บล.กสิกรไทย เตือน 5 ปัจจัยเสี่ยงกดดันหุ้นไทยปรับฐานแรง
บล.กสิกรไทย ชี้เป้า 5 ปัจจัยเสี่ยงกดดันหุ้นไทยเสี่ยงปรับฐานแรง 1.) ราคาน้ำมันหลุด 90 ดอลลาร์ 2.) ความตึงเครียดไต้หวัน-จีน-สหรัฐ 3.) รัสเซียหยุดส่งก๊าซให้ยุโรป 4.) เงินเฟ้อสูงกดดัน Fed ใช้นโยบายการเงินตึงตัว และ 5.) จีนชะลอเปิดพรมแดนและคงนโยบาย zero-COVID
บล.กสิกรไทย ระบุว่า ปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดทิศทางตลาดหุ้นในระยะต่อไป คือ การประชุมประจำปีของ Fed ที่เมือง Jackson Hole โดยคาดว่าในครั้งนี้ Fed น่าจะส่งสัญญาณชะลอการขึ้นดอกเบี้ย หรือไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ย รวมถึงชะลอการลด Balanc sheet
ซึ่งหากออกมาในโทน Dovish ตามคาดประเมินจะบวกกับตลาดหุ้น โดยตลาดหุ้นไทยมีโอกาสขึ้นไปทดสอบระดับ 1,666 จุด แต่ในระยะสั้นอาจจะพักฐานก่อนเนื่องจาก
1.) SET Index ปรับขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค. ราว 4.2% และเกิดสัญญาณ Overbought
2.) ความกังวล Geopolitic Risk จีน-ไต้หวัน โดยจีนประกาศขยายพื้นที่เขตซ้อมรบจาก 6 แห่งเป็น 7 แห่งล้อมรอบเกาะไต้หวัน ระยะเวลายังต่อเนื่องจนถึงวันที่ 7 ส.ค. และจีนยิงขีปนาวุธข้ามไต้หวันไปลงทะเลอีกฟาก
คำแนะนำการลงทุน คือ
ทยอยสะสมหุ้นบริเวณ 1,585 จุด และ 1,555 จุด ซึ่งเน้นสะสมหุ้นในกลุ่ม การเงิน คือ MTC, กลุ่ม Anti Commodity คือ PTG, OR กลุ่มโรงไฟฟ้า แนะนำ BGRIM, กลุ่ม Tech Consult แนะนำ BE8, BBIK
ส่วนกลุ่มที่ยังแนะนำชะลอลงทุน คือ
กลุ่ม Global Play อาทิ กลุ่มพลังงาน กลุ่มน้ำมัน กลุ่มปิโตรเคมี กลุ่มยานยนต์ จากความกังวล Recession รวมถึงหุ้นในกลุ่มส่งออกที่จะได้รับ Sentiment ลบหลังจากล่าสุดเงินบาทกลับมาแข็งค่าแรงหลุด 36 บาท ลงมาอยู่ที่ 35.80 บาท
ขณะเดียวมีความเสี่ยงที่จะทำให้ SET Index ปรับฐานแรงในระถัดไป คือ
1.) ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงต่ำกว่า 90 ดอลลาร์ ประเมินกลุ่มพลังงานจะเป็น Sector หลักที่กดตลาดหุ้น
2.) สงครามรัสเซีย –ยูเครน และ ไต้หวัน จีน สหรัฐ รุนแรงขึ้น
3.) การหยุดส่งก๊าซของรัสเซียให้กับยุโรปอย่างกะทันหัน
4.) อัตราเงินเฟ้อที่ยังสูงอย่างมากจะบังคับให้ Fed มีท่าทีใช้นโยบายการเงินตึงตัวมากขึ้น
5.) การชะลอการเปิดพรมแดนของจีนและการคงนโยบาย zero-COVID
Top pick
- ADVANC (ราคาเป้าหมายพื้นฐาน 249.50 บาท)
1.) มองว่าโอกาสการควบรวมกิจการระหว่าง DTAC และ TRUE ยังเป็นไปได้สูง ซึ่งจะทำให้เหลือผู้ประกอบการเพียง 2 ราย มองเป็นบวกต่อกลยุทธ์การฉวยโอกาสของ ADVANC เนื่องจากจะช่วยให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
2.) ขณะที่ Valuation ยังน่าสนใจ เนื่องจาก ADVANC ซื้อขายที่ EV/EBITDA อยู่ที่ 7.76 เท่า ในปี 2565 และ 7.2 เท่าในปี 2566 ถูกกว่า TRUE ซึ่ง EV/EBITDA อยู่ที่ 8.0 เท่า ในปี 2565 และ 7.4 เท่าในปี 2566 และหลัง ควบรวม TRUE – DTAC คาดจะเห็นการ Rerate PER ขึ้นจากทิศทางอุตสาหกรรมที่ดีขึ้น
- CK (ราคาเป้าหมายพื้นฐาน 29.59 บาท)
1.) เป็นหุ้น Anti commodity โดยกลุ่มรับเหมา ธุรกิจมีการปรับราคาขายขึ้นมาก่อนแล้วตามต้นทุนที่สูงขึ้น และช่วงที่ต้นทุนลงไม่ต้องลงราคาตาม โดยราคาวัสดุก่อสร้างทิศทางปรับลง CK ได้ประโยชน์
2.) คาดกำไรปกติงวด 2Q65 ที่ 346.2 ล้านบาท เทียบกับกำไรปกติที่ 175.20 ล้านบาท ในงวด 2Q64 และผลขาดทุนปกติที่ 118.60 ล้านบาท ในงวด 1Q65 การเติบโตของกำไรมาจากการเริ่มงานในมือที่เพิ่งลงนาม รายได้เงินปันผลจาก TTW และส่วนแบ่งกำไรจาก CKP และ BEM ที่คาดอยู่ที่ 444.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 45.3% YoY และ 430.6% QoQ หนุนจากการฟื้นของตัวจำนวนรถยนต์ที่ใช้ทางด่วนและผู้โดยสารรถไฟฟ้าของ BEM ใน 2Q65 และช่วงไฮซีซั่นของโรงไฟฟ้าพลังน้ำของ CKP
3.) Catalyst หนุนราคาหุ้นจากความชัดเจนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก
- AMATA (ราคาเป้าหมายพื้นฐาน 24.00 บาท)
1.) ประเมินว่า AMATA จะได้ Sentiment บวกจากความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ไต้หวัน – จีน- สหรัฐ ซึ่ง AMATA เป็นหนึ่งในผู้ได้รับประโยชน์จากการลงทุน การโยกย้ายฐานการลงทุน เนื่องจากมีนิคมฯ ในไทยและเวียดนาม
2.) คาดกำไรจะโตต่อเนื่องในไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปี 65
3.) ราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายที่ PER ปี 65 ที่ 10.7 เท่า ซึ่งต่ำกว่า -1SDV ที่ระดับค่าเฉลี่ย 5 ปี ล่วงหน้า 12 เดือน
ประเด็นเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
- 8 ส.ค. : ดัชนีแนวโน้มการจ้างงานจากสถาบัน CB ของสหรัฐเดือน (ก.ค.), ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนจาก Sentix ของยุโรป เดือน (ส.ค.)
- 9 ส.ค. : รายงานผลิตภาพนอกภาคการเกษตร (Nonfarm Productivity) (ไตรมาสต่อไตรมาส) (ไตรมาส 2) ของสหรัฐคาด -4.5%
- 10 ส.ค. : รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของจีน (เดือนต่อเดือน) (ก.ค.) ตลาดคาด -0.1% MoM, ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเยอรมนี (เดือนต่อเดือน) (ก.ค.) ตลาดคาด 0.1% MoM, รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) (ปีต่อปี) (ก.ค.) ของสหรัฐ ตลาดคาด 8.9%YoY ชะลอจาก 9.1%YoY
- 11 ส.ค. : ดุลงบประมาณธนาคารกลางสหรัฐ (ก.ค.) ตลาดคาด -76.5 พันล้านดอลลาร์, รายงานประจำเดือนของ OPEC Monthly ติดตามดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) (เดือนต่อเดือน) (ก.ค.)
- 12 ส.ค. : ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค Thomson Reuters IPSOS ของจีน ( ส.ค.), การคาดการเงินเฟ้อระยะ 5 ปีของมิชิแกน (ส.ค.), รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภครัฐมิชิแกน (ส.ค.) ตลาดคาด 52 จุด เพิ่มจาก 51.5 จุดในเดือนก่อนหน้า