‘ธุรกิจมองหากลยุทธ์เฉพาะตลาด’ เพื่อเข้าถึง ศก.ดิจิทัลอาเซีย

‘ธุรกิจมองหากลยุทธ์เฉพาะตลาด’  เพื่อเข้าถึง ศก.ดิจิทัลอาเซีย

เศรษฐกิจของเอเชียจะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้ในปีนี้ หากมีการผลิตวัคซีนที่สามารถควบคุมการระบาดของ โควิด-19ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงถึงเวล

เศรษฐกิจของอาเซียนเองมีแนวโน้มเติบโตในระยะยาว ด้วยปัจจัยพื้นฐานที่เข้มแข็ง รวมถึงการขยายตัวของ ชนชั้นกลาง ที่มีการจับจ่ายใช้สอยอยู่ที่ 10-100 ดอลลาร์ต่อวัน โดยภายในปี 2573 ชนชั้นกลางจะมีสัดส่วนถึง 65% ของประชากรในอาเซียนทั้งหมดรวมกัน และ 60% จะมีอายุต่ำกว่า 35 ปี

จากรายงานที่จัดทำร่วมกันระหว่าง Google Temasek และ Bain & Company ชี้ว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียนมีมูลค่าสูงถึง 100,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นมาถึง 3 เท่าในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตถึง 150 ล้านคน ที่จับจ่ายซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ เมื่ออาเซียนเข้าถึงอินเทอร์เน็ต มากขึ้นและกำลังซื้อของผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้น รายงานยังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคนี้จะขยายตัวถึง 300,000 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2568

อีคอมเมิร์ซช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบาย โดยที่ไม่ต้องเดินทางออกจากบ้าน ซึ่งเห็นได้ชัดเจนมากตามเมืองเล็กๆ ในอาเซียน ที่อาจจะไม่มีการเข้าถึงสินค้าและบริการผ่านร้านค้าเท่าเมืองใหญ่ๆ

กลยุทธ์ที่ต้องปรับให้เข้ากับตลาด

บริษัทอีคอมเมิร์ซข้ามชาติต่างต้องการเข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาดของอาเซียนที่กำลังเติบโต ไม่ว่าจะเป็น Mudah มาร์เก็ตเพลสจากมาเลเซีย หรืออีคอมเมิร์ซแบบ B2C และ C2C เช่น Shopee Lazada Carousell และ Tokopedia แต่การที่จะเข้าถึงตลาดต่างๆในอาเซียนได้นั้น ธุรกิจต้องเข้าใจถึงพฤติกรรมและความสนใจของผู้บริโภค ข้อจำกัดทางโครงสร้างสาธารณูปโภค และนโยบายการกำกับดูแลจากภาครัฐ ที่แตกต่างกัน

ประชากรของอาเซียนนั้นมีความแตกต่างทั้งด้านอายุและระดับรายได้ เช่น สิงคโปร์ มีจีดีพีต่อหัวอยู่ที่ 65,233 ดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็น 24 เท่าของจีดีพีต่อหัวของเวียดนาม หากพิจารณาจากความแตกต่างของกำลังซื้อในแต่ละตลาดแล้ว ธุรกิจจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ที่แตกต่างกันไปสำหรับแต่ละตลาดที่ต้องการเข้าถึง ในขณะเดียวกัน การเข้าใจภาษาท้องถิ่น เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในภูมิภาคที่ใช้ภาษาราชการ 12 ภาษา และภาษาท้องถิ่นอีกหลายร้อยภาษา

ในเวียดนาม มาร์เก็ตเพลสที่ถือกำเนิดในประเทศ เช่น Sendo และ Tiki สามารถแข่งขันกับผู้เล่นระดับภูมิภาค เช่น Lazadaได้ ในขณะที่ Tokopedia และ Bukalapak เป็นแพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมในอินโดนีเซีย เพราะสามารถสร้างการรับรู้ในหมู่คนท้องถิ่น ซึ่ง Lazada อินโดนีเซีย ได้เปิดตัว LazStar Academy เพื่อจัดเทรนนิ่งและคอร์สอบรมที่ให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ขายท้องถิ่น หรือ Zalora อีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มสำหรับแฟชั่นแบรนด์ ใช้กลยุทธ์รวบรวมแบรนด์ดังทั้งจากระดับโลกและระดับท้องถิ่น เพื่อให้สินค้ามีความหลากหลายและถูกรสนิยมลูกค้าในตลาด

ด้านประเทศไทยเอง การเป็นพันธมิตรในตลาดก็เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ผู้เล่นระดับภูมิภาคใช้ เช่น Shopee ประเทศไทยได้มีการจัดอบรมผู้ประกอบการบนแพลตฟอร์ม โดยจับมือกับพันธมิตรด้านต่างๆ รวมถึง ธนาคาร ยูโอบี ประเทศไทย ล่าสุด ได้ร่วมจัดอบรมเสริมทักษะด้านดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซในการใช้เทคโนโลยีเพื่อตอบคำถามลูกค้า หรือจัดการเรื่องภาษีออนไลน์ เป็นต้น

การปรับใช้ Omnichannel Commerce เพื่อเสริมกลยุทธ์เฉพาะตลาด

ขณะที่อีคอมเมิร์ซเน้นการสร้างออนไลน์แพลตฟอร์มเพื่อนำสินค้ามาสู่มือผู้บริโภค Omnichannel ใช้แนวทางการเข้าถึงลูกค้าผ่านหลายช่องทาง เพื่อมอบประสบการณ์การซื้อที่เชื่อมต่อกันจากออนไลน์สู่ออฟไลน์

ปัจจุบันลูกค้าใช้เวลาค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ถึงสินค้าที่ต้องการซื้อ รวมถึงอ่านรีวิวสินค้าเพื่อประกอบการตัดสินใจ ก่อนเดินเข้าหน้าร้านเพื่อลองดูสินค้าจริง และเลือกซื้อผ่านช่องทางการซื้อที่สะดวกกับตนเองมากที่สุด

ธุรกิจที่สามารถมอบประสบการณ์อันดีแก่ลูกค้าในทุกช่องทางจะสามารถสร้างความแตกต่างเหนือคู่แข่งได้

ธุรกิจออนไลน์สามารถปรับใช้การวิเคราะห์ฐานข้อมูล เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจได้ดีขึ้น หรือสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านทุกช่องทาง ธุรกิจที่มีหน้าร้าน ควรวิเคราะห์ข้อมูลตลาดอย่างถูกต้อง ก่อนวางจำหน่ายสินค้า เพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้ากลุ่มเป้าหมายกำลังมองหาสินค้านั้นๆ เป็นต้น

เพื่อให้การเริ่มต้นเป็นไปได้ง่ายขึ้น ผู้ประกอบการอาจมองหาตัวช่วย เช่น Shopmatic หรือ Synagie ผู้ให้บริการโซลูชันในภูมิภาคด้าน omnichannel โดยเฉพาะในด้านการเชื่อมต่อช่องทางการชำระเงินและการจัดส่งสินค้า รวมถึงการบริหารจัดการช่องทางการขาย สินค้าคงคลังและโกดังสินค้า ตลอดจนรีวิวสินค้าจากลูกค้า เป็นต้น