Talent Tech and Transformation
ผลรายงาน Talent Tech and Transformation: The role of the business leader in Asia ขออนุญาตนำเสนอเป็นภาษาไทยปนอังกฤษเผื่อสื่อสารไม่ตรงนะครับ
The Economist ร่วมกับ Asia School of Business (ASB) สรุปผลรายงาน Talent Tech and Transformation: The role of the business leader in Asia ซึ่งสำรวจความคิดเห็นจากผู้บริหารในองค์กรต่างๆ ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ทั้ง Country CEO, Regional CEO, และ Global CEO กว่า 60% เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ มีรายได้ (revenue) ไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี
อย่างแรก เหตุผลหลักที่ต้องเปลี่ยนแปลง Transformation คือการรักษาความสามารถในการแข่งขัน to remain competitive ถ้าไม่เปลี่ยนก็จะตายอย่างช้าๆ
มีผู้บริหารเพียง 17% เท่านั้นที่บอกว่าองค์กรของตนมีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการรับมือกับอนาคต Only 17% of business leaders claim to be ahead of the curve when it comes to developing the next generation workforce และ 1 ใน 5 ไม่มั่นใจในศักยภาพของคนที่มีอยู่ของเขา 20% feel unable to confidently describe their current workforce as ‘future-ready
85% ของผู้บริหารเหล่านี้บอกว่าเขายังเผชิญกับอุปสรรคด้านความสามารถของพนักงานในการไปสู่กลยุทธ์ที่วางไว้ business leaders in Asia feel that a skills gap exists in their companies that will impede their efforts to deliver on strategy และกว่าครึ่งยอมรับว่าการลงทุนเพื่อพัฒนาบุคคลากรของพวกเขายังน้อยเกินไป half feel that the scale of investment in talent is too little.
ความสามารถของคนยังเป็นตัวแปรอันสำคัญที่สุดเพื่อบรรลุเป้าหมายสู่อนาคต People skills remain the most important for the future และการหาคนที่ใช่ยังเป็นความท้าทายขององค์กร and finding and recruiting the right people with the right skills continues to be a challenge.
เมื่อพูดถึง Transformation การต่อต้านความเปลี่ยนแปลงยังรักษาตำแหน่งอุปสรรคอันดับหนึ่งไว้ได้อย่างเหนียวแน่น Overcoming a resistance to change mindset is the number one challenge for business leaders ซึ่งผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอกับพนักงาน which can be countered by constant communication with the workforce
ผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่า องค์กรของตนใช้เวลามากยิ่งขึ้นกับการบริหารจัดการบุคคลากร โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกลยุทธ์ในอนาคต Business leaders report spending more time on people and skills related issues as they look to build the workforce they need to deliver on strategy
ทั้งหมดนี้คือที่รายงานสรุปมา คราวนี้ผมขอเจาะลึกเข้าไปในข้อคิดส่วนตัวที่เห็นบ้างนะครับ
ข้อคิดสำหรับผู้นำสมอง
People still more important than Digital ข้อมูลตรงนี้สะดุดใจผมมาก 81% ของผ้บริหารเลือกคำตอบ Strongly Agree ในหัวข้อ ‘People skills are increasingly important to the success of the business’ แต่ในหัวข้อ ‘Digital skills are increasingly important to the success of my business’ มี ‘เพียง’ 57% ที่บอกว่าเห็นด้วยอย่างเต็มที่ ถ้าดูจากข้อมูลตรงนี้คล้ายว่าแม้องค์กรต่าง ๆ จะอยู่ในช่วงของ Tech Transformation, แต่ Talent ด้านทรัพยากรมนุษย์และความสามารถของคน ก็ยังเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนธุรกิจอยู่ดี
Training is very much alive จะอย่างไร การอบรมเพิ่มพูนความรู้และทักษะใหม่ ๆ ให้กับพนักงานที่มีอยู่ก็ยังเป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนา 84% บอกว่าตนใช้วิธี Increased training and development opportunities รองลงมาคือ Individual Development Plan (69%) และอันดับสามคือ Redesign Roles (54%) ซึ่งทักษะหลักที่องค์กรเหล่านี้เน้นก็คือ Critical Thinking, Leadership, Collaboration, Problem solving และ Creativity ส่วนในด้านดิจิทัล องค์กรต้องการพัฒนาด้าน Analytical Reasoning, Ability to manipulate data, Digital marketing, Artificial intelligence, และ UX (user experience) design
Finding the right people is hard 7 ใน 10 ของคำตอบบอกว่าสิ่งที่ยากที่สุดของโจทย์นี้คือการหาคนที่ใช่ และทำอย่างจึงจะดึงบุคคลากรดังกล่าวเข้ามาร่วมในองค์กรได้ 70% of all respondents identify difficulties in finding and recruiting people with the right skillset ส่วนหนึ่งของความยากอาจเป็นเพราะ ทุกองค์กรล้วนลงทุนอย่างเต็มที่ในการ ‘ดึง’ คนที่ใช่ให้อยู่กับตนต่อไปนานๆ less than half of the survey participants report difficulties in retaining people 3 ใน 4 บอกว่าจุดนี้ไม่ใช่ปัญหา a quarter reporting that this isn’t a problem
สรุปอย่างไทย ๆ รายงานชิ้นนี้บอกเราว่า 1) จงลงทุนกับคนของคุณต่อไป เพราะไม่ว่าโลกดิจิทัลจะมาอย่างไร ท้ายสุดแล้วธุรกิจก็ยังเป็นความสามารถในการเข้าถึงเข้าใจมนุษย์อยู่ดี 2) จงเทรนพนักงานต่อไป เพราะองค์กรทุกแห่งล้วนจ้องจะ ‘ฉก’ คนเก่งของคุณ และ 3) ผู้บริหารระดับสูงสุดต้องเป็นผู้ขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้านคน อย่าส่งไม้ต่อให้คนอื่นดูแลแทน 73% of respondents indicate that they are in the driving seat when it comes to ensuring that the workforce is suitably equipped เพิ่มขึ้นจาก 47% เมื่อปี 2015
ใครสนใจอ่านงานชิ้นนี้แบบเต็มๆ หาได้ที่ https://www.eiu.com/n/campaigns/report-talent-tech-and-transformation/ ครับ