ลดลง เก็งกำไร PSL AOT KBANK (10 พฤษภาคม 2565)
คาดดัชนีฯ ลดลง แนวต้าน 1,617 / 1,624 จุด แนวรับ 1,593 / 1,580 จุด ทางเทคนิค ดัชนีฯ ยังคงอยู่ในแนวโน้มขาลง (สัญญาณซื้อจะเกิดขึ้นต่อเมื่อเกิด Reversal Pattern) แนะนำเก็งกำไร PSL AOT KBANK
ปัจจัยกดดันตลาด ยังคงเป็นการกังวลต่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัว (การล็อกดาวน์ของจีน และมาตรการคุมเข้มทางการเงินของเฟด) ส่วนประเด็นวันนี้ จับตาสุนทรพจน์ของประธานเฟด สาขานิวยอร์กและแอตแลนตา (หากส่งสัญญาณไม่เร่งปรับขึ้นดอกเบี้ย จะเป็นบวกต่อตลาดหุ้น) การประกาศงบการเงิน 1Q22E ของบจ.ไทย อาทิ BANPU CENTEL IRPC KCE (จะส่งผลต่อราคาหุ้นรายตัว หากออกมาดีหรือแย่กว่าคาด)
กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ
+KTX Portfolio: พอร์ต Mid-Small Cap แนะนำ BAFS MC TACC TFG SAT TMT SMT TOG (แนะนำซื้อ SMT) ส่วนพอร์ต Big Cap แนะนำ GULF CRC AWC BEC TCAP JMT BH AOT SPRC KKP MINT KTB TTB MAJOR BLA (แนะนำขาย EA)
+กลุ่ม Earnings Play (ดูรายงาน Tactical Play): BE8 CPW PYLON ESSO SISB - HENG HTC STGT AEONTS SCCC
+/-กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากยิลด์พันธบัตรขาขึ้น: +BBL KBANK KKP BLA TIPH –กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้า เงินทุนและหลักทรัพย์ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
+กลุ่มได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาท: KCE HANA SMT SAPPE TWPC NER SABINA
+/-MSCI Rebalance: +JMT COM7 –STGT BGRIM
ปัจจัยลบ
-Fund Flow: นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องในตลาดหุ้น -430.56 ล้านบาท และเปิดสถานะ Short สุทธิใน SET50 Index Futures -10,829 สัญญา
-Thai Baht: การแข็งค่าของเงิน USD ส่งผลต่อค่าเงินบาทวานนี้ อ่อนค่า 22 สตางค์ ปิดที่ 34.62 บาท และมีความเสี่ยงที่จะอ่อนค่าต่อเนื่องไปที่ 35 บาท/USD เพิ่ม ความเสี่ยงต่อแรงขายหุ้นของนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้น เพื่อลดผลกระทบจาก FX Loss
-Oil Price: ราคาน้ำมัน WTI วานนี้ พลิกกลับมาปรับลดลง -USD6.68/บาร์เรล ปิดที่ 103.09 จุด ซึ่งทำให้ระยะสั้นหุ้นกลุ่มโรงกลั่นมีโอกาสเผชิญแรงเทขายทำกำไร และจะเป็นแรงกดดันเพิ่มเติมให้ดัชนีฯ ปิดลบมากยิ่งขึ้น
ประเด็นสำคัญ
- EU ZEW Economic Sentiment Index เดือน พ.ค. คาดอยู่ที่ -45 (Vs เดือน เม.ย. อยู่ที่ -43)
- Germany ZEW Economic Sentiment Index เดือน พ.ค. คาดอยู่ที่ -42 (Vs เดือน เม.ย. อยู่ที่ -41)
- สุนทรพจน์ของ John Williams ประธานเฟด สาขานิวยอร์ก และ Raphael Bostic ประธานเฟด สาขาแอตแลนตา
Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา
- ตลาดหุ้นไทยปิดลบเป็นวันที่ 5: ตลาดหุ้นไทยยังคงเผชิญแรงเทขายกดดันตลอดทั้งวัน ปิดที่ 1,604.49 จุด -25.09 จุด วอลุ่มซื้อขาย 8.1 หมื่นล้านบาท กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร -2.51% กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ -1.95% กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค -1.38% กลุ่มพาณิชย์ -1.31% หุ้นบวก >4% CEYE PSL BE8 TKT SUSCO KAMART D CMAN TRC TMI GRAND CHOW หุ้นลบ >4% UPA ORI DITTO ALPHAX TKC MSC BYD BIS RBF NUSA BWG TRUE TH ZIGA
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตลาดหุ้นยุโรปปิดลบต่อเนื่อง: DJIA -1.99% S&P500 -3.20% NASDAQ -4.29% นำลงโดยหุ้น 10 จำก 11 กลุ่มอุตสาหกรรม อาทิ กลุ่มพลังงาน -8.3% อสังหาฯ -4.62% เทคโนโลยี เป็นต้น โดยดัชนี S&P500 ต่ำกว่าระดับ 4,000 จุด เป็นครั้งแรกรอบกว่า 1 ปี เพราะเกิดภาวะ Risk-off กังวลเศรษฐกิจถดถอย เนื่องจากเฟดเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อ และการล็อกดาวน์จีน (ล่าสุดส่งออกเดือน เม.ย. ลดลงเหลือ +3.9% YoY ต่ำสุดตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2020) ส่วนตลาดหุ้นยูโรปร่วงต่อเนื่อง CAC40 -2.75% DAX -2.15% FTSE -2.32% โดยดัชนี STOXX600 แตะระดับต่ำสุดรอบ 2 เดือน นำโดยหุ้นกลุ่มท่องเที่ยวและสันทนาการ รวมถึงหุ้นกลุ่มเทคฯ เพราะกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและการพุ่งขึ้นของยิลด์พันธบัตรสหรัฐฯ
- น้ำมันดิบและทองคำปิดร่วงแรง: WTI -USD6.68 ปิดที่ USD103.09/บาร์เรล Brent -USD6.45 ปิดที่ USD105.94 บาร์เรล กังวลอุปสงค์ลดลง หลังจากจีนรายงานตัวเลขนำเข้าน้ำมัน 4 เดือนแรกปีนี้ ลดลง 4.8% เนื่องจากการใช้มาตรการล็อกดาวน์ยาวนานในเซี่ยงไฮ้และบางส่วนของปักกิ่ง เช่นเดียวกับราคาทองคำกลับมาปิดลบ -USD24.20 ปิดที่ USD1,858.60/ออนซ์ จากการแข็งค่าของเงิน USD และยิลด์พันธบัตรสหรัฐฯ พุ่งขึ้นแรง (ยิลด์พันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี แตะ 3.185% สูงสุดตั้งแต่ปี 2018)
ประเด็นสำคัญ
- China: สำนักงานศุลกากรจีน (GAC) รายงานวานนี้ว่า ยอดส่งออกของจีนเพิ่มขึ้นเพียง 3.9% ในเดือน เม.ย. เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2020 และชะลอตัวลงอย่างมากจากเดือน มี.ค. ที่มีการขยายตัว 14.7%
- USA: กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเพิ่มขึ้น 2.3% ในเดือน มี.ค. เมื่อเทียบรายเดือน แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 2.6% หลังจากทะยานขึ้น 2.8% ในเดือน ก.พ. เมื่อเทียบรายปี สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งพุ่งขึ้น 22.0% ในเดือน มี.ค. ขณะที่ยอดขายในภาคค้าส่งพุ่งขึ้น 1.7% ในเดือน มี.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 1.5% ในเดือน ก.พ. นอกจากนี้ เจ้าของธุรกิจจะใช้เวลา 1.22 เดือน ในการขายสินค้าจนหมดสต็อก ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน ก.พ.
-/+ Sri Lanka: นายมหินทะ ราชปักษะ นายกรัฐมนตรีศรีลังกา ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งในวันนี้ ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจครั้งรุนแรงที่สุดของศรีลังกา และความไม่พอใจของประชาชนต่อความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล จนทำให้ชาวศรีลังกาออกมาชุมนุมขับไล่รัฐบาล ซึ่งบริหารประเทศโดยตระกูลราชปักษะ
+ Thailand: รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ผู้บริหารกระทรวงพลังงานทำงานร่วมมือกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจกระทรวงพลังงาน เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และบมจ. ปตท. (PTT) เป็นต้น ทบทวนมาตรการช่วยเหลือประชาชนในด้านพลังงาน โดยให้ร่วมมือกันหาแนวทางใหม่ ๆ และนำมาเสนอปลัดกระทรวงพลังงานในวันที่ 13 พ.ค. 2022
กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)
หุ้นแนะนำรายสัปดาห์: JMT SMT BE8
หุ้นแนะนำเก็งกำไร: PSL AOT KBANK
Derivatives: รอเปิด Short S50M22 เมื่อหลุด 957 จุด