ธปท. ชี้โอกาสเห็นเศรษฐกิจไทยปีนี้โตต่ำกว่า 1.6%เกิดขึ้นยาก
ธปท.ชี้โอกาสเห็นเศรษฐกิจไทยปีนี้ โตต่ำกว่าปีก่อน ที่ 1.6% มีน้อยมาก หลังเศรษฐกิจมีสัญญาณเติบโตต่อเนื่อง บวกท่องเที่ยว-ส่งออกยังไปได้ดี แม้เงินเฟ้อสูงขึ้นมาก เชื่อไม่ทำให้ไทยเข้าสู่ภาวะ Stagflation
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า หากดูภาพรวมเศรษฐกิจไทยปีนี้ เชื่อว่าจะยังเห็นทิศทางการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยหากดูการขยายตัวเศรษฐกิจปีก่อน เศรษฐกิจไทยขยายตัว ระดับ 1.6%
ขณะที่ปีนี้ คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตที่ 3.2% ดังนั้นในภาพเศรษฐกิจปีนี้ ไม่ได้เป็นภาพของการชะลอตัว แม้จะโตไม่ถึง 3% ก็ตาม
ดังนั้นมองว่าโอกาสที่จะเห็นเศรษฐกิจไทยปีนี้เติบโตช้า หรือโตต่ำกว่าปีก่อน ถือว่ามีน้อยมาก เพราะการที่เศรษฐกิจไทยจะโตต่ำกว่าระดับ 2% ได้ ต้องมาจาก 2ปัจจัยสำคัญ คือ การท่องเที่ยวต้องไม่มา หรือมีน้อยมาก ไม่ถึงระดับ 3ล้านคนปีนี้ แต่ภายใต้การคาดการณ์ของธปท.ประเมินว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติ จะเพิ่มขึ้นเป็น 5-6 ล้านคนปีนี้ และมีโอกาสที่นักท่องเที่ยวจะทำได้มากว่าคาดการณ์ไว้ ปัจจุบันนักท่องเที่ยวเข้ามาแล้ว 1.2ล้านคน
สอง คือส่งออกไทยต้องลดลงมาก แต่ปัจจุบันส่งออกยังขยายตัวได้ดีในไตรมาสแรกที่ผ่านมา ดังนั้นยังไม่เห็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจ จึงไม่เข้าข่าย Stagflation
เศรษฐพุฒิ ยังกล่าวต่อว่า ในช่วงวิกฤตโควิดที่ความเสี่ยงสูง หัวใจสำคัญของการดำเนินนโยบายการเงินและมาตรการเงินของ ธปท. คือ ทำให้ระบบการเงินทางานเป็นปกติที่สุด
ซึ่งถือว่าเราทำได้ดีระดับหนึ่ง เห็นได้จาก แม้ เศรษฐกิจได้รับผล กระทบหนัก GDP หดตัว และฟื้นตัวช้ากว่าประเทศในภูมิภาค แต่สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย (ธพ.) ยังขยายตัวได้ (ไตรมาส 1-65 สินเชื่อรวมของระบบ ธพ. โตถึง 6.9% สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย 6.3% ฟิลิปปินส์ 5.7% มาเลเซีย 4.7%) หากมองที่เม็ดเงินสินเชื่อเข้าสู่ระบบในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาสูงถึง 1.5 ล้านล้านบาท
แต่ในช่วงนั้น ธปท. มองว่ายังไม่เพียงพอ เพราะมีบางจุดที่เม็ดเงินยังไม่ได้ไปในที่ที่ต้องการให้ไป โดยเฉพาะ SMEs จึงต้องออกมาตรการเสริมอย่างมาตรการเติมเงินใหม่ ได้แก่ พ.ร.ก. สินเชื่อ soft loan โดยสามารถปล่อยสินเชื่อได้ 1.4 แสนล้านบาท
และเมื่อเริ่มติดเงื่อนไขต่าง ๆ ก็ได้ปรับมาตรการตามสถานการณ์ โดยออก พ.ร.ก. ฟื้นฟู ซึ่งล่าสุดสามารถปล่อยสินเชื่อฟื้นฟูได้ 1.7 แสนล้านบาท เมื่อรวมกับสินเชื่อ soft loan เดิมแล้วสูงถึงกว่า 3 แสนล้านบาท คิดเป็นประมาณ 10% ของสินเชื่อ SMEs ในระบบ ธพ.
ซึ่งถือว่าไม่น้อย และสามารถช่วยให้ระบบการเงินทางานต่อได้
มาตรการอีกกลุ่มหนึ่ง คือ การแก้หนี้เดิม เพราะวิกฤตครั้งนี้ทาให้รายได้ของธุรกิจและประชาชนหายไป ไม่สามารถจ่ายหนี้ที่มีอยู่เดิมได้ ทาง ธปท. จึงออกมาตรการแก้หนี้อย่างตรงจุด เหมาะกับสถานการณ์ และมีความยืดหยุ่น ช่วงแรกในปี 2563 ได้ออกมาตรการพักหนี้เป็นวงกว้างแบบปูพรม
เพราะประเมินว่าสถานการณ์โควิดจะคลี่คลายได้ไว ซึ่งในช่วงสูงสุด (กลางปี 2563) มีลูกหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือรวมเป็นเม็ดเงินกว่า 7 ล้านล้านบาท หรือกว่า 50% ของยอดสินเชื่อทั้งหมด ถัดมาเมื่อสถานการณ์ยืดเยื้อ แต่ละภาคส่วนได้รับผลกระทบจากโควิดต่างกัน และฟื้นตัวแบบไม่เท่าเทียม (แบบ k-shaped)
ดังนั้นมาตรการก็ปรับเปลี่ยนให้ความช่วยเหลือแบบเฉพาะเจาะจง (targeted) โดยเฉพาะลูกหนี้ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมาก เช่น ท่องเที่ยว รวมถึงปรับมาตรการช่วยเหลือเป็นระยะยาวมากขึ้น เพื่อให้ สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลงของลูกหนี้
เช่น มาตรการแก้หนี้ระยะยาว 3 ก.ย. 64 สาหรับลูกหนี้รายย่อยที่เริ่มผิดนัดชาระหนี้ ก็ได้ปรับหลักเกณฑ์การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชาระหนี้เพื่อลดภาระดอกเบี้ยของลูกหนี้
ส่วนคนที่เป็นหนี้เสีย (NPL) แล้ว ก็มีทั้งโครงการคลินิกแก้หนี้สาหรับหนี้เสียบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล และโครงการไกล่เกลี่ยหนี้นอกศาล เพื่อลดปัญหาไม่ให้ลูกหนี้ติดอยู่ในกระบวนการศาล
เช่น มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินเชื่อเช่าซื้อ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ธปท. พยายามออกมาตรการแก้หนี้รองรับให้ครบวงจรและตรงจุดกับปัญหาของลูกหนี้
หากเทียบกับการช่วยเหลือของต่างประเทศ โดยรวมไม่ต่างกัน กล่าวคือ มาตรการการคลังหรือการใช้จ่ายของภาครัฐเป็นพระเอก หลายประเทศทานโยบายการคลังแบบขาดดุลมากขึ้น เพื่อพยุงเศรษฐกิจไม่ให้ทรุดลงไปมาก
ซึ่งส่งผลให้หนี้สาธารณะปรับสูงขึ้น ส่วนที่ถือเป็นนวัตกรรมของไทยเอง อาจเป็นโครงการพักทรัพย์ พักหนี้
ธปท. ได้ออกมาเพื่อช่วยลูกหนี้ธุรกิจในช่วงที่ไม่มีกระแสเงินสดในการลดภาระหนี้ผ่านการนาทรัพย์สินมาตีโอนเพื่อชาระหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงิน แต่ยังมีสิทธิ์ซื้อคืนกิจการได้ เช่น ธุรกิจโรงแรม ล่าสุดมีมูลค่าโอนสินทรัพย์แล้วกว่า 40,000 ล้านบาท
สิ่งที่ ธปท. ให้ความสำคัญ คือ การขับเคลื่อนมาตรการให้เห็นผลจริง เน้นติดตามผลของมาตรการ และไม่ยึดติดกับมาตรการเดิม พร้อมปรับตามสถานการณ์
เช่น พ.ร.ก. ฟื้นฟู ธปท. เน้นการพูดคุยกับ ธพ. และจัดทำเป้าหมายยอดสินเชื่อฟื้นฟู ซึ่งเดิมตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อฟื้นฟู 1 แสนล้านบาทภายใน 6 เดือน แต่สามารถปล่อยสินเชื่อได้เร็วกว่าเป้าภายใน 4 เดือน
ในระยะถัดไป โจทย์สำคัญของ ธปท. คือ ทำอย่างไรให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องและไม่สะดุด ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่มีอยู่ ทั้งความผันผวนในตลาดการเงินโลก แนวโน้ม NPL ที่อาจทยอยเพิ่มขึ้นแต่จะไม่รุนแรงจนเป็น NPL cliff รวมถึงเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น