เปิด10 กองทุน“หลบภัย” อยู่รอดท่ามกลาง "สินทรัพย์ลงทุนทั่วโลก" ผันผวนหนัก

เปิด10 กองทุน“หลบภัย” อยู่รอดท่ามกลาง "สินทรัพย์ลงทุนทั่วโลก" ผันผวนหนัก

"สินทรัพย์ลงทุนทั่วโลก" ผันผวนหนัก   รวมถึง "ตลาดหุ้นไทย" บลจ. แนะ "กองทุนรวม" ยังเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือการลงทุน ช่วยลดความผันผวนของพอร์ตลงทุนได้และช่วยให้การลงทุนอยู่รอดได้ พร้อมเปิด10 กองทุน เข้า“หลบภัย” ที่ต้องมีติดพอร์ตไว้ กระจายสินทรัพย์ลงทุนทั่วโลก 

จากถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)  เมื่อคืนวันพุธ ที่ได้มีการประกาศขึ้นดอกเบี้ย 0.5% มาสู่ระดับ 0.75% - 1.00% ซึ่งเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่สองในรอบกว่า 3 ปี เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่ดีดตัวขึ้นมาสูง รวมถึงส่งสัญญาณว่าจะเห็นการขึ้นดอกเบี้ยในอัตรา 0.5% ต่อไปได้อีกหลายครั้ง ถึงแม้ทางเฟดจะให้ความเห็นว่ายังไม่มีแผนที่จะขึ้นดอกเบี้ยแต่ละครั้งในอัตราที่สูงกว่า 0.5%

นักลงทุน ก็ยังคงมีความกังวลว่าความยืดเยื้อของสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ทำให้ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมาตรการ Zero Covid ของทางรัฐบาลจีนจะส่งผลกระทบต่อ Global Supply Chain อาจทำให้อัตราเงินเฟ้ออาจพุ่งขึ้นไปอยู่เหนื่อระดับที่ควบคุมได้ ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในภาวะถดถอยได้   

 

 

 

 

 

 

 

เปิด10 กองทุน“หลบภัย” อยู่รอดท่ามกลาง \"สินทรัพย์ลงทุนทั่วโลก\" ผันผวนหนัก

ส่งผลให้ "สินทรัพย์ลงทุนทั่วโลก" ผันผวนหนัก   รวมถึง "ตลาดหุ้นไทย"  ในช่วงที่ผ่านมา SET TR  (ณ 6 พ.ค.) อยู่ที่ -0.8% ถือว่า outperform กว่าตลาดต่างประเทศที่ติดลบมาก  เนื่องจากหุ้นไทยยังพอมีปัจจัยหนุนจากภาคการท่องเที่ยวจากการเปิดประเทศมากขึ้น อย่างไรก็ดีปัจจัยภายนอกเช่น สงครามรัสเซีย-ยูเครน ความกังวลภาวะเศรษฐกิจถดถอย ( recession ) ยังคงส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยผันผวน รวมทั้งภาวะเงินเฟ้อที่จะส่งผลลบต่อการบริโภคในประเทศได้

"กองทุนรวม" ยังเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือการลงทุน ที่ช่วยลดความผันผวนของพอร์ตลงทุนได้และสามาถช่วยให้การลงทุนอยู่รอดท่ามกลางสินทรัพย์ลงทุนผันผวนหลักได้ โดย 

10 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ( บลจ.)  แนะนำ กองทุน “หลบภัย” ที่ผู้ลงทุนควรมีติดพอร์ตไว้  ดังนี้ 

1.กองทุนเปิด เคแทม เวิลด์ เอ็นเนอร์จี ฟันด์ (KT-ENERGY)   

2.กองทุนเปิด อเบอร์ดีน ลิสเต็ด ไพรเวท แคปปิตอล ฟันด์ (ABPCAP)  

3. กองทุนเปิด ยูไนเต็ด เฟล็กซิเบิ้ล อินคัม ฟันด์ (UFIN-N) 

4. กองทุนเปิด เค สตาร์(K-Star)  

5. กองทุนเปิด ไทยพาณิชย์ คอมมอดิตี้ พลัส (SCBCOMP) 

6. กองทุนเปิด  วี โกลด์ แอนด์ ซิลเวอร์ อิควิตี้ (WE-GOLD) 

7. กองทุนเปิด ทีเอ็มบี Global Infrastructure Equity (TMBGINFRA) 

8. กองทุนเปิด กรุงศรี โกลบอลแบรนด์ อิควิตี้  (KFGBRAND)

9.กองทุนเปิด เอ็มเอฟซี-บีที อินคัมโกรท ฟันด์ (MBT)

10.กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล มัลติ แอสเซท (PRINCIPAL GMA) 
 

 


 

 

 

บลจ.แนะแหล่งหลบภัย กระจายสินทรัพย์ลงทุนทั่วโลก 

บลจ.ยูโอบี แนะกองบอนด์ผสมอสังหาฯ

"จิติพล พฤกษาเมธานันท์"  นักกลยุทธ์การลงทุน ฝ่ายกลยุทธ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์การลงทุน สายพัฒนาธุรกิจ บลจ.ยูโอบี กล่าวว่า แหล่งหลบภัยในช่วงดอกเบี้ยขึ้น เงินเฟ้อสูง ควนเป็นการลงทุนที่มีความผันผวนไปพร้อมตลาดต่ำ (Low Beta) และมีผลตอบแทนที่ปรับขึ้นได้ตามเงินเฟ้อ  

"กองทุนที่ผสมบอนด์และกองทุนอสังหาฯ เป็นตัวเลือกที่ควรมีในพอร์ต เช่น UFIN-N ที่ลงทุนในสินทรัพย์สร้างรายได้ทั่วโลก

บลจ.พรินซิเพิล แนะกระจายลงทุนหุ้นทั่วโลก 

"ศุภกร ตุลยธัญ" ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ. พรินซิเพิล กล่าวว่า  บลจ. แนะใช้กลยุทธ์กระจายการลงทุน เพื่อเป็นการควบคุมความเสี่ยงเพื่อรับผลตอบแทนที่เหมาะสม โดยมุ่งเน้นหุ้นคุณค่า (Value Stock) มากกว่าหุ้นเติบโต (Growth Stock) และมุ่งเน้นในหุ้นคุณภาพมีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งและสภาพคล่องสูง 

อย่างกองทุน PRINCIPAL GMA  ซึ่งประเภท Asset Allocation หรือการกระจายการลงทุนหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลก มีสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนทั่วโลกประมาณ 70% และมีความยืดหยุ่นในการปรับน้ำหนักในแต่ละสินทรัพย์ตามสภาวะการลงทุน มีที่ปรึกษาเป็น PGAA (Principal Global Asset Allocation) ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการลงทุนแบบ Asset Allocation ทั่วโลก 

บลจ.กรุงไทย  ติดตามราคาน้ำมัน-เงินเฟ้อใกล้ชิด 

"สมชัย อมรธรรม" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิจัย และฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนและลูกค้าสัมพันธ์  บลจ.กรุงไททย   กลล่าวว่า  จากสถานการณ์ราคาน้ำมันในระยะสั้น รวมไปถึงความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานในระยะยาว จาก Inventory ที่ปรับตัวลดลงตาม Demand ที่ฟื้นตัวขึ้น, Spare capacity ที่เหลืออยู่ไม่มาก และการลงทุนใหม่ๆ ที่ลดน้อยลงในตลอดช่วงที่ผ่านมา 

 อย่างไรก็ตาม กองทุนดังกล่าวมีความผันผวนสูงมาก นักลงทุนจึงต้องติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกและภาวะเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด

บลจ.กสิกรไทย  คัดหุ้นไทย เข้าพอร์ต 

"กิตติคุณ ธนรัตนพัฒนกิจ" ผู้บริหารฝ่ายกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์การลงทุน บลจ.กสิกรไทย กล่าวว่า ในสถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นและสภาพคล่องทั่วโลกที่ลดลง เราให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นของระดับราคา ( Valuation)  ที่เหมาะสมของหุ้นรายตัว  

อย่างเช่น กองทุน K-STAR เน้นลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ และมีการกระจายน้ำหนักการลงทุนในหุ้นขนาดกลาง/เล็ก ที่มีศักยภาพการเติบโตที่ดีในระยะยาว และมีการจับจังหวะซื้อขายทำกำไรในโอกาสที่เหมาะสม 

บลจ.เอ็มเอฟซี จับจังหวะเข้าหุ้นราคาต่ำ-มีอัพไซด์ 

"ชาคริต พืชพันธ์"  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส บลจ.เอ็มเอฟซี กล่าวว่า ในสถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นและสภาพคล่องทั่วโลกที่ลดลง เราให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นของระดับราคา ( Valuation)  ที่เหมาะสมของหุ้นรายตัว   

โดยที่กองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่น (Flexible Fund) มีนโยบายกองทุนสามารถปรับน้ำหนักระหว่างหุ้นไทย และเงินสดได้ตั้งแต่ 0-100%  ทางผู้จัดการกองทุนจะประเมินสภาพตลาดและจับจังหวะปรับสัดส่วนระหว่างแต่ละ asset class ตามความเหมาะสม

"ดังนั้นกองทุน MBT จึงเหมาะสมทั้งในช่วงที่ตลาดมีความผันผวน โดยหากมีปัจจัยที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น ทางผู้จัดการกองทุนอาจปรับเพิ่มน้ำหนักเงินสดเพื่อลดความเสี่ยงของ portfolio แต่หากราคาหุ้นตัวใดปรับตัวลงมาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานเนื่องด้วยภาวะตลาดที่ไม่ดี แต่บมจ.ยังมีผลประกอบการเติบโต ทางผู้จัดการกองทุนก็สามารถเข้าซื้อหุ้นนั้นๆได้ในราคาที่ต่ำและมี upside เปิดกว้าง

เนื่องด้วยนโยบายที่มีความยืดหยุ่นดังกล่าวซึ่งเหมาะสมกับทุกสภาวะตลาด ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา กองทุน MBT ทำผลตอบแทนเฉลี่ยได้ 11.82% ต่อปี เทียบกับผลตอบแทนดัชนีชี้วัด (Benchmark) ที่ทำผลตอบแทนได้เฉลี่ย 4.94% ต่อปี  

บลจ.ไทยพาณิชย์ ชูกองทุน ป้องกันเงินเฟ้อ -หุ้นไทยผันผวนต่ำ 

"นันท์มนัส เปี่ยมทิพย์มนัส" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บลจ.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า  กองทุนต่างประเทศ โดยกองทุนหลัก เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนสินค้าโภคภัณฑ์  กระจายลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ที่หลากหลาย ช่วยป้องกันเงินเฟ้อ ( inflation headged) 

รวมถึงกองทุนหุ้นไทย แนะนำนักลงทุนหลบภัยในกองทุน SCBDA ซึ่งเป็นหนึ่งในกองทุนที่เราคาดว่าจะได้รับผลกระทบต่ำ ดังนี้ 

1.เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นไทยทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะมีความผันผวนทางการลงทุนต่อความเสี่ยงปัจจัยภายนอกที่ต่ำ โดยเฉพาะช่วงที่มีความกังวลด้าน Fed และปัจจัยเงินเฟ้อ

2. มีการบริหารกองทุนแบบ active ทางผู้จัดการกองทุน พิจารณาทั้งปัจจัยเศรษฐกิจมหภาค และปัจจัยเฉพาะตัวของบริษัท มาประกอบการจัดพอร์ต

3. มีการกระจายความเสี่ยงที่ดี มีการเลือกจัดน้ำหนักหุ้นในพอร์ตมิให้มีความเสี่ยงด้านการกระจุกตัวมากเกินไป  

 

มอร์นิ่งสตาร์ เตือนระวังลงทุนช่วงนี้ 

เน้นกระจายความเสี่ยงเหมาะกับตนเอง 

"ชญานี จึงมานนท์"  นักวิเคราะห์อาวุโส บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) แนะนำว่า  การลงทุนในระยะยาว ยังควรเน้น asset allocation เพื่อกระจายความเสี่ยงตามความเหมาะสมกับตนเอง เช่น ในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นนี้หากรับความเสี่ยงได้ต่ำควรเลือกลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น

หากรับความเสี่ยงได้มากสามารถทยอยลงทุนกองทุนหุ้นได้ในช่วงตลาดปรับลงแรง อย่างไรก็ดีในช่วงนี้ควรมีความระมัดระวังในการตัดสินใจลงทุนเนื่องจากยังต้องติดตามต่อไปว่าการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดจะช่วยให้เงินเฟ้อชะลอตัวลงได้หรือไม่