'โควิดเร่งใช้นวัตกรรม - เทคโนโลยี' ในอุตสาหกรรมโปรตีนสัตว์

'โควิดเร่งใช้นวัตกรรม - เทคโนโลยี'  ในอุตสาหกรรมโปรตีนสัตว์

สถานการณ์ระบาดโควิด-19 ทำให้จำกัดการเดินทาง และกระทบไปถึงเส้นทางห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจต่างๆ บังคับเกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีธุรกิจและชีวิตคนปกติ

โควิดเร่งการปรับใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมโปรตีนสัตว์

สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่ทำให้เกิดการจำกัดการเดินทาง และกระทบไปถึงเส้นทางห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจต่างๆ บังคับให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจและการดำเนินชีวิตของผู้คน เพื่อรักษาความมั่นคงของปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต รัฐบาลและผู้เชี่ยวชาญด้านห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกต่างกำกับดูแลและติดตามเรื่องความมั่นคงทางอาหารและเพิ่มอัตราการพึ่งพาตัวเองมากขึ้น

 

โปรตีนสัตว์เป็นผลิตภัณฑ์พื้นฐานสำคัญในอุตสาหกรรมอาหาร ผู้ผลิตในจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเผชิญหน้ากับอุปสงค์ในตลาดที่ลดลงในระยะสั้น และความท้าทายที่เกิดขึ้นกับห่วงโซ่อุปทานแบบไม่ได้คาดการณ์มาก่อน ซึ่งรวมไปถึง

  • ราคาเนื้อสัตว์ที่พุ่งขึ้นสูงในหลายๆ ประเทศ เช่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย อันเนื่องมาจากปัญหาด้านการจัดหา
  • การลดลงของอุปทานเพราะผู้ผลิตเนื้อสัตว์ปีกได้ชะลอการผลิตลง เนื่องจากความไม่แน่ใจในความต้องการสินค้าในช่วงโควิด
  • การปิดของตลาดสด ซึ่งนับเป็นแหล่งซื้อขายเนื้อสดกว่า 60-70% ในประเทศอาเซียน ประกอบกับความกังวลเรื่องความปลอดภัยของอาหาร ซึ่งนำไปสู่ยอดขายอาหารสดที่เพิ่มขึ้นในช่องทางจำหน่ายโมเดิร์นเทรด อาทิ ซูเปอร์มาร์เกต ไฮเปอร์มาร์เกต ร้านสะดวกซื้อ และร้านของชำออนไลน์ เพราะมีความน่าเชื่อถือเรื่องความสะอาดมากกว่า ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการจำหน่ายและซื้อหาเนื้อสัตว์ของผู้บริโภค

 

จากความท้าทายที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ผลิตเนื้อสัตว์หันมาแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์มากขึ้น และลดจำนวนประเภทผลิตภัณฑ์ รวมถึงให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่ราคาถูก เพื่อเจาะตลาดแมสมากขึ้น  โควิดยังเป็นตัวเร่งให้เทรนด์หลักๆ ในอุตสาหกรรมอาหารเติบโตมากขึ้น ดังนี้  

 

ความต้องการโปรตีนสัตว์ทางเลือกที่เพิ่มมากขึ้น

ถึงแม้ว่าการผลิตหลักยังดำเนินต่อไปได้ในช่วงนี้ แต่การหยุดดำเนินงานของโรงงานแปรรูป หรือธุรกิจอื่นๆที่เสริมกันเช่น บรรจุภัณฑ์ หีบห่อของอาหารแปรรูป หรือการผ่านด่านศุลกากรที่ต้องใช้เวลานานขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบต่อกันไปเป็นทอดๆ

 

เมื่อพิจารณาร่วมกับความต้องการที่จะพึ่งพาตนเองมากขึ้นของนานาประเทศ โปรตีนทางเลือกจึงได้รับความสนใจมากขึ้น ทั้งนี้ หมายถึงโปรตีนที่ไม่ได้มาจากเนื้อสัตว์ หรือโปรตีนจากพืช เช่น เต้าหู้ การใช้เทคโนโลยีอาหารในการผลิตโปรตีนทางเลือกหมายถึงการ ทลายข้อจำกัดของห่วงโซ่อุปทานเดิม และเป็นทางออกในการแก้ปัญหาทรัพยากรอาหาร

 

การปรับใช้เทคโนโลยีด้านการเกษตร (AgTech)

โรคระบาดโควิด-19 นี้เร่งให้เกิดความต้องการของความมั่นคงทางอาหาร และอาจผลักดันให้เกิดการฏิวัติอุตสาหกรรมการเกษตรครั้งต่อไป นับจากครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1960  ซึ่งจะนำโดยเทคโนโลยี AgTech ที่จะมาพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร

 

ยกตัวอย่างการเชื่อมต่อของเซนเซอร์ผ่าน Internet of Things ที่ตรวจดูปัจจัยด้านสุขภาพของสัตว์ รวมถึงสัญญาณชีพ เพื่อควบคุมสิ่งแวดล้อมของโรงเลี้ยงสัตว์ให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านสุขภาพและเป็นมิตร

ในขณะเดียวกัน การใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อเข้ามาในการบวนการแปรรูป เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานมนุษย์

 

การเติบโตของช่องทางการจำหน่ายออนไลน์

จากการสำรวจของนีลสันเรื่อง “COVID-19: Entering a New Norm in Consumer Behaviour” ยอดขายของสินค้าอุปโภคบริโภคในสิงคโปร์บนช่องทางออนไลน์ คิดเป็น 8% ของยอดขายตลาดค้าปลีกทั้งหมดในช่วงล็อคดาวน์ที่ผ่านมา เช่นเดียวกับประเทศไทยที่เห็นการเติบโตของการซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น

 

การปรับกระบวนการของห่วงโซ่อุปทานให้เป็นดิจิทัลส่งผลให้เกิดความชัดเจนและโปร่งใสในการติดตามทรัพยากรอาหารในห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งจะช่วยลดข้อกังวลด้านความปลอดภัยของอาหาร อีกทั้งยังช่วยยืดอายุของอาหารสด และลดการเน่าเสีย จากการตัดคนกลางออกไปและการนำสินค้าเข้าสู่ตลาดได้รวดเร็วขึ้น

 

การเติบโตของอาหารเพื่อสุขภาพ

ตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโควิดออกมาในท้องตลาด ผู้บริโภคจะหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพและการสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองมากยิ่งขึ้น และมองหาอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น อาหารที่มีปริมาณน้ำตาลน้อย ปราศจากทรานส์แฟต หรือโซเดียม ซึ่งให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าเพียงแค่สารอาหารที่มี เช่น มีคุณสมบัติช่วยป้องกันโรคบางอย่างได้ หรือช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย โดยอาหารเพื่อสุขภาพแบบดั้งเดิมนั้นคืออาหารที่ไม่ได้ผ่านการแปรรูป อาทิ อัลมอนด์ โอ๊ต เมล็ดเจีย เบอร์รี่ ส้ม บร็อคโคลี่ แซลมอน ทูเมอริค กาแฟ และชาดำ เป็นต้น  อาหารเพื่อสุขภาพที่ได้รับการดัดแปลง ได้แก่ น้ำส้มคั้นเสริมแคลเซียม ผลิตภัณฑ์นมที่ไม่ใช่นมวัว เช่น นมอัลมอนด์ กะทิ ธัญพืชที่มีสารอาหารสูง เช่น กราโนลา เป็นต้น

 

เทรนด์ด้านสุขภาพและอาหารเสริมสุขภาพนี้จะส่งผลให้ความนิยมในอาหาร “คลีน” เติบโตต่อไป

 

ติดตามอ่านรายงานเรื่องอุตสาหกรรมโปรตีนสัตว์ในเอเชียฉบับเต็มได้ โดยดาวน์โหลดผ่านทางเว็บไซต์ของยูโอบีที่

https://www.uobgroup.com/industry-insights-th/consumer-goods/index.page