OSP ไตรมาส 1/65 กำไร 750 ล้านบาท วูบ 25% เหตุผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน

OSP ไตรมาส 1/65 กำไร 750 ล้านบาท วูบ 25%  เหตุผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน

"โอสถสภา" เผยไตรมาส 1/65 กำไร 750 ล้านบาท ลดลง 25% หากไม่นับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเติบโต 8.1% ขณะที่รายได้รวม  7,518 ล้านบาท โต 5.6% จากช่วงเดียวกันปีก่อน มีรายได้จากการขายทำนิวไฮ เติบโตแข็งแกร่ง แม้เผชิญหลายปัจจัยลบรุมเร้า ยังเป็นผู้นำตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลัง 54%

บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) หรือ OSP แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)ว่า ผลการดำเนินงานในไตรมาส 1 ปี 2565 บริษัทมีกำไรสุทธิ ที่ 750 ล้านบาท ลดลง 25.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และมีรายได้รวม 7,518 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.6% จากช่วงเดียวกันปีก่อน  เนื่องจากเผชิญกับผลกระทบจากการปรับขึ้นราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์  และการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อทั่วโลก รวมถึงผลกระทบจากอัตราแลกปลี่ยน 

แต่อย่างไรก็ตามอัตรากำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัท 10% ซึ่งหากไม่ผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน กำไรจากการดำเนินงานของบริษัทในไตรมาส 1/2565 อยู่ที่ 794 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิที่ 10.6% โดยกำไรสุทธิหลักปรับปรุงผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน เติบโต 8.1% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานที่ไม่รวมปันผลจากเงินลงทุนในบริษัทอื่น จำนวน 305 ล้านบาท และผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนในไตรมาส 1 ปี 2564  สะท้อนภาพรวมการดำเนินงานที่เติบโต

 

 

ขณะที่บริษัทำสถิติรายได้จากการขาย สำหรับไตรมาสสูงสุดอย่างต่อเนื่องที่ 7,472 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 10.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลมาจากการเติบโตของยอดขายอย่างโดดเด่นในทุกกลุ่มธุรกิจทั้งใน และต่างประเทศ สะท้อนการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งและความสามารถในการด่าเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

สะท้อนภาพรวมการดำเนินงานที่เติบโต แม้ต้องเผชิญกับผลกระทบจากปัจจัย
ภายนอกอย่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวร้สโควิด-19 ที่ยืดเยื้อยาวนาน และสถานการณ์ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งส่งผลต่อการปรับขึ้นราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ และการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อทั่วโลก

ทางด้าน อัตรากำไรขั้นต้นสำหรับ ไตรมาส 1 ปี 2565  ลดลง 1.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวปีก่อน อยู่ที่ 31.7% สะท้อนราคาต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นจากการปรับขึ้นของราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ และอัตราค่าระวางขนส่งและกระจายสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น รามถึงการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิดเพื่อรองรับเทคโนโลยีการผลิตขวดแก้วน้ำหนักเบาสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ภายใต้แบรนด์เอ็ม-150 ที่ออกสู่ตลาดในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2565 ทำให้คาดว่า ใน ไตรมาส 2 ปี 2565 จะเริ่มมีปัจจัยบวกเพิ่มขึ้น จากประสิทธิภาพการผลิดที่ดีขึ้น สัดส่วนรายได้จากการขายผลิดภัณฑ์ใหม่เพิ่มขึ้น และการบริหารต้นทุน
และควบคุมค่าใช้จ่ายผ่านโครงการ Fast Fonward 10X

โอสถสภา เป็นผู้นำตลาด และสามารถเติบโตได้ดีกว่าตลาดโดยรวม ด้วยส่วนแบ่งการตลาดในตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลังอยู่ที่ 54.0% ในขณะที่เครื่องดื่มซีวิทฉลองครบรอบ 10 ปี ด้วยสถิติส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดที่ 38.0% ส่งผลให้โอสถสภาทำสถิติ ส่วนแบ่งการตลาดโดยรวมในกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม Functional Drinks สูงสุดที่ 42.6% ในไตรมาส1/2565 แม้ว่าภาพรวมของทั้งสองตลาดยังคงหดตัว

โอสถสภา สามารถสร้างการเติบโตของยอดขายได้ดีจากการปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด และพฤติกรรมผู้บริโภค ผ่านความเข้มแข็งของทีมขายและการกระจายสินค้า การนำเสนอสินค้าที่มีนวัดกรรม และความแข็งแกร่งของตราสินค้าของกลุ่มผลิตภัณฑ์

โอสถสภามีฐานะการเงินที่แข็งแกร่งด้วยสัดส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่ 0.05 เท่า พร้อมเปิดรับโอกาสการลงทุนเพื่อรองรับการเติบโดทางธุรกิจ

 

 

พิสูจน์อักษร  โดย....สุรีย์   ศิลาวงษ์