กนง. ชี้ แนะออกมาตรการเฉพาะจุด ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง หลังขึ้นดอกเบี้ย
กนง. ย้ำ ติดตามความเปราะบางครัวเรือนพุ่ง หวั่นต้นทุนการเงินเพิ่ม กระทบครัวเรือน ชี้ควรออกดําเนินมาตรการเฉพาะจุดเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง
เปิดรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) (ฉบับย่อ) ครั้งที่ 3/2565 วันที่ 2 และ 8 มิถุนายน 2565 ธนาคารแห่งประเทศไทยเผยแพร่ ณ วันที่ 22 มิถุนายน 2565
โดย กนง.เปิด 3 ปัจจัย ไปสู่การพิจารณาในการปรับนโยบายการเงิน
โดย คณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินต้องชั่งน้ำหนัก (trade-off) ระหว่างการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การดูแลเงินเฟ้อ และการรักษาเสถียรภาพระบบการเงินอย่างรอบด้าน โดยข้อสรุปจาก ประเด็นอภิปรายที่คณะกรรมการมีความเห็นสอดคล้องกัน ได้แก่
(1) หากอัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นต่อเนื่องจะส่งผลลบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่องจะทําให้รายได้ที่แท้จริงของภาคธุรกิจ และภาคครัวเรือนปรับลดลง โดยกําลังซื้อที่ถูก ลดทอนลงอาจกระทบต่อการบริโภคภาคเอกชน และส่งผลลบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า
(2) ภายใต้ภาวะที่เงินเฟ้อมีความเสี่ยงสูงขึ้น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ช้าเกินไปอาจก่อให้เกิดต้นทุนทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป การดําเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากในระดับ ปัจจุบัน
ภายใต้ภาวะที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวต่อเนื่อง และเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงปรับลดลง และเปรียบเสมือนการดําเนินนโยบายที่ผ่อนคลายมากขึ้นโดยปริยาย
ซึ่งอาจสร้างแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์เพิ่มเติมได้ และหากปล่อยให้เงินเฟ้อสูงขึ้นต่อเนื่องจนไม่สามารถยึดเหนี่ยว การคาดการณ์เงินเฟ้อของธุรกิจ และประชาชนได้ อาจต้องเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแรงขึ้นในภายหลังเพื่อดูแลเงินเฟ้อซึ่งเป็นกรณีที่ไม่พึงประสงค์
เพราะรายได้ ค่าครองชีพ และภาระหนี้ของภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจจะถูกกระทบมากยิ่งกว่า ดังนั้น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงควรเริ่มในช่วงเวลาที่เหมาะสม และทันการณ์ เพื่อสามารถดําเนินนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไป
(3) การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเอื้อให้เศรษฐกิจสามารถปรับตัวได้อย่างราบรื่น จะส่งผลกระทบอย่างจํากัดต่อเศรษฐกิจ และเสถียรภาพระบบการเงินในภาพรวม เนื่องจากเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงฟื้นตัว การฟื้นตัวของรายได้จะช่วยให้ภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจ สามารถรองรับภาระดอกเบี้ยที่สูงขึ้นได้
โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปจะเพิ่มต้นทุนต่อ ภาคธุรกิจ และภาคครัวเรือนโดยรวมไม่มากนัก และน้อยกว่าค่าครองชีพที่สูงขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อหลายเท่า
อย่างไรก็ดี สําหรับภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจบางกลุ่มที่ยังเปราะบางโดยรายได้ยังฟื้น ตัวไม่เต็มที่ และมีภาระหนี้อยู่ในระดับสูง อาจมีความอ่อนไหวต่อภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มรายได้สูง
คณะกรรมการฯ เห็นว่าควรดําเนินมาตรการเฉพาะจุดเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางดังกล่าว
เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ โดยอาจปรับให้เหมาะสมตามช่องทาง เช่น ธนาคารพาณิชย์ และธนาคาร เฉพาะกิจของรัฐ ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ของกลุ่มเปราะบางได้อย่างตรงจุด และมีประสิทธิผล มากกว่านโยบายการเงินที่เป็นเครื่องมือที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง(blunttool)
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์