตัว มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของชาติในระยะยาว
ปัญหาใหญ่ที่กำลังอุบัติขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก ได้แก่ ปัญหา “อธิปไตยไซเบอร์”(Cyber Sovereignty) หรือ “ความเป็นเอกราชทางไซเบอร์” ของผู้คนในประเทศ ตลอดจนไปถึงปัญหาความมั่นคงของชาติ(National Security) ซึ่งคนไทยเองส่วนใหญ่ยังไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำว่า กำลังถูกละเมิดในเรื่อง “Cyber Sovereignty” เนื่องจากปัญหาดังกล่าวถูกซ่อนอยู่ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตและการใช้งานสมาร์ทโฟนในปัจจุบันที่อยู่ในชีวิตประจำวันของคนไทย ทำให้ผู้ให้บริการ Social Media และ Cloud รายใหญ่ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึก มีความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ และ สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการตลาดได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงการขาดรายได้ของรัฐบาลจากการจัดเก็บภาษีจากยอดเงินในระดับหมื่นล้านบาท เนื่องจากผู้ให้บริการทำการ Settlement Payment โดยการใช้ Payment Gateway นอกประเทศไทย เป็นต้น
ปัญหาด้าน “Personal Privacy” กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบันที่กำลังคืบคลานเข้ามาแบบเงียบๆ และปัญหาด้าน “Personal Privacy” จะหนักว่าปัญหาด้าน “Security” ในอนาคตอันใกล้นี้ จึงทำให้เกิดหน้าที่ใหม่ที่คนไทยทุกคนต้องปฏิบัติ ที่เราต้องคอยหมั่นปรับปรุง “Digital Literacy” ของเราในการใช้งานโซเชียลมีเดีย และสมาร์ทโฟนต่างๆ ที่ใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวันให้ “รู้เท่าทัน” เทคโนโลยีที่กำลังละเมิดความเป็นส่วนตัวของมนุษย์โดยมนุษย์ด้วยกัน อีกทั้งในมุม“เศรษฐศาสตร์” และ ในมุม “ความมั่นคงของชาติ” ที่รัฐบาลก็จำเป็นต้อง “ตื่นตัว” และ “ระวัง” ให้มากขึ้นกว่าเดิม
นอกจากปัญหาด้าน “Personal Privacy” แล้ว ยังมีปัญหาด้าน “Personal Privacy” ปัจจุบันมีโปรแกรมจับเวลาวัดสถิติการใช้งานสมาร์ทโฟนของเราในชีวิตประจำวันแต่ละวัน ตัวอย่าง เช่น โปรแกรมประเภท “Screen Time” บน Android และ “Screen Time” new feature บน iOS ซึ่ง Mobile App และ iOS feature ดังกล่าวจะสามารถตรวจสอบการใช้งานสมาร์ทโฟนของเรา ว่าเราใช้เวลาไปกี่ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้เราสามารถบริหารเวลาและลดเวลาในการใช้งานสมาร์ทโฟนในแต่ละวันลงวิธีการอื่นๆ ในการบริหารเวลาที่ดี เช่น การปิด Notification การไม่ใช้มือถือแทนนาฬิกาปลุก การปิดเครื่องในขณะนอนหลับหรือปลีกวิเวกจากมือถือบ้างในบางเวลา ตลอดจนการฝึกนิสัยที่ไม่มีมือถือเราก็ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เป็นต้น
สรุป
ยุคแห่ง“ Data-Driven Economy” กำลังส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของประชาชน ตลอดจนเศรษฐกิจสังคมของประเทศชาติ ที่ผู้นำประเทศและรัฐบาลจะอยู่เฉยไม่ได้กับปรากฎการณ์ดังกล่าว รัฐจำเป็นต้องเร่งกำหนดนโยบายทางไซเบอร์และยุทธศาสตร์ไซเบอร์ “National Cyber Policy and National Cyber Strategy”เพื่อกำหนดทิศทางให้กับประชาชนในประเทศ ตลอดจนปัจจุบันการ “รุกรานทางความคิด” ต่อประชาชนในประเทศในรูปแบบใหม่ดังที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น
มาถึงจุดนี้เราคงเห็นได้ชัดเจนแล้วว่า โลกกำลังเข้าสู่ยุค “Data Economy” ที่ผู้ผลิตและผู้ให้บริการยักษ์ใหญ่กำลังใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เราช่วยกันใส่เข้าไปในระบบอย่างเต็มที่ เปรียบเสมือนกำลังขุดเจาะน้ำมัน แต่หาใช่บ่อน้ำมันไม่ กลับเป็นบ่อข้อมูลที่ผู้ผลิตและผู้ให้บริการยักษ์ใหญ่กำลังขุดเจาะกันอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง สมกับคำกล่าวที่ว่า “Data is a new oil of Digital Economy”
รัฐบาลในทุกประเทศควรตะหนักถึงผลกระทบดังกล่าวและควรรีบทำการ “Educate” ประชาชนให้มี “Digital Literacy” และมี “ภูมิคุ้มกันทางดิจิทัล” ที่ดี เพื่อที่จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อการตลเาดแบบไฮเทคที่นับวันจะส่งผลรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และประชาชนต้องตกเป็นเหยื่อโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เราจึงควรปรับปรุงและทำความเข้าใจเรื่อง “Digital Literacy” และ “Digital Quotient” ให้ถ่องแท้ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ให้กับตนเอง ครอบครัว องค์กรและประเทศชาติ
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่คนไทยควรจะรับรู้ปัญหาเรื่อง “การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล” ที่พวกเรากำลังเผชิญกันอยู่ตลอดเวลาบนสมาร์ทโฟนโดยที่เราไม่รู้ตัวหรืออาจไม่ทราบถึงกลเม็ดวิธีการที่แยบยลดังกล่าว ดังนั้น ประเทศไทยและประชาชนชาวไทยควรเข้าใจผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงดังกล่าวในการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคและประชาชน ดังที่เห็นตัวอย่างในระดับโลกกันมาแล้ว