บรรยากาศลงทุนดีขึ้น การซื้อตามเลือกหุ้นที่ไม่เปิดโดดมากเกินไป

บรรยากาศลงทุนดีขึ้น การซื้อตามเลือกหุ้นที่ไม่เปิดโดดมากเกินไป

ค่าเงินสหรัฐฯ อ่อนค่าลงหลังประชุมเฟดไม่มีเซอร์ไพรซ์ คณะกรรกมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ (FOMC) ขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ตามคาด ขณะที่ส่งสัญญาณผสมผสาน โดยส่งสัญญาณเป็นไปได้ที่จะขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมรอบต่อไป ก.ย.

แต่มีแนวโน้มชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต ขึ้นกับข้อมูลทางเศรษฐกิจในขณะนั้น ด้วยแนวโน้มเงินเฟ้อและภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลง ทำให้นักลงทุนประเมินเฟดอาจจะอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านของนโยบายที่จะกลับมาผ่อนคลายมากขึ้นหลังการประชุมรอบ ก.ย. ซึ่งมุมมองดังกล่าวทำให้ค่าเงินสหรัฐฯ อ่อนลง และเป็นบวกกับสินทรัพย์เสี่ยง

 

ตลาดทุนกำลังแสดงความต่างระหว่างภาพเศรษฐกิจและผลประกอบการบจ. สหรัฐฯ รายงาน GDP ไตรมาส 2/65 ติดลบ 0.9% (ไตรมาส 1/65 ติดลบ 1.6%) หดตัวเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกัน ซึ่งสภาวะดังกล่าวถือเป็นการถดถอยทางเทคนิค (technical recession) อย่างไรก็ตามสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติสหรัฐฯ (NBER) จะเป็นหน่วยงานที่ตัดสินเกี่ยวกับการประกาศภาวะดังกล่าว ซึ่งพิจารณาจากอีกหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการจ้างงาน, การบริโภค, การผลิต และรายได้ส่วนบุคคล ซึ่งภาวะการจ้างงานที่แข็งแกร่ง ยังเป็นปัจจัยที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะที่ผลประกอบการบจ.ขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ออกมาแข็งแกร่ง เนื่องจากหลายแห่งมีรายได้จากทั่วโลก ไม่จำกัดเพียงในสหรัฐฯ ทำให้เราอาจจะเห็นความแข็งแกร่งของตลาดทุนที่เคลื่อนไหวได้ดีกว่าเศรษฐกิจจริง 

 

 


 

ภาคการผลิตไทยมีสัญญาณฟื้นตัวดีกว่าภูมิภาค ดัชนี PMI เดือนก.ค.ของไทยออกมา 52.4 ดีขึ้นจาก มิ.ย.ที่ 50.7 ซึ่งการปรับขึ้นของภาคการผลิตไทยถือเป็นทิศทางที่ดีกว่าภูมิภาค โดยประเทศที่มี PMI ดีขึ้นได้แก่ อินโดนีเซีย (51.3 vs 50.2), มาเลเซีย (50.6 vs 50.4) ขณะที่กลุ่มที่ PMI แย่ลง ได้แก่ จีน (49.0 vs 50.2), พม่า (46.5 vs 48.2), ญี่ปุ่น (52.1 vs 52.7), ไต้หวัน (44.6 vs 49.8), เกาหลี (49.8 vs 51.3), ฟิลิปปินส์ (50.8 vs 53.8), เวียดนาม (51.2 vs 54.0) เป็นต้น // ปัจจัยดังกล่าวเป็นบวกต่อกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มการเงิน

ประเด็นเก็งกำไรอื่น 1) กลุ่มเครื่องดื่ม อาทิ OSP, CBG, ICHI, SAPPE 2) กลุ่มท่องเที่ยว AOT, CENTEL, ERW, MINT, BAFS, AAV, SHR, VRANDA, SPA 3) กลุ่มเปิดเมือง CPALL, MAKRO, MAJOR, MBK 4) กลุ่มอาหารและเกษตร CPF, GFPT, TFG, TU, KSL, KTIS, KBS, BIS, ASIAN  5) หุ้นได้ประโยชน์จากการกระตุ้นเศรษฐกิจจีน BABA80, TENCENT80, CHINA, STAR5001 6) เก็งกำไรทางเทคนิค JMT, HANA, PTL, PR9, TEAM, OTO, ICHI

ภาพรวมกลยุทธ์: SET Index เลือกขยับขึ้นมากรอบบน 1,555-1,590 จุด ภาพใหญ่เน้นเลือกซื้อ กลุ่มหุ้นเปิดเมือง (ท่องเที่ยว ห้างสรรพสินค้า ค้าปลีก) ขณะที่เก็งกำไรระยะสั้น มองหุ้นใหญ่ที่อาจได้ประโยชน์จากเงินทุนไหลเข้ารอบใหม่ อาทิ ธนาคาร การเงิน มีความน่าสนใจ สำหรับ DR หุ้นจีน ทยอยสะสม ช่วงสั้นข่าว BABA อยู่ในรายชื่อที่อาจถูกถอดถอนจากสหรัฐฯ กดดันบรรยากาศลงทุน  //หุ้นแนะนำ:  CPN*, SAWAD*, AMANAH*, PTG* 

แนวรับ: 1,564 / แนวต้าน : 1,590 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%
 

 

 

 

ประเด็นการลงทุน

สหรัฐเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานสูงกว่าคาด – ลดลง 5,000 ราย สู่ระดับ 256,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว แต่สูงกว่าคาดที่ระดับ 253,000 ราย

เงินเฟ้อยูโรโซนพุ่งทำนิวไฮต่อเนื่อง - ปรับตัวเพิ่มขึ้น 8.9% ในเดือนก.ค. เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าซึ่งเพิ่มขึ้น 8.6% ทั้งยังพุ่งเกินกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 8.6% และเกินเป้าหมาย 2% ของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ไปมาก

บริษัท Tech สหรัฐฯรายงานผลประกอบการ 
   แอปเปิล (AAPL) – EPS 1.20 ดอลลาร์ vs คาด EPS 1.16 ดอลลาร์ ใน Q3
   เมตา (META) – EPS 2.46 ดอลลาร์ vs คาด EPS 2.54 ดอลลาร์ ใน Q2
   แอมะซอน (AMZN) – EPS -0.2 ดอลลาร์ vs คาด EPS 0.11 ดอลลาร์ ใน Q2

บริษัทน้ำมันสหรัฐฯรายงานผลประกอบการ ทำนิวไฮ หลังราคาน้ำมันพุ่ง
   เชฟรอน (CVX) – EPS 5.82 ดอลลาร์ vs คาด EPS 5.08 ดอลลาร์ ใน Q2
   เอ็กซอนโมบิล (XOM) – EPS 4.14 ดอลลาร์ vs คาด EPS 3.84 ดอลลาร์ ใน Q2

จีนเผยยอด FDI ครึ่งปีแรกพุ่งขึ้น 17.4% ต่างชาติเข้าลงทุนต่อเนื่อง - ยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ไหลเข้าสู่จีนแผ่นดินใหญ่ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 เพิ่มขึ้น 17.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี แตะที่ระดับ 7.2331 แสนล้านหยวน 

จีนเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตหดตัวแตะ 49 ในก.ค. จาก 50.2 ในมิ.ย. - ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI) ภาคการผลิตปรับตัวสู่ระดับ 49 ในเดือนก.ค. ซึ่งลดลงจาก 50.2 ในเดือนมิ.ย. ตัวเลขที่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ถึงการหดตัว

IPO เข้าซื้อขายวันแรก – 2 ส.ค. YONG (MAI)

กลุ่มไฟฟ้า – ค่า FT งวด ก.ย.-ธ.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 0.6866 บาท

 

ประเด็นติดตาม: 1 ส.ค. – US ISM Manufacturing PMI / 2 ส.ค. – US JOLTs Job Openings / 4 ส.ค. – US Initial Jobless Claims / 5 ส.ค. – TH CPI, US Nonfarm Payrolls, US Unemployment Rate

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)