“เฉลิมชัย” โชว์เคสความสำเร็จแปลงใหญ่มังคุด ต.ลำภี ดีเด่นระดับจังหวัด ปี 65

“เฉลิมชัย” โชว์เคสความสำเร็จแปลงใหญ่มังคุด ต.ลำภี ดีเด่นระดับจังหวัด ปี 65

“เฉลิมชัย” โชว์เคสความสำเร็จแปลงใหญ่มังคุด ต.ลำภี จ.พังงา ดีเด่นระดับจังหวัด ปี 65 สร้างอนาคตที่มั่นคง ด้วยมาตรฐาน GAP ต้นทุนลด 35% ทำผลผลิตเพิ่ม 11%

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า โครงการระบบส่งเสริมเกษตร แบบแปลงใหญ่ เป็นหนึ่งในโครงการสำคัญในการปฏิรูปภาคการเกษตรของประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการรวมกลุ่มของเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ที่พร้อมจะพัฒนาการผลิต การตลาดร่วมกัน ตามนโยบายตลาดนำการผลิต ผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่ม เพื่อร่วมกันจัดหาปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพดี ราคาถูก และใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม

 

“เฉลิมชัย” โชว์เคสความสำเร็จแปลงใหญ่มังคุด ต.ลำภี ดีเด่นระดับจังหวัด ปี 65

โดยในช่วงเวลาที่ผ่านมา จากผลการดำเนินการได้ส่งผลให้เกิดเกษตรแบบแปลงใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ ดั่งเช่น แปลงใหญ่มังคุดตำบลลำภี หมู่ที่ 2 ตำบลลำภี อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ซึ่งได้รับคัดเลือกให้เข้ารับรางวัลแปลงใหญ่ดีเด่นระดับจังหวัด ประจำปี 2565 แปลงใหญ่แห่งนี้ จัดตั้งขึ้นในปี 2563 โดยสำนักงานเกษตรอำเภอท้ายเหมือง มีนายวิวัฒน์ วสันต์ เป็นประธานแปลงใหญ่ มีสมาชิกรวม 85 ราย พื้นที่ให้ผลผลิตมังคุดรวม 380 ไร่

 

“เฉลิมชัย” โชว์เคสความสำเร็จแปลงใหญ่มังคุด ต.ลำภี ดีเด่นระดับจังหวัด ปี 65

“ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้มอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา และสำนักงานเกษตรอำเภอท้ายเหมือง เข้าไปดำเนินถ่ายทอดความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิต โดยด้านความรู้ มุ่งเน้นการบริหารจัดการกลุ่ม การลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต สนับสนุนแปลงเรียนรู้ 6 แปลง เป็นแปลงเรียนรู้ด้านระบบน้ำ การจัดการต้น และการใช้ปุ๋ย ซึ่งปีงบประมาณ 2564 ถ่ายทอดความรู้ มุ่งเน้นการบำรุงรักษาสวน การพัฒนาคุณภาพผลผลิต และสนับสนุนแปลงเรียนรู้ระบบน้ำ 1 แปลง และในปีงบประมาณ 2565 ถ่ายทอดความรู้ มุ่งเน้นการตลาดและการจัดการผลผลิตหลังเก็บเกี่ยว และสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์  อาทิ ตะกร้าใส่ผลไม้ และอุปกรณ์ตรวจวัดดิน เพื่อเป็นพื้นฐานในการจัดตั้งจุดรับซื้อผลผลิตต่อไปในอนาคต” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าว

“เฉลิมชัย” โชว์เคสความสำเร็จแปลงใหญ่มังคุด ต.ลำภี ดีเด่นระดับจังหวัด ปี 65

 

ด้าน นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ภายใต้การดำเนินโครงการฯ  ได้ดำเนินการส่งเสริม และพัฒนา จนนำมาความสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายแปลงใหญ่ โดยด้านการลดต้นทุนจากการวิเคราะห์แผนการผลิตรายบุคคล (Individual Farm Production Plan :IFPP) ตลอดทั้ง 3 ปีงบประมาณ พบว่า ก่อนเข้าร่วมโครงการมีต้นทุนการผลิตรวมที่ 7,200 บาท แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายด้านวัสดุอุปกรณ์ ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี 4,450 บาท และค่าจ้างแรงงาน 2,750 บาท แต่เมื่อเข้าร่วมโครงการและได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านการลดต้นทุนการผลิตแล้ว ต้นทุนรวมลดลงร้อยละ 23 ขณะที่ปี 2564 ลดลงร้อยละ 34 ปี 2565 ลดลงร้อยละ 35 ด้านการเพิ่มผลผลิต อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ IFPP ตลอดทั้ง 3 ปีงบประมาณ โดยก่อนเข้าร่วมโครงการมีผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 580 กิโลกรัมต่อไร่ หลังเข้าร่วมมีผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 638 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 10 ปี 2564 ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 580 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 11 สำหรับปี 2565 คาดการณ์ พบว่า ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่อาจลดลง เนื่องจาก สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลกระทบต่อปริมาณของผลผลิตที่จะออกมาในแต่ละปี ส่วนด้านการพัฒนาคุณภาพสมาชิกแปลงใหญ่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ขณะที่คุณภาพด้านเกรดของผลผลิต มีแนวโน้มดีขึ้นในทุกรอบการผลิต

“เฉลิมชัย” โชว์เคสความสำเร็จแปลงใหญ่มังคุด ต.ลำภี ดีเด่นระดับจังหวัด ปี 65

“ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การดำเนินงานของแปลงใหญ่มังคุดตำบลลำภี ประสบความสำเร็จได้ประกอบไปด้วย สมาชิกเป็นตัวการในการขับเคลื่อนที่มีความสามัคคี มีความเข้มแข็ง พร้อมที่จะพัฒนาไปข้างหน้าด้วยกัน โดยเฉพาะเกษตรกรต้นแบบมีความรู้ ความสามารถ เป็นผู้ที่เสียสละ มีจิตอาสาในการเป็นวิทยาทาน และดำเนินงานให้ชุมชนมีแหล่งเรียนรู้ รวมถึงคณะกรรมการแปลงใหญ่มีความซื่อสัตย์สุจริต และจากการร่วมมือของสมาชิกแปลงใหญ่และการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ ส่งผลให้สมาชิกแปลงใหญ่มีข้อมูล ฐานเรียนรู้ องค์ความรู้ตรงกับสภาพพื้นที่ และความต้องการของเกษตรกร สมาชิก พร้อมดำเนินกิจกรรมอย่างเข้มแข็ง อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้สร้างความสำเร็จ เกิดความมั่งคั่ง มั่นคง อย่างยั่งยืน” อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว

 


พร้อมกันนี้ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวถึงแผนพัฒนาในอนาคตของแปลงใหญ่มังคุดตำบลลำภีว่า มีการวางแผนด้านการผลิตเพื่อสานต่อกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรมังคุด ตลอดจนสรุปผล และถอดบทเรียนที่ได้รับนำมาปรับปรุง วางแผนรับมือในปีถัดไป ส่วนด้านการตลาด มีแผนที่จะรวมตัวผลผลิตเพื่อขายในตลาดออนไลน์ และเปิดจุดรับซื้อของกลุ่มที่จะเป็นศูนย์กลางในการส่งไปยังพ่อค้า หรือตลาดค้าส่งโดยตรง อีกทั้งยังจะพัฒนาคุณภาพผลผลิตและการเพิ่มมูลค่า ใช้กระบวนการวิสาหกิจชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเพิ่มมูลค่าด้วยการแปรรูป และการเก็บรักษาให้ยาวนานขึ้น ทำให้สามารถจำหน่ายผลผลิตมังคุดได้ตลอดทั้งปี